วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/เสนอคำแปลศัพท์ที่ใช้ในวิกิมีเดีย
หน้านี้แม้อยู่ในวิกิพีเดีย แต่อาจมีเนื้อหาสาระที่ใช้กับโครงการวิกิมีเดียภาษาไทยโครงการอื่นด้วย ผู้ใช้จากโครงการอื่นย่อมมีสิทธิและพึงเข้ามีส่วนร่วมกับกระบวนการต่าง ๆ ในหน้านี้ |
สวัสดีครับ เนื่องจากศัพท์บางคำที่ใช้ในโครงการต่าง ๆ ของวิกิมีเดียยังใช้ไม่ตรงกันบ้าง หรือผมมีความเห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงคำแปลจากเดิม จึงขอเสนอคำแปลใหม่หรือเปลี่ยนคำแปลเดิมดังนี้ครับ
คำที่เสนอ
[แก้]- คำที่มีการคัดค้าน
- คำที่เคยนำเสนอแต่ถูกเลิก
ต้นฉบับ | คำแปลเดิม | คำแปลที่เสนอ | เหตุผล/ความเห็น |
---|---|---|---|
หมวดผู้ใช้ อภิปรายส่วนนี้ | |||
active user | (ผู้ใช้ที่ยังมีความเคลื่อนไหว) | 2. ผู้ใช้ที่ยังมีความเคลื่อนไหว 3. ผู้ใช้ที่ยังมีการใช้งาน ผู้ใช้ที่ยังมีความเคลื่อนไหว ผู้ใช้ที่ยังใช้งาน |
สั้นกว่า |
autoconfirmed | ผู้ใช้พื้นฐาน?, ผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติ | 1. ผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติ 2. ผู้ใช้ที่ได้รับการยืนยันอัตโนมัติ |
ใช้ให้ตรงกับรูปต้นฉบับ |
bureaucrat | ผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง | ผู้ดูแลระบบสิทธิ์แต่งตั้ง | ระบุให้ชัดเจนขึ้น |
Oversight | ผู้ควบคุมประวัติ | ล้อศัพท์บัญญัติ "ควบคุมดูแล" + ใส่คำว่า "ประวัติ" ให้รู้ว่าควบคุมดูแลอะไร | |
steward | ผู้ดูแลโครงการ | ผู้จัดการโครงการ | ล้อความหมายตามพจนานุกรม "a person who manages another's property or financial affairs", เลี่ยงไปใช้คำอื่นนอกจาก "ผู้ดูแล" ที่ตอนนี้มีใช้สองความหมายแล้ว คือ ผู้ดูแลระบบกับผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง |
หมวดนโยบาย/กฎหมาย อภิปรายส่วนนี้ | |||
disclaimer | ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ | 1. การบอกเลิกข้อเรียกร้อง 2. การไม่ยอมรับสิทธิ |
ศัพท์บัญญัติ, คำนี้เป็นศัพท์เทคนิคกฎหมาย ควรใช้ศัพท์เฉพาะวงการ |
vandalism | การก่อกวน | 2. การก่อกวน (คำเดิม) |
เปิดช่องให้ harassment = ก่อกวน (ศัพท์บัญญัติ) แทน, อาจมีปัญหาในกรณีเรียก "ผู้ใช้ก่อกวน" ซึ่งคุ้นชินมานาน |
harassment | - | 2. การรังควาน |
ศัพท์บัญญัติ |
privacy (policy) | นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบายภาวะส่วนตัว |
ศัพท์บัญญัติ, เป็นศัพท์เทคนิค ควรใช้ศัพท์ที่ใช้เฉพาะ |
help desk | เลขาชาววิกิพีเดีย | แผนกช่วยเหลือ | ศัพท์บัญญัติ, ความหมายตรงกว่า ("เลขา" นึกถึงบุคคล; เคยมีผู้ใช้คนหนึ่งเขียนในหน้านั้นว่า "เรียน เลขา ...") |
notability | เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม, ความโดดเด่น | ความหมายตามพจนานุกรม สำคัญ = โดดเด่น สั้นกว่า เข้าใจง่าย | |
village pump กับ community portal |
ศาลาชุมชน ศาลาประชาคม |
