ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:สภาการ์ตูน/นโยบายที่ตัดสินแล้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สภาการ์ตูน > นโยบายที่ตัดสินแล้ว ที่นี้เป็นหน้าที่ใช้สำหรับเก็บนโยบายที่ลงตัวแล้ว เพื่อใช้ประกอบการพิจราณาในครั้งต่อไป และมั่นใจว่าข้อมูลที่สำคัญทั้งหมดในหน้านี้ได้เขียนสรุปไว้ใน คู่มือการเขียนสารานุกรมการ์ตูน สำหรับผู้ใช้ใหม่สามารถเข้าใจนโยบายทั้งหมดโดยไม่ต้องอ่านในหน้านี้

ชื่อหน้าพูดคุยหน้านี้

[แก้]

ตอนนี้ ชื่อ สภาการ์ตูน (สภากาแฟสำหรับการ์ตูน) แต่เป็นชื่อชั่วคราวยังคิดไม่ออกว่าชื่ออะไรดี มีไอเดียดีๆ เสนอได้ครับ ไม่ว่าจะเป็น สภากาแฟ2 ลานเบียร์ หรืออะไรก็ตามครับ

(1) ร้านเช่าการ์ตูน (2) ห้องสมุดการ์ตูน (3) มุมการ์ตูน / มีแต่ชื่อแปลกๆ ทั้งนั้นเลยแฮะ เอิกๆๆๆ --Aki Akira 10:51, 3 ตุลาคม 2005 (UTC)
เอาไอเดียจากน้อง Aki Akira มาแล้ว ตอนนี้ มี ร้านการ์ตูน เป็นศูนย์รวมหน้าพูดคุยว่า จะทำอะไรบ้าง และแนะนำว่าควรช่วยทำอะไรกันบ้าง --Manop 22:52, 7 ตุลาคม 2005 (UTC)

ควรจะมีเรื่องเกี่ยวกับนักพากย์การ์ตูนไหม?

[แก้]

ในฐานะคนอ่านการ์ตูน และคนดูการ์ตูน ทั้งพากย์ภาษาไทย และ ญี่ปุ่น ป๋มเห็นว่า นักพากย์ เป็นหนึ่งในหลายๆ องค์ประกอบที่ทำให้ผลงานการ์ตูนสมบูรณ์ ซึ่งนักพากย์ก็มีหลายคน ป๋มจึงเล็งเห็นว่า ครวมีคอลัมน์เกี่ยวกับ นักพากย์การ์ตูน ด้วยหรือไม่? --Aki Akira 17:29, 2 ตุลาคม 2005 (UTC)

ไอเดียดีครับ ใส่เข้ามาเลยครับ ผมไม่ค่อยรู้จักนักพากย์เท่าไรแฮะ --Manop 17:42, 2 ตุลาคม 2005 (UTC)
เอาเป็นว่า ป๋มจะเริ่มเขียนข้อมูลเกี่ยวกับนักพากย์การ์ตูนให้เยอะๆ นะฮับ แล้วจะค่อยๆ เอามาลงที่นี้ คนแรกที่เขียนไปแล้วคือ อาเคมิ คันดะ ฮะ จากเรื่อง คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะ! --Aki Akira 18:40, 2 ตุลาคม 2005 (UTC)
ควรมี Template นักพากย์ด้วยไหม? --Aki Akira 10:51, 3 ตุลาคม 2005 (UTC)
ยังคิดไม่ออกแฮะ ไม่ค่อยเชี่ยวชาญเรื่องนักพากย์เสียด้วย ปกติอ่านอย่างเดียว อย่างถ้าลิงก์ไปที่ Category:นักพากย์การ์ตูน ดีหรือเปล่า หรือว่าถ้าจะสร้างเทมเพลทนี่ สร้างยังไงดีอะ ? --Manop 21:59, 5 ตุลาคม 2005 (UTC)
ก็ที่แน่ๆ น่าจะมี (1) ชื่อ (2) สังกัด (3) การ์ตูนที่เคยพากย์ (ล่ะมั้ง!?)--Aki Akira 06:09, 6 ตุลาคม 2005 (UTC)
งั้นเดี๋ยวใันจะไปปนกับเนื้อหาหรือเปล่าครับ เพราะถ้าใส่ลงเทมเพลทหมด กลัวว่าเนื้อหาจะว่างเลย --Manop 07:00, 6 ตุลาคม 2005 (UTC)
งั้นสร้าง รายชื่อนักพากย์การ์ตูนญี่ปุ่น ดีไหมฮะ? ส่วน Template คงไม่ต้องมีเนอะ เอิกๆ--Aki Akira 10:48, 6 ตุลาคม 2005 (UTC)
สร้างเลยครับ ในวิกิพีเดีย อยากทำอะไรทำเต็มที่ ไม่ดีก็(ให้คนอื่น)ลบ ฮิฮิ--Manop 06:24, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)
กลัวว่าถ้าเป็น รายชื่อนักพากย์การ์ตูนญี่ปุ่น อย่างเดียวแล้ว เดียวพี่ๆ นักพากย์คนไทยน้อยหน้า เลยเปลี่ยนเป็น รายชื่อนักพากย์การ์ตูน ก็พอนะฮะ เดี๋ยวจะลิทส์รายชื่แนักพากย์คนไทยเข้าไปด้วย--Aki Akira 07:16, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)

มีกล่องข่าวการ์ตูนด้วยดีไหม?

