ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ปรับแต่ง MediaWiki ของวิกิพีเดียไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อภิปรายเบื้องต้น (Preliminary discussion)

ในปัจจุบันวิกิพีเดียไทยมีวิธีการต่อต้านการก่อกวนด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. แก้ปกติด้วยมือ
  2. แก้ด้วยบอต เช่น user:JBot
  3. กรองชื่อบทความ หรือ URL (เฉพาะที่เป็น external link) ในเนื้อหาบทความ (ใช้ regular expression จึงกำหนดเงื่อนไขได้ครอบคลุมและหลากหลายพอสมควร) ฟ้าชายไอโลคจิตรบังอาจไปโกนหัวธงไชย แมกอินไตรลูกของป้าแจมส์กับลุงอุดม
  4. ป้องการการเขียนและการย้ายเป็นรายบทความไป
  5. สกัดกั้นผู้ใช้หรือไอพีเป็นรายไป

แต่ละวิธีการมีข้อจำกัดของมันเอง แก้ด้วยมือ (1) ทำได้ในวงจำกัดและสิ้นเปลืองเวลา ส่วน JBot (2) แม้จะมีความสามารถสูงและจัดการงานที่ซับซ้อนได้ แต่เป็นบอตที่ดำเนินการโดยอาสาสมัครท่านเดียว ตอนนี้พักร้อนเงียบหายจากวงการไปสักพักแล้ว ส่วนฟังก์ชันการทำงานอื่นๆ ของ MediaWiki ทั้งสามข้อ (3)-(5) ก็ถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพระดับหนึ่งและได้ผลมากที่สุดในขณะนี้ แต่มีข้อจำกัดว่า (4)-(5) ทำได้เป็นรายๆ ไป ส่วน (3) ทำได้เพียงชื่อบทความ หรือ external link เท่านั้น

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีความถี่และความรุนแรงของการก่อกวนมากขึ้น จึงขอเสนอตัวเลือกให้พิจารณาเพิ่มเติมดังนี้

  1. เปิดใช้ Extension:AbuseFilter (ดูเพิ่มที่ en:Wikipedia:Edit_filter) ซึ่งจะทำให้สามารถกรองคำในบทความได้โดยใช้ regular expression
  2. งดการให้ผู้ใช้ที่ไม่ลงทะเบียนสร้างบทความใหม่

ทั้งสองเป็น functionality ของ MediaWiki ที่เปิดใช้งานแล้วในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษและอีกหลายภาษา แต่ปัจจุบันยังไม่มีใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทย หากต้องการให้มีท่านทั้งหลายต้องลงความเห็นสนับสนุนแล้วแจ้งเรื่องไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องให้เปิดใช้งาน

เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ขอให้ท่านเสนอความคิดเห็น ซักถาม อภิปรายกันหนึ่งสัปดาห์ และหากความเห็นไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะเปิดลงคะแนนเสียงสองสัปดาห์ - กติกาเหมือนเดิมคือ ไอพีร่วมอภิปรายได้ (และควรร่วมอย่างยิ่งเพราะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) แต่ลงคะแนนไม่ได้

--taweethaも 17:13, 22 มีนาคม 2554 (ICT)

เพิ่มเติมว่าไม่ใช่ป้องกันการก่อกวนและโฆษณาได้เท่านั้น ยังแก้ไขความผิดพลาดที่พบได้บ่อยได้อีกด้วย เช่น สระซ้อน เ+เ ฯลฯ --taweethaも 06:46, 24 มีนาคม 2554 (ICT)

ส่วนตัวจากที่เป็นคนโดนก่อกวนและย้อนก่อกวนอยู่แล้ว พบว่าข้อจำกัดของการต่อต้านการก่อกวนพักนี้มีสูงมาก ใกล้เคียงกับระดับการก่อกวนตามที่คุณทวีธรรมบอกด้านบน และการก่อกวนก็จะเป็นไปในหลายรูปแบบ เท่าที่นับกรณีได้มีดังนี้