สภากาแฟ (ชื่อแรกสุด) | ขณะนี้สองหน้ามีชื่อคล้ายกันคือมีคำว่า "ศาลา" อยู่ในชื่อ ในการอภิปรายเปลี่ยนชื่อเมื่อปี 2553 ก็เคยมีคุยกันแล้วว่าน่าจะเปลี่ยนชื่อ "ศาลาประชาคม" แต่ก็ไม่มีความเคลื่อนไหวเพิ่มเติม
การเสนอครั้งนี้จึงให้ชุมชนเลือกว่าจะเปลี่ยนชื่อหน้าใด ความคิดส่วนตัวผมเสนอให้เปลี่ยน "ศาลาชุมชน" กลับเป็น "สภากาแฟ" เหมือนเดิมเพราะทีแรกที่ผมเสนอให้เปลี่ยนตอนนั้นเพราะมีไอพีมาสร้างหน้าสภากาแฟโดยเข้าใจว่าให้เป็นที่อภิปรายสัพเพเหระ แต่ปัจจุบันไม่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ค้านที่จะกลับไปใช้ชื่อเดิม |
fair use | การใช้งานโดยชอบธรรม | การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ | ได้ความหมาย ("ใช้ลิขสิทธิ์") |
หมวดเฉพาะทางคอมพิวเตอร์ อภิปรายส่วนนี้ | |||
message | ข้อความ | สาร | ศัพท์บัญญัติ, แยกกับ text |
information | ข้อมูล? | 1. สารสนเทศ 2. สารนิเทศ |
ศัพท์บัญญัติ, แยกกับ data |
how-to | - | ล้อจากคำแปล "step-by-step instructions for accomplishing a certain task" | |
code | โค้ด | รหัส | ศัพท์บัญญัติ |
tag | ป้ายกำกับ | ป้ายระบุ | ศัพท์บัญญัติ |
หมวดวิกิพีเดีย อภิปรายส่วนนี้ | |||
contribution | การเขียน, เรื่องที่เขียน? | 1. การเข้ามีส่วนร่วม 3. การอุดหนุน |
ศัพท์บัญญัติ, ความหมายตรงกว่า "เรื่องที่ผู้ใช้รายนี้เขียน" ฯลฯ เนื่องจากรวมปฏิบัติการต่าง ๆ ด้วย, คำว่า "อุดหนุน" หมายถึง ช่วยเหลือสนับสนุน |
undo | ย้อน? | ทำกลับ | ศัพท์บัญญัติ, แยกกับ revert |
merge | รวม | ผสาน | ศัพท์บัญญัติ |
move | เปลี่ยนชื่อ?, ย้าย? | ย้าย | การ "ย้าย" หน้าไม่เพียงเปลี่ยนชื่อเท่านั้น แต่ยังมีการสร้างหน้าเปลี่ยนทางตามมา หรือย้ายประวัติจากชื่อเก่าไปชื่อใหม่ด้วย |
protect | ล็อก | ป้องกัน | ความหมายตรงกว่า, ไม่เข้ากับบางรูปประโยค เช่น "ล็อกมิให้ผู้ใช้แก้ไขบทความ" เป็นต้น |
help (เนมสเปซ) | วิธีใช้ | คำอธิบาย | ศัพท์บัญญัติ, ความหมายตรงกว่า ชื่อบางหน้าไม่เข้ากับ "วิธีใช้" เช่น "วิธีใช้:การแก้ไข" หรือ "วิธีใช้:การอัปโหลดภาพ" เป็นต้น |
difference, diff (การเปรียบเทียบรุ่น) | ความแตกต่าง | ผลต่าง | ศัพท์บัญญัติ, สั้นกว่า |
recent changes | ปรับปรุงล่าสุด | เปลี่ยนแปลงล่าสุด | "เปลี่ยนแปลง" ไม่เท่ากับ "ปรับปรุง" |
revision | รุ่นปรับปรุง | รุ่นแก้ไข | เหมือนกับข้างต้น |
edit summary | คำอธิบายอย่างย่อ | 1. ความย่อ 2. ข้อสรุป (การแก้ไข) |
ศัพท์บัญญัติ, กระชับกว่า |
rollback | ย้อนกลับฉุกเฉิน | ย้อนรวดเดียว | ตรงความหมายกว่า เพราะคำว่า "ฉุกเฉิน" จะทำให้คิดไปว่าต้องรีบย้อนหรือ |
transclusion | การรวมข้าม | ตามความหมาย "inclusion of part or all of an electronic document into one or more other documents by hypertext reference" + "ข้ามหน้า" จะได้ความหมายว่า รวมเนื้อหาจากหน้าหนึ่งข้ามมาอีกหน้าหนึ่ง | |