[แก้]

เหมือนกับวิกิพีเดียหน้าแรกมีข่าวด้วย เรามามีข่าวการ์ตูนบ้างกีไหม?--Aki Akira 11:05, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)

ไอเดียดีครับ ใส่ตารางเพิ่มอีกช่องเลยครับ ไปแทรกตรงไหนก็ได้ (ไว้บนๆ ก็ดีนะ)--Manop 13:46, 10 ตุลาคม 2005 (UTC)
เพิ่มเรียบร้อยแล้วฮะ--Aki Akira 04:54, 11 ตุลาคม 2005 (UTC)
เทพบุตรถังแตก เคยทำเป็นละครแล้วหรือเนี่ย เพิ่งรู้ --Manop | พูดคุย 05:08, 11 ตุลาคม 2005 (UTC)
ฮะ เป็นละครจีน เคยฉายทางช่อง 3 ตอนเย็นๆ เล่นโดย วิก F4 แต่เนื้อเรื่องไม่เหมือนกันเท่าไหร่ (คล้ายๆ กับตอนที่ทำ สาวแกร่งฯ เลย) แต่ว่าคราวนี้คนญี่ปุ่นทำ คงไม่เป็นไรมาก (น่าจะเหมือนในการ์ตูน)--Aki Akira 05:48, 11 ตุลาคม 2005 (UTC)


คำถามประจำวัน

[แก้]

มีคำถามประจำวัน ในหน้าแรกดีมั้ยครับ ยกตัวอย่างเช่น

--Manop | พูดคุย 23:12, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)

  • ก็ดีครับ ดูมีสีสันดี -- ผู้ใช้:จุง
  • ไม่คัด แล้วแต่ท่านจะบัญชา--Aki Akira 06:33, 18 ตุลาคม 2005 (UTC)


บัก?

[แก้]

ป๋มไม่แน่ใจว่าเป็นที่เครื่องป๋มเครื่องเดียวรึเปล่า แต่ทุกทีที่เป็นสารนุกรมการ์ตูน มักจะมีช่องว่าง ที่ไม่จำเป็นเกิดขึ้น พักแรกๆ ก็ไม่เป็นไร แต่พักหลังๆ เริ่มไม่ค่อยชอบ รู้สึกมันแปลกๆ จากหน้าอื่นๆ ในวิกิพีเดีย แบบนี้อะฮะ
--Aki Akira 13:30, 19 ตุลาคม 2005 (UTC)

ไม่ผิดปกติครับ ด้านขวาของหน้าสารบัญ เขาจะเว้นไว้ไม่มีข้อความ --Wap 14:00, 19 ตุลาคม 2005 (UTC)
แล้วมันเป็นที่วิกิการ์ตูน ก็เพราะว่าบทความปกติไม่ค่อยละเอียด ไม่เหมือนคุณนี่ครับ เขียนซะละเอียดยิบเชียว มีหัวข้อเยอะ ขอชื่นชมๆ (เห็นเป็นบัก เพราะเขียนดี อิอิ) --Wap 14:03, 19 ตุลาคม 2005 (UTC)
บางทีถ้ารู้สึกไม่ชอบอาจ (คนอื่นอาจจะไม่ชอบเหมือนกัน) อาจจะทำเป็น ย่อหน้า แทนที่ heading ก็ได้ครับ เช่นตัวละคร อาจไม่ต้องอยู่ใน heading3 หรือ heading4 แต่ใช้เป็น ตัวหนาแทน นะครับ แล้ว สารบัญจะสั้นลง--Manop | พูดคุย 17:49, 19 ตุลาคม 2005 (UTC)
ม้ายช่าย ตรงข้างบนฮะ ไม่ใช่ตรงสารบัญ!!--Aki Akira 05:23, 20 ตุลาคม 2005 (UTC)
ถ้าอย่างนั้นไม่ใช่บั๊กครับ เพียงแต่คุณเคาะเว้นบรรทัดมากไป อย่างที่ผมทำให้ดูข้างบนเนี่ยแหละครับ --Pi@k 05:41, 20 ตุลาคม 2005 (UTC)
แก้แล้วครับ สรุปว่ามันมีเทมเพลตสองตัว มันเล่นเว้นเยอะเกิน ตอนนี้รวมเทมเพลตเป็นบรรทัดเดียวหมดเลย --Manop | พูดคุย 06:00, 20 ตุลาคม 2005 (UTC)


สรุปภาษาที่ใช้คำว่าหนังสือการ์ตูน

[แก้]

รอบที่ 1

[แก้]