  1. สร้างบทความในชื่อใหม่แล้วใส่เนื้อหาก่อกวนลงไปทั้งดุ้น
  2. ลบเนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วนจากหน้าที่มีอยู่แล้ว แล้วแทนที่ด้วยข้อความที่ไม่เหมาะสม
  3. สร้างบทความใหม่ที่มีเนื้อหาเหมือนเดิมแต่ตั้งชื่อผิด (เจตนาให้ไปในทาง Misleading) แล้วเปลี่ยนทางจากชื่อที่ถูกต้องไปยังชื่อที่ผิด

และยังมีกรณีอื่น ๆ อีก ซึ่งผมเห็นว่าการใช้มาตรการเดิมยังไม่ทั่วถึงพอ และอาจต้องใช้เครื่องมืออัตโนมัติเพื่อช่วยป้องกันการก่อกวน สำหรับข้อเสนอทั้งสองประการของคุณทวีธรรม ผมมีความเห็นดังนี้

  1. เห็นด้วย กับการเปิดใช้ Edit filter เนื่องจาก Edit filter เองใช้ Regular Expression ในการตรวจจับ Behavior ของผู้ใช้ เตือนผู้ใช้ทาง Interface โดยอัตโนมัติและสามารถสั่งห้ามไม่ให้บันทึกการแก้ไขนั้นได้ อย่างไรก็ดี ความที่ Edit filter เป็นเครื่องมือที่ไวต่อการตรวจจับอย่างมาก ในบางกรณีหากเขียนผิดแม้เพียงตัวเดียวก็อาจส่งผลกระทบให้คนจำนวนมากไม่สามารถแก้ไขได้ จึงควรเปิดให้แก้ไข Filter ได้เฉพาะผู้ดูแลเท่านั้น และหากมี Filter ให้ Proposed และ Test Run ก่อนที่จะนำ Filter ไปใช้จริง ทั้งนี้แม้จะมีบันทึกของ Edit Filter สำหรับตรวจสอบภายหลัง แต่ระบบนี้จะไม่เหมือน JBot ตรงที่ว่าระบบยังไม่ได้ถูกออกแบบมาให้บล็อกผู้ใช้และไอพีหากการแก้ไขไป Trigger Filter ใด Filter หนึ่ง และระบบนี้จะไม่ส่งข้อความเตือนไปยังหน้าคุยกับผู้ใช้
  2. เป็นกลาง สำหรับการห้าม IP address สร้างบทความ เพราะแม้ว่าจะมีไอพีก่อกวนวิกิพีเดียด้วยการสร้างบทความใหม่ก็ตาม แต่อีกมุมหนึ่งไอพีหลายท่านก็สร้างบทความใหม่ในเชิงสร้างสรรค์และไม่ก่อกวนเหมือนกัน การจำกัดการสร้างบทความใหม่และบังคับให้สร้างบัญชีผู้ใช้อาจเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะสมนัก

--∫G′(∞)dx 18:22, 22 มีนาคม 2554 (ICT)

ขอโต้แย้งข้อเท็จจริงทางเทคนิคของ Extension:AbuseFilter ตามความเข้าใจของผมนะครับ (ยังไม่ได้อ่านอะไรมาก อาจผิดก็ได้)

  1. เมื่อเปิดใช้งานแล้ว น่าจะเป็นผู้ดูแลเท่านั้นที่เข้าใช้งานได้
  2. Extension:AbuseFilter/Actions เข้าใจว่าจะให้เตือนหรือให้บล็อกก็ได้นะครับ น่าจะคล้ายกับ JBot แต่รันบน Server ไปเลยและมีความโปร่งใสกว่า (คนไม่หวังดีก็น่าจะมาแอบดูโค้ดได้ด้วย)

--taweethaも 19:10, 22 มีนาคม 2554 (ICT)

