วิฑูรย์ วงษ์ไกร
วิฑูรย์ วงษ์ไกร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2494 อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร |
เสียชีวิต | มกราคม พ.ศ. 2566 (72 ปี) |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
วิฑูรย์ วงษ์ไกร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2494 – มกราคม พ.ศ. 2566) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร 5 สมัย
ประวัติ
[แก้]นายวิฑูรย์ วงษ์ไกร เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายฮอง และ นางสนิท วงษ์ไกร[1] สำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต และ ได้รับศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การทำงาน
[แก้]วิฑูรย์ เคยดำรงตำแหน่งนักจัดรายการวิทยุ และ หัวหน้าสถานีวิทยุ จ.ส. 4 จังหวัดยโสธร โดยรายการที่วิฑูรย์จัด คือ รายการเพลงลูกทุ่ง[2]
งานการเมือง
[แก้]วิฑูรย์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2548 รวม 5 สมัย[3]
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย ซึ่งต่อมา ใน พ.ศ. 2550 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี
ในปี พ.ศ. 2555 เขาพร้อมกับสมาชิกบ้านเลขที่ 111 อีกจำนวนมาก ได้สมัครเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]วิฑูรย์ วงษ์ไกร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคไทยรักไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดยโสธร. รองศาสตราจารย์ ดร. พิชญ์ สมพอง สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2551
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ "สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ยื่นใบสมัครเข้าพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2013-10-03.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2566
- บุคคลจากอำเภอเมืองยโสธร
- นักจัดรายการวิทยุ
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคกิจสังคม
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.