ขอสรุปรอบที่ 1 (เพื่อมีใครโต้แย้ง) นะฮะ

  1. หนังสือการ์ตูนเป็นเล่ม ที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นรวมเล่ม เราจะเรียกว่า หนังสือการ์ตูน เช่น คุณครูจอมเวทย์เนกิมะ เล่ม 1
  2. หนังสือการ์ตูนเป็นตอนๆ ที่ตีพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ เราจะเรียกว่า หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ เช่น KC Weekly, บูม
  3. หนังสือการ์ตูนที่มีเนื้อหาเป็นการ Spoiler คือมีการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการ์ตูน แต่ไม่ได้พิมพ์การ์ตูนเป็นเรื่องเป็นราว เราจะเรียกว่า นิตยสารการ์ตูน เช่น TV Magazine
  4. การ์ตูนที่ฉายอยู่ในทีวี คือมีการฉายอยู่ในลักษณะเป็นตอนยาว เราจะเรียกมันว่า ภาพยนตร์การ์ตูนชุด เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนชุด โดราเอมอน
  5. การ์ตูนที่ฉายอยู่ในโรงหนัง คือมีการฉายในโรงหนังเป็นเรื่องเป็นราว เราจะเรียกมันว่า ภาคหนังโรง หรือภาษาญี่ปุ่น 劇場版 (แปลเป็นภาษาอังกฤษก็ The Movie) เช่น การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ภาคหนังโรง
  6. การ์ตูนที่จัดจำหน่ายเป็นพิเศษ คือมีการขายเพื่อเฉพาะกลุ่มแฟนๆ เราจะเรียกมันว่า ภาค OVA

ขอให้ผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ลงความเห็นด้วยฮะ (ถ้าไม่เห็นด้วยให้เขียนความเห็นของตัวเองขึ้นมาใหม่ ด้านล่าง)

ผู้เห็นด้วย

[แก้]
  1. เห็นด้วย--Aki Akira 19:00, 15 ตุลาคม 2005 (UTC)

ผู้ไม่เห็นด้วย

[แก้]
  1. หนังโรง ฟังไม่เป็นภาษาทางการเท่าไหร่ ผมเสนอให้ใช้ ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว แทน --Pramook 10:37PM, 15 ตุลาคม 2005 (EST)
ผมว่าน่าจะใช้ได้นะฮะ ไม่งั้นก็ไม่มีคำอื่นแล้ว ข่าวส่วนใหญ่ก็ใช้กันนะฮะ (อ้างอิงเว็บ ผู้จัดการ http://www.manager.co.th/entertainment/ViewBrowse.aspx?SourceNewsID=2002&BrowseNewsID=6700 )--Aki Akira 06:15, 16 ตุลาคม 2005 (UTC)
แต่จริงๆ แล้ว ญี่ปุ่นเขาจะตั่งชื่อให้ต่างกันอยู่แล้วนะฮะ เราอาจจะไม่ต้องเรียกว่า หนังโรงก็ได้ เช่นใช้ ยอดนักสืบจิ๋วโคนั้น:คดีฆาตกรรมกลางทะเลลึก ซึ่งหัวเรื่องญี่ปุ่น เขามีการแยก ให้ไม่เหมือนกับของ TV Series อยู่แล้วฮะ ส่วน ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว ผมไม่เห็นด้วยฮะ มันจะกลายเป็นคำกำกวมไป ถ้างั้นถ้าเป็นอย่าง ยอมนักสืบจิ๋วโคนัน TV Special ที่ฉายทุกปิดภาคฤดูใบไม้ผลิ ก็เป็นด้วยสิฮะ--Aki Akira 06:25, 16 ตุลาคม 2005 (UTC)
รู้สึกว่าที่ใช้ในผู้จัดการจะไม่ใช่คำที่ีใช้ในบทความนะครับ เป็นคำเรียก category ของบทความมากกว่า ผมสันนิษฐานว่าทางเว็บผู้จัดการตั้งใจจะใช้คำที่ไม่เป็นทางการมาก (ไม่เชื่ีอลองดูที่ sidebar ด้านข้างก็ได้ เขาใช้คำว่า "หนังไทย," "บอกซ็ออฟฟิศ" ฯลฯ) ถ้าลองไปดูบทความที่เป็นข่าวจริงๆ จะใช้คำว่าภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวจริงๆ ไม่ใช้คำว่าหนังโรงเลย
ส่วน TV Special เราจะเรียกว่า ภาพยนตร์การ์ตูนตอนพิเศษ ก็ได้ --Pramook 4:19AM, 1ุ6 ตุลาคม 2005 (EST)

อื่นๆ

[แก้]
  1. เห็นด้วย 1-5 (5 แปลกๆ หน่อยแต่โอเค) แต่ OVA คืออะไรครับ ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรว่าต่างกับการ์ตูนธรรมดาตรงไหน มีชื่อไทยเปล่าครับ --Manop | พูดคุย 19:19, 15 ตุลาคม 2005 (UTC)
OVA = Original Video Animation คือการ์ตูนที่ทำขายในรูปแบบวิดีโอ ซีดี หรือดีวีดีเท่านั้น ศัพท์ภาษาไทยไม่มีครับ ถ้ามีก็ต้องบัญญัติเอง แต่ผมว่าทับศัพท์ไปจะดีกว่าเพราะรู้สึีกว่าคนการ์ตูนเขาก็ใช้คำว่า OVA มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว -- Pramook 10:44PM, 15 ตุลาคม 2005 (EST)
ทับศัพท์ นี่เขียนอย่างไรหรือครับ โอวา หรือ โอวีเอ --Manop | พูดคุย 03:30, 16 ตุลาคม 2005 (UTC)
โอวีเอสิฮะ แต่ถึงกระนั้นแล้ว ใช้ OVA ดีกว่านะฮะ--Aki Akira 06:10, 16 ตุลาคม 2005 (UTC)

