วิกิพีเดีย:WikiProject Medicine/Translation task force/RTT/Simple Hepatitis A vaccine
วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ[1] ความมีประสิทธิภาพของวัคซีนนี้คือประมาณ 95% และคงประสิทธิภาพเป็นเวลาอย่างน้อยสิบห้าปีและอาจยืนยาวไปตลอดชั่วชีวิต[2][1] ข้อแนะนำสำหรับจำนวนการให้วัคซีนคือสองเข็ม โดยให้เข็มแรกเมื่อเด็กอายุครบหนึ่งขวบ การให้วัคซีนสามารถทำได้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[1]
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ประเทศที่พบโรคนี้ในระดับปานกลาง ใช้วัคซีนนี้ในฐานะวัคซีนมาตรฐานสากล แต่ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนในพื้นที่ที่พบการแพร่กระจายของโรคได้บ่อย เนื่องจากโดยทั่วไปคนทุกคนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เมื่อมีการติดเชื้อในวัยเด็ก[1] ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC) แนะนำการฉีดวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงและเด็กทุกคน[3]
ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงนั้นพบได้น้อยมาก ความเจ็บปวดที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีนในเด็กพบได้ประมาณ 15% และในผู้ใหญ่จำนวนครึ่งหนึ่ง วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของเชื้อไวรัสที่ไม่มีฤทธิ์ และมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นเชื้ออ่อนฤทธิ์ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดเชื้ออ่อนฤทธิ์กับผู้ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ วัคซีนสูตรผสมต่างๆ ของวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอนั้นมีทั้งการผสมร่วมกับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีหรือไทฟอยด์[1]
ประเทศในยุโรปได้อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2534 และในสหรัฐอเมริกาในปี 2538[4] วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[5] ราคาของวัคซีนนี้ในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระหว่าง 50 ถึง 100 เหรียญสหรัฐฯ[6]
ข้อมูลอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "WHO position paper on hepatitis A vaccines – June 2012" (PDF). Wkly Epidemiol Rec. 87 (28/29): 261-76. 2012 Jul 13. PMID 22905367.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Ott JJ, Irving G, Wiersma ST (December 2012). "Long-term protective effects of hepatitis A vaccines. A systematic review". Vaccine. 31 (1): 3–11. doi:10.1016/j.vaccine.2012.04.104. PMID 22609026.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Hepatitis A In-Short". CDC. July 25, 2014. สืบค้นเมื่อ 7 December 2015.
- ↑ Patravale, Vandana; Dandekar, Prajakta; Jain, Ratnesh (2012). Nanoparticulate drug delivery perspectives on the transition from laboratory to market (1. publ. ed.). Oxford: Woodhead Pub. p. 212. ISBN 9781908818195.
- ↑ "19th WHO Model List of Essential Medicines (April 2015)" (PDF). WHO. April 2015. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
- ↑ Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 314. ISBN 9781284057560.