consensus | ได้ความหมาย (แต่ไม่มีคำนี้ในพจนานุกรม?) มีศัพท์บัญญัติว่า "การเห็นพ้องต้องกันของคู่กรณี" (consensus at idem; consensus in idem) | ||
หมวดจิปาถะ อภิปรายส่วนนี้ | |||
list | รายพระนาม, รายนาม, รายชื่อ | รายการ (ยกเว้นรายชื่อใช้กับบุคคล) | เป็นคำกลาง ใช้ได้กับนามใด ๆ |
credit | - | ข้อความแจ้งแหล่งที่มา, ข้อความให้เกียรติเจ้าของงาน |
|
headline | - | พาดหัว | เหมือนกับพาดหัวหนังสือพิมพ์ |
heading | - | หัวเรื่อง | ศัพท์บัญญัติ |
title | - | ชื่อเรื่อง | ศัพท์บัญญัติ |
subject | - | เรื่อง | ศัพท์บัญญัติ |
topic | - | หัวข้อ | ได้ความหมาย |
talk (เนมสเปซ) | พูดคุย | คุย, สนทนา | เปลี่ยนไปใช้คำโดด ๆ, เพื่อให้เหมือนกับชื่อเนมสเปซ talk ต่าง ๆ ที่ใช้ว่า "คุยเรื่อง ..." |
- ปูม
- 19 มกราคม 2561 – เพิ่มคำว่า "fair use"
อภิปราย
[แก้]หมวดผู้ใช้
[แก้]- เห็นด้วย ถ้าเป็นไปได้อยากจะให้ใช้เป็น ผู้ตรวจการ ตัวอย่างเช่น ผู้ตรวจการระบบ ผู้ตรวจการระบบสิทธิตั้ง หรือ อื่น ๆ ครับ (นี้คือความคิดเห็นของผมน่ะครับ) ที่เหลือผมไม่มีปัญหาครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:15, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- คำว่า "ผู้ดูแลระบบ" มีใช้กันทั่วไปแล้วนี่ครับ คิดว่าการแปลเป็นผู้ตรวจการจะกลายเป็นสวนกระแสไป --Horus (พูดคุย) 17:26, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- แค่แสดงข้อเสนอะเอง ไม่ได้โดนกระแสครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:03, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- คำว่า "ผู้ดูแลระบบ" มีใช้กันทั่วไปแล้วนี่ครับ คิดว่าการแปลเป็นผู้ตรวจการจะกลายเป็นสวนกระแสไป --Horus (พูดคุย) 17:26, 18 มกราคม 2561 (ICT)
2. ความเห็น active user ผมว่า "ผู้ใช้ที่ยังมีความเคลื่อนไหว" สื่อความหมายชัดเจนกว่า "ผู้ใช้ที่ยังมีกิจกรรม" --Potapt (พูดคุย) 08:08, 21 มกราคม 2561 (ICT)
- พอจะมีบริบทที่ "กิจกรรม" ไม่ชัดเจนไหมครับ เพราะผมเห็นว่าสองคำนี้ความหมายเหมือนกัน แต่คำว่า "กิจกรรม" สั้นกว่า --Horus (พูดคุย) 09:43, 21 มกราคม 2561 (ICT)
หมวดนโยบาย/กฎหมาย
[แก้]1. ไม่เห็นด้วย ผมไม่เห็นด้วยที่จะให้คำว่า Vandalism แปลว่า ทำลาย มากกว่า ก่อกวน เพราะ 1. ยึดตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ 2. สมมุติว่าผมจะทำโปสเตอร์ต่อต้านการก่อกวน โดยใช้คำว่า harassment มันจะไม่คล้องจองครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:20, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- อย่างนั้นรบกวนเสนอคำที่จะใช้กับ "harassment" ด้วยครับ --Horus (พูดคุย) 17:26, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- Anti-harassment For The Free Encyclopedia อยางนี้เปล่าครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:34, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- จงกำจัดการก่อกวนเพื่อสารานุกรมเสรี ครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:45, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- ถ้ายังนั้น ก็ใช้รวมกันก็ได้ครับ เวลาผมทำโฆษณาชวนเชื่อจะได้มีตัวเลือกมากขึ่นครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:17, 18 มกราคม 2561 (ICT)