เพิ่มเติม

[แก้]

นอกเรื่องหน่อยนะครับ ผมว่า น่าจะมีเขียนคำอธิบายไปอีกหน้านึงก็ดีสำหรับคนอื่นที่ไม่ค่อยรู้เรื่องการ์ตูนมาช่วยโหวต ฝากเขียนบทความ OVA หนังสือการ์ตูน หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ นิตยสารการ์ตูน ภาพยนตร์การ์ตูนชุด หน่อยครับ --Manop | พูดคุย 08:29, 16 ตุลาคม 2005 (UTC)

รอบที่ 2

[แก้]

ขอสรุปรอบที่ 2 (เพื่อมีใครโต้แย้ง) นะฮะ

  1. หนังสือการ์ตูนเป็นเล่ม ที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นรวมเล่ม เราจะเรียกว่า หนังสือการ์ตูน เช่น คุณครูจอมเวทย์เนกิมะ เล่ม 1
  2. หนังสือการ์ตูนเป็นตอนๆ ที่ตีพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ เราจะเรียกว่า หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ เช่น KC Weekly, บูม
  3. หนังสือการ์ตูนที่มีเนื้อหาเป็นการ Spoiler คือมีการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการ์ตูน แต่ไม่ได้พิมพ์การ์ตูนเป็นเรื่องเป็นราว เราจะเรียกว่า นิตยสารการ์ตูน เช่น TV Magazine
  4. การ์ตูนที่ฉายอยู่ในทีวี คือมีการฉายอยู่ในลักษณะเป็นตอนยาว เราจะเรียกมันว่า ภาพยนตร์การ์ตูนชุด เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนชุด โดราเอมอน
  5. การ์ตูนที่ฉายอยู่ในทีวีเป็นพิเศษ เช่นฉายในโอกาสพิเศษ เราจะเรียกว่า ภาพยนตร์การ์ตูนตอนพิเศษ เช่น ยอดนักสืบจิวโคนัน ตอนพิเศษ ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ
  6. การ์ตูนที่ฉายอยู่ในโรงหนัง คือมีการฉายในโรงหนังเป็นเรื่องเป็นราว เราจะเรียกว่า ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และ ใช้ชื่อของภาพยนตร์นั้นๆ กำกับ เช่น ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน คดีฆาตกรรมกลางทะเลลึก
  7. การ์ตูนที่จัดจำหน่ายเป็นพิเศษ คือมีการขายเพื่อเฉพาะกลุ่มแฟนๆ เราจะเรียกว่า ภาค OVA

ขอให้ผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ลงความเห็นด้วยฮะ (ถ้าไม่เห็นด้วยให้เขียนความเห็นของตัวเองขึ้นมาใหม่ ด้านล่าง)

ผู้เห็นด้วย

[แก้]
  1. เห็นด้วย--Aki Akira 11:52, 16 ตุลาคม 2005 (UTC)
  2. เห็นด้วย--Pramook 3:39PM, 16 ตุลาคม 2005 (EST)