ผมไม่ได้อ่านรายละเอียดทางเทคนิคน่ะฮะ (ไปยืดตามวิกิอังกฤษ) เลยไม่ได้เช็คว่า Configuration ที่มีบล็อกก็มีเหมือนกัน และกำหนด Duration ได้ แต่ไม่แน่ใจว่าค่าเดียวหรือไม่ ซึ่ง Block Duration ในส่วนนี้ถ้าไม่ยืด 2-3 ชั่วโมงตามที่บอตใช้ ก็ต้องพิจารณากันอีกทีฮะว่าบล็อกนานเท่าใด แต่คิดว่าไม่น่าจะถึง Indefinite แน่... ส่วนเรื่อง Code นั้นถ้าน่าจะก่อให้เกิดการไม่หวังดี อาจล็อกไว้ให้ผู้ดูแลดูโค้ดอย่างเดียวก็ได้ครับ เพียงแต่การแก้ไขกับการเช็คความผิดพลาดอาจทำลำบากหน่อย --∫G′(∞)dx 19:28, 22 มีนาคม 2554 (ICT)
  1. เห็นด้วย --Azoma | พูดคุย 14:42, 28 มีนาคม 2554 (ICT)

ลงคะแนนอย่างเป็นทางการ (Formal voting)

เนื่องจาก 7 วันผ่านไป การอภิปรายไม่คืบหน้า ขอรวบรัดเป็นว่าลงคะแนนกันเลย หากลงคะแนนกันน้อยเรื่องนี้คงตกเป็นพับ (เรื่องนี้ต้องส่งผู้ดูแลของมูลนิธิเพื่อพิจารณาต่อไป ผมจึงต้องเขียนหัวข้อบางส่วนเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าเขาเห็นว่ายังอภิปรายกันไม่ดีพอ ลงคะแนนกำมะลอ ก็จะไม่ดำเนินการให้) --taweethaも 20:19, 28 มีนาคม 2554 (ICT)

หมายเหตุ ปิดลงคะแนน 11 เมษายน 2554 เวลา 20.19 (ICT)

