วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร/ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดิชิ
หน้าตา
- ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดิชิ ถูกเสนอเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2553 และจะได้รับการพิจารณาภายในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553
- เสนอชื่อโดย Matt
- บทความนี้เป็นบทความที่เกี่ยวกับภาพเขียนชุดที่มีด้วยกัน 24 ภาพที่เขียนโดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์จิตรกรยุคบาโรกของเฟล็มมิชที่ว่าจ้างโดยพระราชินีมารี เดอ เมดิชิพระอัครมเหสีในพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ผู้แปลเห็นว่าเป็นบทความที่มีเนื้อหาสาระและให้ความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเขียนงานจิตรกรรมแบบบาโรก และ เป็นบทความที่เรียบเรียงดี ที่ไม่แต่จะบรรยายเนื้อหาของภาพเขียนแต่ละภาพในชุด แต่ยังทำการวิจัยภาพแต่ละภาพ โดยการบรรยายองค์ประกอบของภาพ, การใช้อุปมานิทัศน์และสัญลักษณ์ในการสื่อความหมายของเนื้อหาของภาพตามความประสงค์ของจิตรกร, เทคนิคการเขียนภาพเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการเสริมสร้างบารมีของบุคคลที่เป็นเนื้อหาหลักของภาพ นอกจากนั้นแล้วก็ยังเป็นบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทพเจ้ากรีก/โรมันในการสื่อความหมายทางศิลปะ
- สนับสนุน
- สนับสนุน --Sry85 19:15, 23 มกราคม 2553 (ICT)
- สนับสนุน --Tinuviel | พูดคุย 15:31, 24 มกราคม 2553 (ICT)
- สนับสนุนค่ะ --Nini ・ (๑→ܫ←)ノ♫♬ 22:08, 25 มกราคม 2553 (ICT)
- คัดค้าน
- เสนอแนะการปรับปรุง
- บทความมี เนื้อหา ที่มา และ รายละเอียดภาพทุกภาพอย่างละเอียด แต่คิดว่ายังไม่ครอบคลุมเนื้อหาทุกด้าน อย่างเรื่อง อิทธิพลที่มีต่อศิลปินรุ่นหลัง ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญของบทความภาพทัศนศิลป์ที่ควรมี (ดูตัวอย่างได้ที่บทความคัดสรรภาษาอังกฤษอย่างเช่น en:An Experiment on a Bird in the Air Pump en:The Garden of Earthly Delights) --Sry85 23:08, 16 มกราคม 2553 (ICT)
- เห็นด้วยค่ะ พยายามหาข้อมูลอยู่เหมือนกัน ต้นฉบับก็ไม่มี แต่เพิ่มบทสรุปแล้วค่ะ --Matt 13:04, 17 มกราคม 2553 (ICT)
- งงนิดนึงค่ะ ตอนต้นบทความบอกว่าภาพชุดนี้มี 24 ภาพ แต่ทำไมในหัวข้อที่ 4 รายชื่อภาพเขียน กับรายละเอียดภาพเขียน ถึงมีแค่ 22 ภาพละคะ --Tinuviel | พูดคุย 19:53, 19 มกราคม 2553 (ICT)
- ภาพเขียนยี่สิบเอ็ดภาพเป็นภาพการต่อสู้และการได้รับชัยชนะต่างๆ ในชีวิตของพระราชินีมารี เดอ เมดิชิ อีกสามภาพเป็นภาพเหมือนของพระองค์เองและภาพของพระราชบิดาและมารดาของพระองค์ค่ะ คุณละเอียดดีจริง --Matt 01:27, 20 มกราคม 2553 (ICT)
- เห็นมีศัพท์บางคำยังวงเล็บภาษาอังกฤษไว้ เช่น ห้องรอ (Antechamber), บุคลาธิษฐาน (personification), “แปรความเป็นจริงเชิงอรรถรส” (poetic transformation) ไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องคงภาษาอังกฤษเอาไว้หรือเปล่า เช่นเป็นศัพท์เทคนิค หรืออย่างไร (ดิฉันไม่มีความรู้ด้านศิลปะค่ะ) ถ้าตัดออกได้บทความน่าจะอ่านได้ราบรื่นขึ้นนะคะ --Tinuviel | พูดคุย 19:53, 19 มกราคม 2553 (ICT)
