วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ขอความเห็นการพูดคุยหารือระหว่างผู้ใช้ (2562)
- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 มูลนิธิวิกิมีเดียได้แจ้งขอความเห็นโครงการวิกิมีเดียเกี่ยวกับการขอความเห็นการพูดคุยหารือระหว่างผู้ใช้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
การขอความเห็นการพูดคุยหารือระหว่างผู้ใช้ เป็นการขอความเห็นทุกโครงการซึ่งคาดว่าจะดำเนินขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน 2562 เพื่อให้ประชาคมวิกิมีเดียและผู้ใช้ที่มีความสนใจร่วมหารือเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการปรึกษาหารือระหว่างผู้ใช้ โดยการขอความเห็นดังกล่าวจะดำเนินการขอความเห็นจากประชาคมวิกิมีเดียต่าง ๆ กันให้มากที่สุดในหลายหลายโครงการ ในภาษาและมุมมองที่ต่าง ๆ กัน เพื่อกำหนดทิศทางของฟังก์ชันการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ใช้ที่คณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์จะได้ดำเนินการต่อไปในปีต่อ ๆ ไปนี้
วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการหารือครั้งนี้ คือการขอความเห็นในการเปลี่ยนแปลงวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ในโครงการวิกิมีเดีย เนื่องจากการติดต่อสื่อสารระหว่างกันของผู้ใช้ในปัจจุบันนี้มีลักษณะเป็นเครื่องกีดกันไม่ให้ผู้ใช้ใหม่สามารถเข้าถึงกระบวนการดั้งเดิมได้ แม้ว่ากระบวนดังกล่าวจะสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมและเป็นกระบวนการที่โปร่งใสก็ตาม ดังนั้น เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และผลที่ตามมาต่าง ๆ ในหน้าหารือจึงกำหนดหลักการว่า "จะต้องรับความเห็นในทุกแง่มุม"
ในการหารือดังกล่าว มูลนิธิวิกิมีเดียขอความเห็นในคำถามห้าข้อซึ่งจะได้อภิปรายต่อไป ทั้งนี้ หากผู้ใช้ท่านอื่นมีความเห็นอื่นใดในกระบวนการหารือระหว่างผู้ใช้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สามารถออกความเห็นได้ตามสมควรครับ
กระบวนการขอความเห็น
[แก้]เพื่อให้ชาววิกิมีเดียได้ออกความเห็นได้อย่างทั่วถึง ผู้ใช้ทุกคนจึงควรสามารถหารือเกี่ยวกับการหารือในวิกิมีเดียเป็นภาษาใด ๆ และในช่องทางใด ๆ ตามความเหมาะสมก็ได้ทั้งสิ้น
วิกิพีเดียภาษาไทยได้เข้าเป็นกลุ่มตัวอย่างในการขอความเห็นในหน้าดังกล่าว และเพื่อความสะดวก จึงขอใช้หน้านี้ในการออกความเห็น แต่ทั้งนี้หากผู้ใช้อื่นประสงค์ออกความเห็นเป็นการส่วนตัวเองก็ย่อมกระทำได้ แต่ขอความกรุณารายงานผลการหารือในหน้านี้ด้วย และนอกจากนี้ หากได้มีการหารือจนเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้ผู้ใช้ที่ทำหน้าที่สรุปการสนทนาตามรายชื่อด้านล่างนี้ดำเนินการสรุปการสนทนาและรายงานผลต่อมูลนิธิวิกิมีเดียต่อไปด้วยครับ หากท่านประสงค์เป็นผู้ดำเนินการสรุปการสนทนา สามารถใส่ชื่อต่อท้ายได้เลยครับ --210.1.21.126 12:59, 7 มีนาคม 2562 (ICT)