AbuseFilter

เปิดใช้ AbuseFilter ในวิกิพีเดียภาษาไืทย
Enable AbuseFilter on Thai Wikipedia.
สนับสนุน (Support)
  1. เห็นด้วย --taweethaも 20:19, 28 มีนาคม 2554 (ICT)
  2. เห็นด้วย เพราะมีการใช้ในวิกิพีเดียหลายภาษา --Horus | พูดคุย 20:32, 28 มีนาคม 2554 (ICT)
  3. เห็นด้วย ตามที่อภิปรายไปข้างต้น หากไม่ได้ใช้เพื่อการต่อต้านการก่อกวนก็สามารถใช้เพื่อการอื่นได้ครับ --∫G′(∞)dx 20:38, 28 มีนาคม 2554 (ICT)
  4. เห็นด้วย --Pongsak ksm 18:02, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
  5. เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 18:14, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
  6. เห็นด้วย --Azoma | พูดคุย 18:19, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
  7. เห็นด้วย --Jo Shigeru 20:51, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
  8. เห็นด้วย --octahedron80 20:55, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
  9. เห็นด้วย --Tinuviel | พูดคุย 12:45, 30 มีนาคม 2554 (ICT)
  10. เห็นด้วย --Xiengyod 12:50, 31 มีนาคม 2554 (ICT)
  11. เห็นด้วย · Dr.Garden · คุยกันได้! · 21:35, 6 เมษายน 2554 (ICT)
คัดค้าน (Oppose)
เป็นกลาง (Neutral)
ความเห็นอื่นๆ (Comments)
  1. การใช้งานทางเทคนิคเป็นอย่างไร ดูลักษณะแล้วน่าจะใช้ยากหรือเปล่า แอดมินจะใช้เป็นหรือไม่ ใครจะดูแลประจำ เป็นคำถามเผื่อไว้ก่อนถ้าจะนำมาใช้ มิใช่ว่าเมื่อนำมาใช้แล้ว แอดมินสมัยหน้าใช้กันไม่เป็น --octahedron80 00:28, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
    • ผมคิดในเชิงบวกไว้ก่อนว่าในอนาคตคงต้องดีขึ้น แต่ก็อาจเป็นจริงอย่างคุณ octahedron80 ว่าก็ได้ดูอย่างวิกิข่าวและวิกิอื่นๆ ในภาษาไทยเป็นตัวอย่างก็ได้ว่าเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยก็มีความพยายามกันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี --taweethaも 05:30, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
  2. ลิงก์ที่ถูก meta ตั้งไว้ให้เป็นสแปม เมื่อเปิดใช้ AbuseFilter ที่นี่ สามารถแก้ให้ใช้ได้ไหมครับ เช่นลิงก์ของ DramaWiki -- 2T
    • ไม่ทราบเลยครับ แต่เข้าใจว่า override เป็นกรณีไปได้อยู่แล้วโดยผู้ดูแลระบบโดยไม่ต้องเปิด AbuseFilter --taweethaも 11:59, 2 เมษายน 2554 (ICT)
      • ไม่ได้ครับ ตัวอย่างเช่น http:// www.d-addicts.com บันทึกไม่ได้เลย ลองทำดู -- 2T
        • จริงครับ แม้ว่าจะแบน locally เช่น http:// www.mallikafurniture.com ผู้ดูแลก็ override ไม่ได้เช่นกัน ต้องเอารายชื่อออกก่อน ส่วนที่ override ได้คือการสร้างบทความครับ ถ้าชื่อตรงกับ regex ต้องห้ามผู้ดูแลยังสร้างบทความได้ โดยไม่ต้องแก้รายการ regex นั้นออกไป --taweethaも 14:56, 2 เมษายน 2554 (ICT)

การตั้งค่าเริ่มต้น

ผมขอเสนออย่างนี้ (ตาม WikiBook/en) อาจเปลี่ยนแปลงได้ภายหลังถ้าต้องการนะครับ

  1. ดูปูมการละเมิดกฎ
  2. 2.0 2.1 All users, even unregistered ones.
  3. ดูหน่วยรายการบันทึกการละเมิดกฎแบบละเอียด
  4. See bugzilla:18589#c2.
  5. สร้างหรือดัดแปรตัวกรองการละเมิด
  6. ปรับเปลี่ยนตัวกรองการละเมิดกฎด้วยการกระทำที่จำกัด
  7. ⧼right-abusefilter-private⧽
  8. ดูตัวกรองการละเมิดกฎที่ทำเครื่องหมายเป็นส่วนตัว
  9. แปลงกลับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดโดยตัวกรองการละเมิดกฎที่กำหนด
  10. ดูตัวกรองการละเมิดกฎ

งดการให้ผู้ใช้ที่ไม่ลงทะเบียนสร้างบทความใหม่ (Disallowing non-registered users to create new pages)