ผู้ไม่เห็นด้วย

[แก้]
  1. OVA คนที่ไม่ใช่คนอ่านการ์ตูนคงไม่เข้าใจ เดี๋ยวเหมือนกับ XXX คือ มังงะ, YYY คือ ภาค OVA--Manop | พูดคุย 19:08, 16 ตุลาคม 2005 (UTC)
    งั้นหรือว่าจะใช้คำว่า ภาพยนตร์การ์ตูนฉบับพิเศษ ดี--Aki Akira 00:22, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)
  2. ไม่เห็นด้วยข้อ 6 ครับ มีคำว่า "เรื่องยาว" เข้ามา รู้สึกจะดูยาวไป ภาพยนตร์การ์ตูน เฉยๆ น่าจะได้ความหมายที่ฉายในโรงอยู่แล้ว Markpeak 00:50, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)
    ที่ไม่ใช้ ภาพยนตร์การ์ตูน เพราะว่าจะใช้คำนี้แทน อะนิเมะ และการ์ตูนแอนิเมชันโดยทั่วไปนะครับ คำว่า ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้จริงๆ มีหลักฐานดูได้ในที่การแสดงความเห็นครั้งที่ 1 -- Pramook 9:11, 16 ตุลาคม 2005 (EST)
    ผมกลับคิดว่าคำว่า การ์ตูนแอนิเมชัน น่าจะใช้แทนคำว่า อะนิเมะ ได้ดีกว่า และครอบคลุมกว่าในความหมายนี้นะครับ Markpeak 03:19, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)
เรื่องนี้เราเคยประชุมไปแล้วรอบหนึ่งคำ เพื่อความไม่กำกวน และแสดงถึงเอกลักษณ์ของภาษาไทย เราจึงไม่ใช้คำว่า แอนิเมชั่น เพราะเป็นคำเขียนทับศัพท์ จึงเปลี่ยนมาใช้ ภาพยนตร์การ์ตูนที่มีความหมายตรงตัวกว่าครับ--Aki Akira 08:30, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)
  1. ติดใจตรง OVA เพราะไม่เข้าใจ, ส่วนภาพยนตร์การ์ตูนที่ฉายตามโรงหนัง น่าจะเรียก "ภาพยนตร์การ์ตูน" ก็น่าจะพอครับ ถ้ามีอะไรพิเศษ ก็ค่อยขยายความต่อท้ายเป็นเรื่องๆ ไป -- --ธวัชชัย | พูดคุย 01:05, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)
  2. เห็นด้วยทุกข้อ ยกเว้น OVA …[[ผู้ใช้:Watcharakorn|ผู้ใช้:Watcharakorn/Sign]] 05:17, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)
  3. ไม่เชิงไม่เห็นด้วย แต่ขอออกความเห็นเพิ่มเติมหน่อยครับ
    1. หนังสือการ์ตูนรายคาบ (manga magazine) เช่น KC Weekly หรือ Boom (รายสัปดาห์), Mr. Monthly (รายเดือน) น่าจะเรียกรวมกันว่า นิตยสารการ์ตูน หากต้องการระบุคาบการวางตลาดด้วย ให้ระบุเป็น นิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ หรือ ~รายเดือน
    2. หนังสือการ์ตูนเป็นเล่มที่ตีพิมพ์เฉพาะเรื่อง (อาจรวมเล่มจากนิตยสาร หรือออกเป็นรูปเล่มเลยโดยไม่ลงในนิตยสารก่อน) เช่น ดราก้อนบอล น่าจะเรียกว่า หนังสือการ์ตูน ถ้าต้องการเน้นว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น อาจใช้เป็น มังงะ แล้ววงเล็บต่อท้ายว่า (การ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ได้
    3. นิตยสารที่ลงข่าวสารเกี่ยวกับการ์ตูนเป็นหลัก แต่ไม่ได้ตีพิมพ์การ์ตูนเป็นเรื่อง (หรือการ์ตูนเรื่องเป็นส่วนเสริม) เช่น TV Magazine หรือ animag น่าจะเรียกว่า นิตยสารข่าวการ์ตูน เพื่อไม่ให้สับสนกับ นิตยสารการ์ตูน ที่ตีพิมพ์การ์ตูนเป็นหลัก
    ในส่วนของ อะนิเมะ หรือ ภาพยนตร์การ์ตูน ไม่มีความเห็นแย้งครับ ยกเว้น โอวีเอ ซึ่งหมายถึงแอนิเมชันที่ออกวางตลาดเป็นสื่อวีดิทัศน์โดยตรง โดยไม่เคยออกอากาศหรือฉายในโรงมาก่อน (คล้ายกับ direct-to-video ของทางตะวันตก) ซึ่งผมเองยังคิดคำไทยที่เหมาะสมไม่ได้เหมือนกัน อาจใช้เป็น โอวีเอ ไปก่อนจนกว่าจะได้ข้อยุติ เนื่องจากมีบทความโอวีเออยู่ต่างหากแล้ว
    อ้อ ชื่อหนังสือ นิตยสาร หรือภาพยนตร์ แนะนำให้เขียนเป็นตัวเอนครับ --Phisite 06:37, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)
ผมคิดว่า คำว่านิตยาศาสตร์ ไม่เหมือนกับคำว่าหนังสือนะฮะ เพราะว่า นิตรยาสาร น่าจะเหมาะกับหนังสือที่มีการ Spilor เนื้อหามากกว่านะฮะ ดังนั้นแล้ว จึงใช้คำว่า หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์นะฮะ ส่วนที่บอกว่าเป็นรายเดือน ก็คงต้องเพิ่มเป็น หนังสือการ์ตูนรายเดือน สินะฮะ ส่วน TV Magazine หรือ animag ถ้ามันเป็น นิตยสารข่าวการ์ตูน งั้นหนังสืออย่าง Cosmoporitan, Kawaii, FHM ก็เป็นนิตยสารข่าวแฟชั่น แทนจะเป็นนิตยสารแฟชั่นสิฮะ? ป๋มว่าแค่คำว่านิตยสารการ์ตูน ก็มีความหมายเพียงพอแล้ว แต่ว่า บางทีมันก็เป็นข่าวเหมือนกันนะ.... เอาไว้ทบทวนในรอบที่ 3 แล้วกันเนอะ....--Aki Akira 08:31, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)
ขอออกความเห็นเพียงเล็กน้อย เพราะไม่สันทัดในเรื่องนี้, ส่วนอื่นไม่ขัดข้อง กรณี OVA นั้น ไหน ๆ ก็เรียกโอวีเอกันมาจนติดปากแล้ว (หรือเปล่า?) ผมว่าก็เรียกทับศัพท์ไปอย่างนั้นก็ได้นะครับ --Pi@k 12:39, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)