- Tris T7 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ในฐานะเป็นผู้รับประสานงานรายแรก ควรมีหน้าที่สรุปการสนทนา
แน่นอนครับ พร้อมนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้นำส่งทันทีตามกำหนดโดยไร้กังวลครับ ยังมีระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ที่จะตามมาเพื่อสรุปแนวทางและขอความเห็นร่วมจากผู้ใช้ก่อนการตัดสินใจดำเนินการพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือหน้าพุดคุย จึงขอให้ผู้ใช้ทุกรายแสดงความเห็นได้อย่างอิสระโดยไม่มีกฏหลักเกณฑ์ในการแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในครั้งนี้ ขอขอบคุณในความร่วมมือและการสนับสนุนเรื่อยมาของท่าน..Tris T7 15:17, 7 มีนาคม 2562 (+07)
คำถามที่ขอความเห็น
[แก้]ท่านมีวิธีการอย่างไรในการหารือประเด็นต่าง ๆ กับชุมชน และมีปัญหาอย่างไรบ้างในการใช้เครื่องมือดังกล่าว
[แก้]- โคลอนคือสิ่งที่ผมคิดว่าควรมีอัตโนมัติ เมื่อมีการตอบกลับในส่วนต่อท้ายในแต่ละเรื่องในหน้าพูดคุย นอกจากนี้ ระบบทราบดีว่าผู้ใดตอบกลับ การลงชื่อโดยใช้ตัวหนอนซ้ำเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะต้องดำเนินการเนื่องจากแม้ไม้ได้ลงชื่อ สุดท้ายระบบก็จะลงชื่อให้โดยอัตโนมัติว่าผู้ใดตอบกลับ..Tris T7 11:32, 7 มีนาคม 2562 (+07)
- @Tris T7: ถ้าคุณหมายถึงช่วงเวลาปัจจุบันนี้ ที่นี้มีบอตชื่อ TTBot (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) คอยช่วยในการลงชื่อถ้าผู้ใช้ลืมลงลายเซ็นโดยใช้ {{ไม่ได้ลงชื่อ}} หรือ {{ไม่ได้ลงชื่อไอพี}} ต่อท้ายข้อความแล้วแต่ว่าบอตจะรันช่วงไหน ไม่ได้เป็นที่ระบบของมีเดียวิกิครับ (แต่ในอนาคตระบบอาจทำได้ก็ได้) --Geonuch (คุย) 19:40, 7 มีนาคม 2562 (+07)
ท่านเห็นว่าผู้ใช้ใหม่มีท่าทีอย่างไรกับหน้าพูดคุย หรือสามารถใช้หน้าพูดคุยได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และมีปัญหาอย่างไรบ้างในการใช้เครื่องมือดังกล่าว
[แก้]- การแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว หากเป็นการพูดคุยเริ่มต้น แต่เมื่อยาวขึ้น การตอบคำถามในแต่ละส่วนจำเป็นต้องแยกแต่ละส่วนมาตอบคำถาม ซึ่งหากสามารถแทรกคำตอบในแต่ละส่วนของคำถามก็จะง่ายขึ้นต่อการพุดคุยเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน..Tris T7 11:32, 7 มีนาคม 2562 (+07)
- จากเท่าที่สังเกตดู ผู้ใช้ใหม่มีทั้งที่สามารถที่จะโต้ตอบกับผู้เริ่มสนทนาผ่านหน้าคุย (ทั้งส่วนตัวและส่วนกลาง) ได้และผู้ที่ไม่มีการโต้ตอบซึ่งอาจมีทั้งไม่รับรู้เพราะไม่คุ้นเคยกับการใช้งานหรือรับรู้แต่ไม่สนใจที่จะรับฟังหรือพิมพ์ตอบ และกรณีหนึ่งที่ที่ไม่รู้ว่าที่อื่นนอกจากวิกิพีเดียไทยมีไหม คือ การใช้หน้าคุยส่วนตัวเป็นกระบะทรายหรือลงเนื้อหาที่เคยถูกลบไปซึ่งเข้าใจว่ายังไม่มีการดำเนินการในส่วนนี้ ดังนั้นการใช้หน้าคุยอาจไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ทั้งหมด ปัญหาจากเครื่องมือน่าจะเป็นเพราะผู้ใช้ใหม่จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคบางประการด้วยตัวเอง