เช่นเดียวกับวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ - ทั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการแก้ไขบทความที่มีอยู่แล้ว - มีผลต่อการสร้างบทควาามใหม่เท่านั้น
In English Wikipedia, non-registered users are not allowed to create new pages. Thai Wikipedia should follow suite. Should this proposal be implemented, IPs are still allowed to edit pages as before.
สนับสนุน (Support)
  1. เห็นด้วย --taweethaも 20:19, 28 มีนาคม 2554 (ICT)
  2. เห็นด้วย ป้องกันการเขียนในลักษณะที่ไม่ใช่บทความ โดยการสำคัญผิดได้ เช่น การเขียนคำถาม เขียนร้องเรียน เขียนหมิ่นประมาทบุคคล --Pongsak ksm 18:05, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
  3. เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 18:16, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
  4. เห็นด้วย --Azoma | พูดคุย 18:20, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
คัดค้าน (Oppose)
  1. ไม่เห็นด้วย คิดว่าจะทำให้วิกิพีเดียไม่เป็นเว็บไซต์เสรีที่ใครสามารถแก้ไขได้ การที่จะมีสมาชิกประจำเข้ามาก็ต้องเริ่มจากไอพีก่อน อีกอย่างมีเงื่อนไขการลบอย่างเร็วอยู่แล้วด้วย --Rattakorn 20:43, 28 มีนาคม 2554 (ICT)
  2. ไม่เห็นด้วย เนื่องจากการทำงานในวิกิพีเดียไทยยังอาจดูเหมือนมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ใช้ในบางครั้ง (บทความประเภทเดียวกัน อีกคนหนึ่งเขียนกลับได้รับคำแนะนำหรือการช่วยเหลืออย่างเป็นมิตร หากอีกคนหนึ่งเขียนกลับถูกด่า หรือไม่ก็มีการตั้งข้อครหาให้ลบ ทั้งๆที่รายที่ถูกด่าอาจเขียนเนื้อหาที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์และมีคุณค่ามากกว่าเสียด้วยซ้ำ) จึงเสนอให้ไอพีสามารถสร้างบทความใหม่ได้ครับ เพื่อที่จะได้ไม่รู้ว่าใครเขียน --B20180 23:11, 28 มีนาคม 2554 (ICT)
  3. ไม่เห็นด้วย ไอพีที่เขียนมีใครบ้าง (๑) ผู้ใช้ประจำที่ขี้เกียจล็อกอินหรือเหตุผลอื่นทางเทคนิค (๒) ผู้ใช้จรที่ต้องการมีส่วนร่วมเล็กน้อยเช่นแก้ไขคำผิดหรือสร้างบทความสั้นๆ (๓) ผู้ใช้จรที่ต้องการเขียนบทความใหญ่ๆแต่ไม่ต้องการสมัคร (๔) ผู้ใช้จรที่ก่อกวนบทความด้วยความคึกคะนอง ดังที่กล่าวมานี้กลุ่ม ๓ และ ๔ เป็นกลุ่มที่มักสร้างปัญหา ซึ่งกลุ่ม ๓ รวมไปถึงผู้ใช้ใหม่ มีปัญหาเรื่องการไม่ทำความเข้าใจกับรูปแบบและนโยบาย มาถึงก็เขียนแหลก (ไม่สนใจลิงก์ในข้อความต้อนรับแม้แต่น้อย) เมื่อมือใหม่ทำผิดแล้วเราให้ข้อแนะนำ ซึ่งเราก็พยายามใช้คำพูดแบบเรียบๆ บ้างก็รับฟัง บ้างก็เห็นว่าเราไปด่าเขาและเขาก็ด่ากลับ บ้างก็ก่อกวนกลับไปเลยก็มี แต่กลุ่ม ๓ นี้มีศักยภาพในการปรับตัวเมื่อคุยกันบ่อยๆ (แต่บางคนไม่ชอบคุยก็ทำงานร่วมกันไม่ได้) กลุ่ม ๔ เป็นตัวอันตรายอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะไม่ช่วยสร้างสรรค์ไปในทางที่ดีขึ้น แต่กลับบ่อนทำลายให้เสื่อมลง ประเด็นงดการให้ผู้ใช้ที่ไม่ลงทะเบียนสร้างบทความใหม่ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหากลุ่ม ๔ และอาจเป็นการปิดกั้นกลุ่มอื่นด้วย จึงต้องคัดค้านในประเด็นนี้ --octahedron80 00:47, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