2. ไม่เห็นด้วย ผมไม่อยากจะให้ใช้คำว่า สภากาแฟ ครับ เพราะว่าเด็กและเยาวชนที่อาจจะสนใจวิกิพีเดีย มองว่า วิกิพีเดียเป็นที่ของพวกผู้ใหญ่เท่านั้น หากเป็นไปได้ใช้ชื่อให้ดีกว่านี้ได้เปล่าครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:26, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- ผมขอยกความเห็นของ Dr.Garden เมื่อปี 2553 มาไว้ตรงนี้ครับ
ซึ่งสมัยนี้ถ้าไม่ใช่คำว่า "สภากาแฟ" ก็อาจใช้ว่า "ร้านกาแฟ" มั้ย? เพราะเดี๋ยวนีี้นัดรวมตัวกัน หรือเรียนพิเศษก็มักจะใช้ร้านกาแฟ --Horus (พูดคุย) 17:41, 18 มกราคม 2561 (ICT)อีกอย่างคือผมรู้สึกว่าคำว่า "สภากาแฟ" ที่มีมาแต่แรกเริ่มมันแสดงถึงความแยบคายของการรู้จักเลือกสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนไทยมาตั้งเป็นชื่อ ดั่งเช่นในชุมชนต่างประเทศสมัยก่อนที่มีปั๊มน้ำเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชนเพื่อสนทนาปรึกษาในประเด็นปัญหาที่ถูกตั้งขึ้น (สมัยนี้ต้องเป็นตู้กดน้ำดื่มหรือห้องแพนทรีในออฟฟิศครับ ^^) วิกิพีเดียภาษาอังกฤษเองถึงได้เลือกชื่อ Village pump แทนที่จะใช้ชื่อตรงๆ ผมถึงได้แสดงความเห็นว่าอยากให้ใช้ชื่อเดิมครับ
- ก็ใช้ชื่อ Wikipedia:Teahouse (สภาน้ำชา) ก็ได้นี้ครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:56, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- โอเค ไม่มีปัญหาครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:05, 18 มกราคม 2561 (ICT)
3. ส่วนข้อที่เหลือของหมวดนโยบาย/กฎหมายนี้ผม เห็นด้วย ครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:36, 18 มกราคม 2561 (ICT)
4. ไม่เห็นด้วย สำหรับ disclaimer และ privacy policy เพราะคำว่า disclaimer ผิดความหมาย และ privacy policy ไม่สื่อความหมายว่าภาวะเฉพาะคืออะไร --210.1.21.116 20:37, 18 มกราคม 2561 (ICT)
5. ความเห็น
- disclaimer มีศัพท์บัญญัติวิชาการหนังสือพิมพ์ว่า "ข้อความปฏิเสธความพ้อง" (แต่เป็นฉบับ พ.ศ. 2539 ไม่รู้ว่าปัจจุบันได้แก้ไขหรือเปล่า) แต่ใช้ว่า "ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ" ผมว่าก็โอเคแล้วครับ
- vandalism คิดว่าควรแปลว่า "การก่อกวน" เหมือนเดิม เพราะใช้บ่อยและใช้กันจนชินแล้วในวิกิพีเดีย (เช่น ในหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ) ถ้าเปลี่ยนไปใช้เป็นคำแปลของ harassment อาจทำให้สับสน และศัพท์บัญญัติ harassment = การก่อกวน นั้นก็มาจากสาขานิติศาสตร์อย่างเดียว
- harassment เสนอคำแปลว่า "การรังควาน"