เช่น Markup ย่อหน้า ลายเซ็น ฯลฯ ซึ่งมีการใช้งานยากกว่าการใช้ Social Media ทั่วไป (ผมเข้าใจว่าหน้าคุยยังใช้งาน VisualEditor ไม่ได้) จึงน่าจะเป็นอุปสรรคในการพูดคุยช่วงแรกที่ผู้ใช้ใหม่ต้องมาเรียนรู้ใหม่นอกจากการแก้ไขบทความให้ถูกต้องตามแนวปฏิบัติและอาจสร้างความรำคาญ (หรือเปล่า?) ให้กับผู้ใช้เก่าในการพูดคุยครับ --Geonuch (คุย) 19:41, 7 มีนาคม 2562 (+07)
ท่านเห็นว่าการใช้หน้าพูดคุยในชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยมีอุปสรรคอย่างไรบ้าง
[แก้]- ผมข้อเรียงตามข้อดังนี้
- ปัญหาการประชาสัมพันธ์
- ความไม่เข้มแข้งของชุมชนชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยเพราะวิกิพีเดียไทยไม่ได้มีคนเยอะพอ
- อคติกับผู้ใช้ที่ใช้หน้าพูดคุยในชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยเป็นการส่วนตัว
- ไอพี (บางกลุ่ม) ป่วนหน้าพูดคุยในชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทย
นี้เป็นเพียงความคิดเห็นของผม ใครเห็นต่างไม่เป็นไร แต่ถ้ามากวน ย้อนทันที ขอบคุณครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 01:30, 8 มีนาคม 2562 (ICT)
มีข้อจำกัดทางเทคนิคใดบ้างที่ท่านเห็นว่าทำให้ไม่สามารถใช้งานหน้าพูดคุยได้ตามวัตถุประสงค์ที่ควรจะเป็น
[แก้]- การส่งข้อความแบบปิดที่ไม่ประสงค์ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นในเรื่องที่อาจมีความละเอียดอ่อน อาทิเช่น การส่งการยืนยันข้อส่วนส่วนตัวเพื่อยืนยันสถานะ หรือการส่งข้อมูลที่รอการตรวจสอบในบทความที่อาจส่งผลต่อบุคคลที่สามหรือบุคคลในบทความได้ นอกจากนี้การพูดคุยถึงผู้ดูแลระบบหากมีการบล็อคเกิดขึ้น ควรสามารถกระทำได้เสมอ มิควรถูกปิดกั้น เนื่องจากเป็นทางเดียวที่ผู้ถูกบล็อคสามารถสื่อสารได้ ถึงผู้ดูแลระบบรายอื่น และหากผู้ดูแลระบบเพิกเฉยต่อการร้องขออันไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม ควรมีการพิจารณาเรื่องสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบตามลำดับต่อไป..Tris T7 11:32, 7 มีนาคม 2562 (+07)
"การหารือในวิกิ" มีลักษณะอย่างใดบ้างที่เห็นว่าสำคัญ
[แก้]- การสนทนาสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรดำเนินการที่เป็นการไม่ให้เกียรติต่อผู้ที่มีส่วนร่วม และควรให้เกียรติผู้มีส่วนร่วมรายใหม่และผู้ใช้รายใหม่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และให้คำแนะนำในส่วนต่าง ๆ ที่ผู้มีส่วนร่วมรายใหม่อาจทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ควรมีการพูดคุยพร้อมลิงก์ประกอบคำอธิบาย และใช้การสื่อสารโดยมีมารยาทและโดยสุภาพ..Tris T7 11:32, 7 มีนาคม 2562 (+07)
ข้ออภิปรายอื่น
[แก้]- หากมีระบบแชทแบบเรียลไทม์ เพื่อการสนทนาพูดคุย อาทิ ช่องทาง ไออาร์ซี เช่นในรุ่นภาษาหลายภาษา จะสะดวกมากขึ้นในการสื่อสารหรือการร้องขอการช่วยเหลือหรือคำแนะนำ..Tris T7 11:32, 7 มีนาคม 2562 (+07)
