วิจิตร สุวิทย์
วิจิตร สุวิทย์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (85 ปี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2511–2554) เพื่อไทย (2554–2566) |
คู่สมรส | ปรีชา สุวิทย์ |
พันตำรวจโท วิจิตร สุวิทย์ (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 4 สมัยและอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ไตรรงค์ สุวรรณคีรี)
ประวัติ
[แก้]พันตำรวจโท วิจิตร สุวิทย์ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ณ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายดิ้น กับนางชะลอ สุวิทย์[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางปรีชา สุวิทย์ มีบุตรชาย คือ นายนาราชา สุวิทย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาพรรคประชาธิปัตย์ และ นายอัศวิน สุวิทย์ อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
พันตำรวจโท วิจิตร สุวิทย์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ โรงพยาบาลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สิริอายุรวม 85 ปี
งานการเมือง
[แก้]อดีตเป็นข้าราชการตำรวจ เคยดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจจังหวัดสงขลา ต่อมาลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 4 ครั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]พันตำรวจโทวิจิตร สุวิทย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2566
- บุคคลจากอำเภอหาดใหญ่
- มุสลิมชาวไทย
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดสงขลา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.