- privacy ศัพท์บัญญัติคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ว่า "ภาวะส่วนตัว" ความหมายไม่น่าต่างกับ "ภาวะเฉพาะส่วนตัว" ที่เป็นศัพท์บัญญัติรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์หรือเปล่าครับ
- notability คิดว่าน่าจะแปลว่า "ความโดดเด่น" เพราะของบางอย่างสำคัญแต่อาจจะไม่โดดเด่นก็ได้ เข้าใจว่าในวิกิพีเดีย "ความโดดเด่น" กับ "ความสำคัญ" ไม่ต่างกันมาก แต่เผื่อต้องแปลคำว่า importance ในอนาคตจะได้ไม่ต้องแก้อีก
- village pump เห็นด้วยว่าให้ใช้ "สภากาแฟ" วิกิภาษาฝรั่งเศส, สเปน, อิตาลีก็ใช้ Bistro, Café, Bar ซึ่งเกี่ยวข้องกับร้านเครื่องดื่มเหมือนกัน จึงไม่น่าผิดเพี้ยนอะไร --Potapt (พูดคุย) 08:08, 21 มกราคม 2561 (ICT)
6. ไม่เห็นด้วย กับการใช้นโยบายภาวะส่วนตัวสำหรับ privacy เนื่องจากทุกเว็บไซต์ก็ใช้คำว่า นโยบายความเป็นส่วนตัว และผู้ใช้น่าจะเข้าใจคำนี้มากกว่า --Pilarbini (พูดคุย) 18:05, 21 มกราคม 2561 (ICT)'
7. ความเห็น
- สำหรับ "vandalism" ผมขออนุญาตเสนอคำว่า "การบ่อนทำลาย" ครับ (deliberately intended to obstruct or defeat the project's purpose)[1] --Akarawut1 (พูดคุย) 23:35, 1 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
- ส่วน "harassment" ผมขออนุญาตเสนอคำว่า "การคุกคาม" ครับ (offensive behavior that appears to a reasonable observer to intentionally target a specific person or persons)[2] --Akarawut1 (พูดคุย) 23:35, 1 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
- ความเห็น บ่อนทำลาย หมายถึง แทรกซึมเข้าไปทำลายจากข้างใน (บ่อน แปลว่า กัดกินจากข้างใน เหมือน หนอนบ่อน) แต่ vandalism มีความหมายแค่ ทำลาย ทำให้เสียหาย (deliberately mischievous or malicious destruction or damage) --YURi (พูดคุย) 00:22, 2 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
- เห็นด้วยกับ YURi ครับ ว่า "บ่อนทำลาย" ไม่เหมาะสม สำหรับกรณีนี้ผมขอโหวตให้ "การก่อกวน" เพราะสื่อความหมายดี คนฟังแล้วเข้าใจตรงกับสิ่งที่ต้องการสื่อในคำจำกัดความของ Wikipedia:Vandalism ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[1] --Akarawut1 (พูดคุย) 13:11, 2 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
หมวดเฉพาะทางคอมพิวเตอร์
[แก้]- เห็นด้วย ไม่น่าจะมีปัญหา --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:10, 18 มกราคม 2561 (ICT)
หมวดวิกิพีเดีย
[แก้]- เห็นด้วย หากเป็นไปได้ ให้ปรับแก้กว่านี้หน่อย --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 20:53, 18 มกราคม 2561 (ICT)
ไม่เห็นด้วย สำหรับ contribution เพราะผิดความหมาย --210.1.21.116 20:37, 18 มกราคม 2561 (ICT)- ความเห็น
- contribution น่าจะใช้ "การเข้ามีส่วนร่วม" เพราะ "การมีส่วนร่วม" ยังเป็นศัพท์บัญญัติของ participation ด้วย