สรุปภาษาที่ใช้รอบที่ 3

[แก้]

หัวข้อที่ทุกคนเห็นด้วย

[แก้]

ได้มีการเขียนร่างใน คู่มือการเขียนสารานุกรมการ์ตูน (ไม่เห็นด้วยให้ค้านตอนนี้)

  1. หนังสือการ์ตูนเป็นเล่ม ที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นรวมเล่ม เราจะเรียกว่า หนังสือการ์ตูน เช่น คุณครูจอมเวทย์เนกิมะ เล่ม 1
  2. หนังสือการ์ตูนเป็นตอนๆ ที่ตีพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ เราจะเรียกว่า หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ เช่น KC Weekly, บูม
  3. หนังสือการ์ตูนที่มีเนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการ์ตูน (spoiler) แต่ไม่ได้พิมพ์การ์ตูนเป็นเรื่องเป็นราว เราจะเรียกว่า นิตยสารการ์ตูน เช่น TV Magazine
เพิ่มเติมนิดนึงว่า นิตยสารการ์ตูน ในรูปแบบนี้ ไม่ใช่เป็นการ spoiler เสมอไปนะครับ น่าจะนิยามว่า นิตยสารข้อมูลเกี่ยวกับการ์ตูน มากกว่า Markpeak 04:27, 19 ตุลาคม 2005 (UTC)
  1. การ์ตูนที่ฉายอยู่ในทีวี คือมีการฉายอยู่ในลักษณะเป็นตอนยาว เราจะเรียกมันว่า ภาพยนตร์การ์ตูนชุด เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนชุด โดราเอมอน
  2. การ์ตูนที่ฉายอยู่ในทีวีเป็นพิเศษ เช่นฉายในโอกาสพิเศษ เราจะเรียกว่า ภาพยนตร์การ์ตูนตอนพิเศษ เช่น ยอดนักสืบจิวโคนัน ตอนพิเศษ ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ

โหวตหัวข้อที่ยังมีการคัดค้านในครั้งที่แล้ว

[แก้]

ปิดโหวตวันที่ 20 ตุลาคม เวลา 11:59pm (เวลาไทย) ขณะนี้เป็นวันที่ 28 ธันวาคม เวลา 06:35 โดยให้โหวตภายใต้หัวข้อที่ต้องการ คะแนนโหวตที่สูงสุด จะถูกจัดเก็บเข้านโยบาย คะแนนโหวตเท่ากัน จะมีการโหวตใหม่ โหวตโดยการใส่ชื่อตัวเองภายใต้ ชื่อของบทความนั้น เห็นด้วย

1. การ์ตูนที่ฉายอยู่ในโรงหนัง คือมีการฉายในโรงหนังเป็นเรื่องเป็นราว เราจะเรียกว่า ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และ ใช้ชื่อของภาพยนตร์นั้นๆ กำกับ เช่น ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน คดีฆาตกรรมกลางทะเลลึก

2. การ์ตูนที่จัดจำหน่ายเป็นพิเศษ คือมีการขายเพื่อเฉพาะกลุ่มแฟนๆ เราจะเรียกว่า ภาค OVA มีตัวอย่าง มั้ยครับ ? เช่น ABC เป็น OVA หรือ ABC เป็น ภาคOVA หรือ ABC เป็นการ์ตูนภาคOVA


เพิ่มเติม

[แก้]

สำหรับ หัวข้อพูดคุยของ 2 ครั้งที่ผ่านมา ดูได้ที่ นโยบายพูดคุยที่ผ่านมา

เสนอนิดนึงฮะ ป๋มว่า ตอนที่ฉายในโรงภาพยนตร์ เรียกว่า ภาพยนตร์ เฉยๆ เหมือน Star War ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียกภาพยนตร์การ์ตูน เพราะว่าคนไทยมักติดว่า การ์ตูน คือ การ์ตูน จึงงงกับคำว่า ภาพยนตร์การ์ตูน แต่ผมว่า มันเป็นภาพยนตร์เหมือนกับ Star War แค่มันอยู่ในรูปแบบของการวาดเท่านั้น ดังนั้นเรียกว่า ภาพยนตร์ เฉยๆ ดีไหมฮะ--Aki Akira 13:28, 18 ตุลาคม 2005 (UTC)
ฮะฮะ อาจจะสายไป ฮิฮิ มีคนโหวตเยอะแล้ว --Manop | พูดคุย 06:43, 20 ตุลาคม 2005 (UTC)


มังงะและการ์ตูนญี่ปุ่น

[แก้]

เสนอให้แยกบทความ "การ์ตูนญี่ปุ่น" ออกจากบทความ "มังงะ" เนื่องจากผมเห็นว่าคำว่า "การ์ตูนญี่ปุ่น" เป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมทั้งมังงะและอะนิเมะ แต่ "มังงะ" นั้นหมายถึงการ์ตูนที่ถูกตีพิมพ์ลงบนกระดาษเท่านั้น