  4. ไม่เห็นด้วย เหตุผลประมาณของคุณ Octa+B20180 แล้วอีกอย่างปัจจุบันก็มีการเป็นผู้ใช้ใหม่อยู่แล้ว --Jo Shigeru 20:51, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
  5. ไม่เห็นด้วย --Tinuviel | พูดคุย 12:50, 30 มีนาคม 2554 (ICT)
  6. ไม่เห็นด้วย แม้จะช่วยควบคุมการเกิดบทความใหม่ได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าคนมันจะเกรียนก็ยังเล่นสมัครล็อกอินเข้ามาเกรียนกันได้เลยครับ (อย่างเคส kengzakub ที่เจอประจำเป็นต้น) อีกอย่างหนึ่งผมคิดว่าความเป็นสารานุกรมเสรีมันก็อาจถูกจำกัดลงลงจากเสรีโดยทั่วไปกลายเป็นเสรีเฉพาะกลุ่มก็เป็นได้ --Xiengyod 12:50, 31 มีนาคม 2554 (ICT)
  7. ไม่เห็นด้วย ไม่น่าจะจำกัดสิทธิสร้างบทความใหม่ครับ เราเป็นสารานุกรมเสรี · Dr.Garden · คุยกันได้! · 21:37, 6 เมษายน 2554 (ICT)
เป็นกลาง (Neutral)
  1. เป็นกลาง ใจหนึ่งค่อนข้างเห็นด้วย แต่หากจำกัดไม่ให้ผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนสร้างบทความใหม่ ควรมีหน้าที่เอาไว้ติดต่อกับผู้ใช้ดังกล่าวที่ต้องการเพิ่มเนื้อหาใหม่ โดยผ่านการพิจารณาจากผู้ใช้ทั่วไปอีกที (ไม่ใช้ Requested Article นะครับ อันนี้น่าจะตรงกับ WP:AFC มากกว่า) หรือหากมีวิธีอื่น ๆ ก็แล้วแต่ชุมชนจะพิจารณาต่อไปครับ --∫G′(∞)dx 20:43, 28 มีนาคม 2554 (ICT)
  2. เป็นกลาง เป็นไปได้ทางเทคนิคไหม ที่จะให้ผู้ใช้ไม่ลงทะเบียน สร้างได้เฉพาะบทความใหม่ที่ขึ้นต้นด้วย -ร่างบทความ/ชื่อบทความ ทำนองนี้ จากนั้นอีกระยะหนึ่งจึงให้ผู้ใช้ทั่วไปเปลี่ยนชื่อบทความให้ -- 2T
    • ได้ครับ ดูที่ WP:AFC ด้านบนเลย บทความจะเป็นหน้าย่อยอยู่ใน [1] --taweethaも 11:58, 2 เมษายน 2554 (ICT)
ความเห็นอื่นๆ (Comments)
  1. โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยกับความคิดนี้ครับ แต่ไม่รู้ว่าจะส่งผลต่ออัตราการเติบโตของบทความหรือเปล่า เพราะบทความที่ไอพีสร้าง แอดมินก็สามารถดูแลลบได้ทั่วถึงอยู่แล้ว --Horus | พูดคุย 20:29, 28 มีนาคม 2554 (ICT)
  2. น่าจะมีการทดลองใช้สักเดือนนึงก่อน --Jo Shigeru 20:52, 29 มีนาคม 2554 (ICT)
    • เป็นข้อเสนอที่ดีครับ แต่ว่าผู้ดูแลทั่วไปดำเนินการเองไม่ได้ จะทำอะไรก็ต้องร้องขอไปส่วนกลาง ดังนั้นจะได้ 1 เดือนตามต้องการหรือไม่ก็แล้วแต่เขาจะพิจารณาจัดการให้ --taweethaも 12:07, 31 มีนาคม 2554 (ICT)

สรุป

  1. เปิดใช้ AbuseFilter ส่งเรื่องไปดำเนินการแล้ว เมื่อเป็นผลแล้วจะประกาศแจ้งเพื่อให้ส่งข้อเสนอเข้ามาต่อไป
  2. เรื่องไม่ให้ไอพีเขียน ตกเป็นพับไป แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอาจนำกลับมาพิจารณาใหม่

--taweethaも 07:00, 12 เมษายน 2554 (ICT)