- edit ศัพท์บัญญัติเกือบทุกสาขาใช้ว่า "ตรวจแก้" จึงน่าจะแปล edit summary ว่า "ข้อสรุปการตรวจแก้" หรือถ้าจะให้พ้องกับการแปลคำว่า edit ในที่อื่น ๆ ก็น่าจะแปลเป็น "ข้อสรุปการแก้ไข"
- consensus มีศัพท์บัญญัติสาขาวิทยาศาสตร์ว่า "ความเห็นพ้อง" (แต่เป็นฉบับ พ.ศ. 2546 ไม่รู้ว่าปัจจุบันได้แก้ไขหรือเปล่า) และในพจนานุกรมมีคำว่า "ฉันทานุมัติ" แปลว่า ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ (ผมเดาว่าที่พจนานุกรมไม่เก็บคำว่า "ฉันทามติ" ไว้ เพราะผิดหลักการสร้างคำ เช่น ฉันทานุมัติ มาจาก ฉันทะ+อนุมัติ, ฉันทาคติ มาจาก ฉันทะ+อคติ แต่ ฉันทามติ มาจาก ฉันทะ+อมติ?) --Potapt (พูดคุย) 08:08, 21 มกราคม 2561 (ICT)
หมวดจิปาถะ
[แก้]- เห็นด้วย ถ้าปรับรูปแบบให้เหมาะสมก็เปลี่ยนเลยครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:10, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- ความเห็น credit ในที่นี้มีความหมายหรือมีที่ใช้เจาะจงหรือเปล่าครับ เพราะมีศัพท์บัญญัติวิชาการหนังสือพิมพ์ (พ.ศ. 2539) ของคำ credit ว่า "ข้อความแจ้งแหล่งที่มา, ข้อความให้เกียรติเจ้าของงาน" แต่ credit ในที่นี้ตัดมาจาก credit line --Potapt (พูดคุย) 08:08, 21 มกราคม 2561 (ICT)
- เห็นด้วย ของคุณดูดีกว่าครับ ของผมมีเฉพาะหน้าเว็บค้นศัพท์บัญญัติ เลยไม่เคยเห็นคำนี้มาก่อน --Horus (พูดคุย) 09:55, 21 มกราคม 2561 (ICT)
- ความเห็น list ควรแปลขึ้นกับบริบทมากกว่า เจาะจงที่คำว่า รายการ คำเดียว ศัพท์บัญญัติหมวดประชากรศาสตร์ มีแปลว่า รายชื่อ เช่นรายชื่อคน รายชื่อหมู่บ้าน เป็นต้น--Sry85 (พูดคุย) 12:38, 12 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
ประเด็นศัพท์บัญญัติ
[แก้]ขอสอบถามว่า ศัพท์บัญญัติมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดต่อการใช้ในระบบวิกิพีเดีย ยกเว้นเรื่องการทับศัพท์ชื่อ เพราะคำแปลของศัพท์บัญญัติไม่ได้สื่อถึงความหมายของสิ่งนั้นเสมอไป เป็นต้นว่า disclaimer และ contribution ที่มีหลายความหมาย ต้องอาศัยบริบทที่ต่างกันในการแปล แม้แต่ตัววิกิพีเดียเองก็ยังมีบริบทเฉพาะบางประการเช่นกัน --210.1.21.116 20:37, 18 มกราคม 2561 (ICT)
- จริง ๆ คำที่เลือกมานี้ก็เลือกให้เข้ากับบริบทแล้ว การเลือกใช้ศัพท์บัญญัติน่าจะมีผลมากกว่ากับคำบางคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน อย่างเช่น คู่ text กับ message หรือ คู่ data กับ information มากกว่า จะเห็นว่าหากไม่ใช้ศัพท์บัญญัติกับคู่คำเหล่านี้แล้วจะมีปัญหาตามมามาก เพราะคนก็จะแปลกันไปต่าง ๆ นานา --Horus (พูดคุย) 21:00, 18 มกราคม 2561 (ICT)
ความคืบหน้า
[แก้]- ได้เสนอคำแปลขอเปลี่ยนชื่อเนมสเปซ "Help" และ "Talk" --Horus (พูดคุย) 17:32, 13 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
ปิดท้าย
[แก้]ถ้าไม่มีผู้ออกความเห็นเพิ่มขออนุญาตเปลี่ยนคำต่าง ๆ ไปใช้ตามนี้เลยนะครับ ยกเว้น "privacy policy" --Horus (พูดคุย) 11:55, 18 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)