ดีดีครับ ผมอยากให้มีแยกเหมือนกัน ตอนแรกผมเป็นคนรวมเข้าไปเอง เพราะว่าไม่ได้มีการพูดถึงว่า มังงะ ต่างกับคำว่าการ์ตูนญี่ปุ่น ยังไงนะครับ อะนิเมะ ก็เหมือนกันครับ

ภาษาที่ใช้

[แก้]

นอกจากนี้ยังอยากเสนอให้ขึ้นต้นหัวข้อสารานุกรมเด้วย "<ชื่อเรื่อง>เป็นมังงะ" หรือ "<ชื่อเรื่อง>เป็นอะนิเมะ" แทน "<ชื่อเรื่อง>เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น" เพื่อป้องกันความสับสนเนื่องจากมังงะบางเรื่องไม่มีอะนิเมะ และในทางกลับกันอะนิเมะบางเรื่องก็ไม่มีมังงะ ส่วนเรื่องที่มีทั้งมังงะและอะนิเมะนั้นควรจะใช้ภาคที่สร้างขึ้นก่อนหรือมีชื่อเสียงมากกว่าเป็นหลัก เช่น เรื่อง Bleach ควรเขียนว่าเป็นมังงะก่อนที่จะกล่าวว่ามีการสร้างเป็นอะนิเมะขึ้น แต่เรื่อง Onegai Teacher ควรจะเขียนว่าเป็นอะนิเมะก่อนที่จะบอกว่ามีมังงะก็มีเหมือนกัน เป็นต้น -- Pramook 3:40PM, 8 ตุลาคม 2545 (EST)

ส่วนภาษาที่ใช้ผมได้แก้ไปในย่อหน้าแรก (ส่วนภาพรวม) ที่ผมเปลี่ยนเป็นคำว่า "การ์ตูนญี่ปุ่น" ยกตัวอย่าง เขียนอย่างไรก็ได้ครับ ไม่ให้สับสน
  • คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะ!เป็นมังงะแนวผจญภัยโดยเคน อากามัตสึ จะทำให้คนอ่านเข้าใจว่าเป็นมังงะ อย่างเดียวหรือเปล่า หรือว่าเป็นอะนิเมะ ด้วย แต่กว่าจะรู้ว่าเป็นอะนิเมะต้องอ่านไป 4 บรรทัดนะครับ
  • คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะ!เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวผจญภัย ฉบับมังงะวาดโดยเคน อากามัตสึ และได้ถูกนำมาสร้างเป็นอะนิเมะในปี 2548 ทำให้ผู้อ่านเข้าใจในประโยคแรกว่าคืออะไรนะครับ
  • คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะ!เป็นมังงะและอะนิเมะแนวผจญภัย ฉบับมังงะวาดโดยเคน อากามัตสึ และได้ถูกนำมาสร้างเป็นอะนิเมะในปี 2548

เรื่องภาษาผมไม่ค่อยมีปัญหาครับ แต่อยากให้ความหมายไม่สับสนพอ (จริงๆ ผมเขียนภาษาไทย ลำดับความไม่ค่อยดีเหมือนกัน) คุณ Pramook ลองกำหนดนโยบายขึ้นมาก็ได้ครับ --Manop 05:57, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)

น่าจะเป็น มังกะ = Comic = หนังสือการ์ตูน ส่วน อนิเม/อะนิเมะ = Animation = ภาพยนตร์การ์ตูน ฮะ ไม่ควรทับศัพท์คำว่ามังกะ เพราะเป็นภาษาญี่ปุ่นที่ยังไม่ได้ให้ทับศัพท์นิฮะ ส่วนคำว่า อะนิเมะ ปกติมันเขียนว่า アニメ มันมาจากภาษาอังกษฏนิฮะ ใช้คำว่า ภาพยนตร์การ์ตูน มากกว่า เพราะเป็นคำภาษาไทยฮะ > x <\\"

漫画 คำนี้เขียนเป็นคำไทยว่าอะไรหรือครับ ผมเริ่มงง มังงะ หรือ มังกะ ผมรู้ว่ามันอ่านเหมือน /มัง(กง)ะ/--Manop 06:58, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)
มันใช้ตัว ガ ตัวสะกดอังกษฏก็ ga เวลาเขียนคงต้องเป็น "งะ" นะฮะ แต่ตามที่คนไทยอ่าน มักจะอ่าน "กะ" ตามเสียงญี่ปุ่นฮะ ดังนั้นแล้ว น่าจะใช้ "งะ" ซึ่งเป็นตัวเขียนฮะ แต่ใช้ภาษาไทยไปเลยไม่ดีกว่างเหรอฮะ "หนังสือการ์ตูน" น่ะ เข้าใจตรงตัวด้วย--Aki Akira 07:20, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)
ความคิดเห็นส่วนตัวผมชอบคำว่า หนังสือการ์ตูน มากกว่า มังงะ/มังกะ นะ เผื่อคนที่ไม่รู้จักคำนี้มาอ่านก็เข้าใจได้ง่ายกว่า --Manop 08:30, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)