- ทั้งนี้ท่านใดประสงค์ที่จะเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะแบบปิดสามารถส่งข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ทางสื่อสังคมออนไลน์ที่กลุ่มของเฟสบุ๊ค ภายใต้ชื่อกลุ่ม การปรึกษาหารือวิกิพีเดียรุ่นภาษาไทย หรือตามลิงค์ท้ายนี้ https://web.facebook.com/groups/849502065397068/ ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทุกท่านในการให้ข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาระบบที่ดียิ่งขึ้น...Tris T7 11:32, 7 มีนาคม 2562 (+07)
- @Tris T7: ผมว่าใช้ Facebook group ของ Wikimedia Thailand (https://web.facebook.com/groups/180290125350908) ก็ได้ครับ ตั้ง Post แล้วรวบรวม comment ไป --Geonuch (คุย) 20:03, 7 มีนาคม 2562 (+07)
- @Tris T7: IRC มีครับ แต่ไม่นิยมใช้ ของไทยอยู่นี้ https://webchat.freenode.net/?channels=wikipedia-th --Geonuch (คุย) 19:57, 7 มีนาคม 2562 (+07)
- @Geonuch: ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ผมได้ลองเข้าไปดูแล้วครับ แต่ไม่มีผู้ดูแลระบบที่ล็อคอินสแตนบายแตกต่างจากช่อง IRC ของ Stewards ซึ่งหาก Stewards login ใช้งานก็จะแสดงสถานะออนไลน์ให้เห็นและก็จะมีการตอบคำถามหรือดำเนินการเรื่องที่ร้องขอได้ทันทีครับ ทั้งนี้ของไทยที่ไม่มีใครในช่องเพื่อให้ความช่วยเหลือหรือพูดคุย อันเป็นเหตุให้การใช้งานไม่เป็นที่นิยมจนกระทั่งหยุดการใช้งานในที่สุด ทั้งนี้หากยังใช้งานได้อาจเป็นทางเลือกในการใช้ในการพุดคุยที่เป็นแบบเรียลไทม์และเพื่อใช้เฉพาะกาลสำหรับการทำงานร่วมกันเป็นทีมหากการจัดตั้งสมาคมเกิดขึ้นเมื่อผ่านเกณฑ์ที่วิกิมีเดียตั้งไว้ และเชื่อว่าทางวิกิมีเดีย กำลังหาเครื่องมือในการใช้สื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ใช้และผู้ใช้ และผู้ใช้กับองค์กร และองค์กรกับต่อองค์กร เช่น การประชุมสาขาหรือการโหวตที่สำคัญในการคัดเลือกกรรมการ ซึ่งในฐานะบรรณาธิการและผู้แปลภาษาและผู้มีส่วนร่วม ในหลายโครงการและใช้งานบัญชีสากล การสื่อสารที่ได้รับการแก้ไขเหตุขัดข้องได้ทันเหตุการณ์มีความสำคัญต่อภาพลักษณ์ของมูลนิธิวิกิมีเดีย อันเป็นเหตุที่ต้องพัฒนาช่องทางการพูดคุยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ --Tris T7 02:01, 29 มีนาคม 2562 (+07)
- ทั้งนี้ท่านใดประสงค์ที่จะเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะแบบปิดสามารถส่งข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ทางสื่อสังคมออนไลน์ที่กลุ่มของเฟสบุ๊ค ภายใต้ชื่อกลุ่ม การปรึกษาหารือวิกิพีเดียรุ่นภาษาไทย หรือตามลิงค์ท้ายนี้ https://web.facebook.com/groups/849502065397068/ ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทุกท่านในการให้ข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาระบบที่ดียิ่งขึ้น...Tris T7 11:32, 7 มีนาคม 2562 (+07)
ขอเชิญชวนการมีส่วนร่วมของผู้ใช้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบ
[แก้]สวัสดีครับ ผมขออนุญาตเพิ่มเติมข้อเสนอแนะเพื่อการยอมรับในการพิจารณาการขออนุมัติสาขาประเทศไทย โดยการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลระบบในการแสดงความเห็นการปรึกษาหารือเกี่ยวกับหน้าพูดคุย เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพเครื่องมือในการใช้สื่อสารระหว่างผู้ใช้ให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทางเลือกสำหรับการใช้สังคมออนไลน์เพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมขอเสนอการใช้กลุ่มเพิ่มเติมเพราะผมดูแลและทำการตอบกลับได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว แต่หากเป็นหน้าเพจของ Wikimedia Thailand ซึ่งผมมิได้เป็นแอดมินอยู่แม้จะเป็นสมาชิกแต่หากเกิดปัญหาขึ้น การมีช่องทางเพิ่มเติม จะช่วยสนับสนุนการเปิดสาขาในประเทศไทย ในการพิจารณาได้ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่เคยประสบปัญหาและยังรอรับการแก้ไข หรือรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น หากผู้ใช้ที่ถูกการระงับการแก้ไข และไม่สามารถแก้ไขหน้าพูดคุยของตนเองได้ กลุ่มดังกล่าวจะเป็นช่องทางการติดต่อเพิ่มเติม เพื่อลดความขัดแย้งในชุมชนในรุ่นภาษาไทย จึงขอความอนุเคราะห์ผู้ดูแลระบบพิจารณาผู้ใช้ที่ท่านได้ระงับสิทธิ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ว่ามีรายใดที่ท่านระงับสิทธิ์ไม่ให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขในหน้าพูดคุยได้ เพราะจะมีการส่งข้อความการขอความคิดเห็นไปยังผู้ใช้ที่ถูกระงับสิทธิ์กลุ่มดังกล่าวด้วยโดยเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิได้แจ้งเพื่อรอดำเนินการในส่วนดังกล่าวนี้ เพื่อเป็นการสร้างชุมชนที่น่าอยู่และเป็นมิตรให้ดียิ่งขึ้น การได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามความถนัดของตน จะทำให้เป้าหมายการมีสาขาประเทศไทย เกิดขึ้นได้ตามที่ได้ประสงค์ไว้ ในระยะเวลาอันใกล้ แต่หากจำนวนผู้ใช้งานไปในทิศทางลดลง การพิจารณาการปรับยุทธศาสตร์ อาจถูกนำมาใช้ตามความเหมาะสม และหากผู้ที่จะร่วมก่อตั้งวิกิมีเดียสาขาประเทศไทยมิได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งออนไลน์และออฟไลน์อย่างน้อย 2 ปี เกรงว่าจะไม่สามารถเข้าเกณฑ์ตามนโนบายการได้รับการยอมรับจากชุมชนสากลได้ อันอาจส่งผลต่อการพิจารณาอนุมัติการมีสาขาในประเทศไทยได้ ทั้งนี้ในฐานะหนึ่งในผู้แปลภาษาหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารระบบและมูลนิธิ ขอฝากข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติไว้ ณ ที่นี้ และขอขอบคุณผู้ดูแลระบบทุกท่านล่วงหน้าในการมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ หน้าพูดคุยในครั้งนี้ ซึ่งขั้นแรกจะรวบรวมข้อมูลภายในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562...ขอแสดงความนับถือ...Tris T7 20:14, 28 มีนาคม 2562 (+07)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่