- บางทีใส่ภาษาไทยเอาไว้เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองจะแปลไว้ถูกหรือไม่น่ะค่ะ เลยทิ้งไว้ให้ผู้อ่านที่มีความรู้ดีกว่าแก้ให้ คำว่า “แปรความเป็นจริงเชิงอรรถรส” นี่แปลแล้วไม่แน่ใจว่าถูกตามต้นฉบับหรือไม่เลยควบไว้ให้ดูถ้าคุณคิดว่าเข้าใจแล้วก็เชิญลบได้เลยค่ะ แต่บุคลาธิษฐานนั้นควรจะลบแน่ เพราะตอนเริ่มแปลยังไม่มีภาษาไทยก็เลยทิ้งไว้ แต่ตอนนี้มีแล้วจึงควรลบได้แล้ว... แล้วจะตรวจดูคำอื่นที่อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษค่ะ แต่ขอบคุณนะคะที่ติงมา --Matt 20:23, 19 มกราคม 2553 (ICT)
- ในหัวข้อ “การเลือกความมั่นคงของพระราชินีมารี” ประโยคที่ว่า "...ที่มารู้จักกันในภาษาฝรั่งเศสว่า “Drôlerie des Ponts-de-Cé” (อังกฤษ: เรื่องน่าหัวเราะที่เลส์ ปงต์-เดอ-เซ)" คิดว่าวงเล็บท้ายประโยคเป็นการแปลเป็นไทย จึงไม่น่าจะมี "อังกฤษ" หรือเปล่าคะ --Tinuviel | พูดคุย 19:53, 19 มกราคม 2553 (ICT)
- ...อุ๊บ ที่จับไก่ตัวใหญ่ได้ ขอบคุณค่ะ --Matt 20:23, 19 มกราคม 2553 (ICT)
- ในภาพ การสงครามและชัยชนะต่อชูลิเยร์ นั่นคือเทพแพนเหรอคะ? ดูแล้วเหมือนเป็นขาคนมากกว่านะคะ --Nini ・ (๑→ܫ←)ノ♫♬ 23:32, 24 มกราคม 2553 (ICT)
- จริงด้วยค่ะ กลับไปตรวจเนื้อหาของต้นฉบับอีกครั้งแล้ว ก็เลยแก้เป็น "ทางขวาของพระราชินีมีร่างสตรีเคียงข้างที่เดิมเชื่อกันว่าเป็นบุคลาธิษฐานของความอดทน (Fortitude) เพราะมีสัญลักษณ์สิงโตอยู่เคียงข้าง แต่อันที่จริงแล้วเป็นบุคลาธิษฐานของความยิ่งใหญ่ (Magnanimity) หรือ ที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ความเผื่อแผ่” ที่เห็นได้จากของมีค่าที่ถืออยู่ในมือซ้าย ของมีค่าสิ่งหนึ่งที่ถือคือสายไข่มุกที่พระราชินีมารีทรงโปรดปราน" --Matt 21:53, 25 มกราคม 2553 (ICT)
- ในส่วน สัญญาการเขียนภาพ มี {{อ้างอิง}} อยู่ 2 ที่ ไม่ทราบว่ามีปัญหาอะไรหรือเปล่าครับ --Horus | พูดคุย 22:14, 25 มกราคม 2553 (ICT)
- แปลตามต้นฉบับภาษาอังกฤษ เมื่อไม่มีอ้างอิงก็เลยไม่ทราบจะทำอย่างไรค่ะ แก้ไปอันหนึ่งแล้วแต่ที่เหลือนี่ไม่ทราบค่ะ --Matt 23:08, 25 มกราคม 2553 (ICT)
- คิดว่าเนื้อหาน่าจะมาจาก Saward, Susan (1982). The Golden Age of Marie de' Medici. Studies in Baroque Art History, no. 2. UMI Research Press. ISBN 0-8357-1307-5. และมีการใส่อ้างอิงรวบที่ท้ายข้อมูล การใส่อ้างอิงเช่นนั้นมีความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องใส่อ้างอิงในส่วนที่แทรก --Sry85 23:30, 25 มกราคม 2553 (ICT)
- ขอบคุณค่ะ--Matt 12:31, 29 มกราคม 2553 (ICT)
- คิดว่าเนื้อหาน่าจะมาจาก Saward, Susan (1982). The Golden Age of Marie de' Medici. Studies in Baroque Art History, no. 2. UMI Research Press. ISBN 0-8357-1307-5. และมีการใส่อ้างอิงรวบที่ท้ายข้อมูล การใส่อ้างอิงเช่นนั้นมีความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องใส่อ้างอิงในส่วนที่แทรก --Sry85 23:30, 25 มกราคม 2553 (ICT)
- แปลตามต้นฉบับภาษาอังกฤษ เมื่อไม่มีอ้างอิงก็เลยไม่ทราบจะทำอย่างไรค่ะ แก้ไปอันหนึ่งแล้วแต่ที่เหลือนี่ไม่ทราบค่ะ --Matt 23:08, 25 มกราคม 2553 (ICT)