ที่ผมไม่อยากให้ใช้คำว่า "หนังสือการ์ตูน" กับ "ภาพยนตร์การ์ตูน" นั้นก็มีเหตุผลอยู่สองสามข้อ

  • คำว่า "ภาพยนตร์การ์ตูน" อาจจะทำให้คนอ่านสับสนได้ว่ามันหมายความถึงหนังโรง แต่ความจริงภาพยนตร์การ์ตูนส่วนใหญ่จะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนที่ฉายทางโทรทัศน์ ลองคิดดูนะครับว่าถ้าคุณเขียนบทความเกี่ยวกับหนังการ์ตูนที่มีทั้งภาคโทรทัศน์และภาคหนังโรงจะเขียนว่าอย่างไร คำว่า "หนังโรง" ไม่น่าจะเป็นศัพท์ทางการพอที่จะใช้ได้ ดังนั้นทางเลือกที่มีคือ "ภาพยนตร์การ์ตูนที่ออกฉายในโรงภาพยนตร์" หรือวลีอื่นๆ ที่มีคำว่าภาพยนตร์สองคำในวลีเดียว ซึ่งผมเห็นว่าฟังแล้วไม่ค่อยเข้าท่า
  • คำว่า "หนังสือการ์ตูน" หมายความได้ถึงตัวหนังสือและมังงะซึ่งหมายถึงรูปแบบหนึ่งของการ์ตูน ดังนั้นผมจึงคิดว่าแปลกมากๆ ที่เราจะพูดว่า "หนังสือการ์ตูนเรื่อง XXX ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร YYY" (หน้งสือจะถูกตีพิมพ์ในนิตยสารได้อย่างไร?)
  • คำว่ามังงะและอะนิเมะมีความหมายในเชิงนามธรรมมากกว่า "หนังสือการ์ตูน" หรือ "ภาพยนตร์การ์ตูน" ทั้งสองคำมีความหมายรวมไปถึงศิลปะ และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากการ์ตูนด้วย มังงะและอะนิเมะยังสั้นกว่า มีความหมายตรงตัว และบ่งบอกเชื้อชาติ (อย่างน้อยก็รู้ว่าไม่ใช่การ์ตูนฝรั่ง)

--Pramook 04:31AM, 9 ตุลาคม 2005 (EST)

แต่ยังไงนี่มันก็วิกิพีเดียภาษาไทยไม่ใช่เหรอฮะ น่าจะใช้ภาษาไทย งั้นเรามาคิดภาษาของคำว่า มังกะ กับ อนิเม ที่ดีกว่านี่ดีกว่าเนอะ แต่มันไม่ใช่นิตยาาสารการตูนนะฮะ ถ้าเป็นนิตยสารการ์ตูน มักจะเข้าใจในความหมายของ หนังสือ Splior มากกว่า เช่น Anime หรืออะไรพวกนั้น ส่วนหนังสือที่ตีพิมพ์การตูนเป็นเรื่องๆ อย่างโชเน็นจัมพ์ น่าจะเรียกว่า หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์มากกว่า--Aki Akira 10:36, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)

ผมไม่ใช่คนอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นเท่าไร รู้จักศัพท์การ์ตูนทั้งหลายจากเพื่อน ถ้าใช้ "มังงะ" กับ "อะนิเมะ" ผมต้องอ่านแล้วแปลต่ออีกทอดหนึ่ง ผมแนะนำว่าใช้คำว่า "หนังสือการ์ตูน" กับ "ภาพยนตร์การ์ตูน" ก็ดีแล้วครับ หรืออาจใช้คำว่า "การ์ตูนอะนิเมชัน" หรือ "การ์ตูนโทรทัศน์"ก็ได้กรณีไม่ได้ฉายโรง ถ้ามีการตีพิมพ์ก็ใช้คำว่า "การ์ตูน"เรื่องนี้ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร xxx" เพราะโดยสามัญสำนึก อะนิเมะตีพิมพ์ไม่ได้ จริงไหมครับ แล้วก็ หนังสือการ์ตูนก็เป็น "หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์" กับ "หนังสือการ์ตูนรวมเล่ม" ไม่ต้องฟิกมากก็ได้ครับ แต่อ่านแล้วรู้เรื่อง (ไม่ใช่คนการ์ตูนก็รู้เรื่อง โดยไม่ต้องลิงก์ไปหน้าอื่น จะดีที่สุดครับ) --Wap 14:29, 10 ตุลาคม 2005 (UTC)


เทมเพลตหน้าหลัก

[แก้]

ผมเสนอให้ใช้

[ชื่อเรื่อง]เป็น{มังงะ/อะนิเมะ/มังงะและอะนิเมะ} แต่งเรื่องโดย[ผู้แต่งเรื่อง] วาดภาพโดย[ผู้วาดภาพ] มีเนื้อหาเกี่ยวกับ[เนื้อหา]

เสร็จแล้วย่อหน้าต่อไปค่อนใส่ข้อมูลเกี่ยวกับนิตยสารที่ลงตีพิมพ์ เกม ฯลฯ

--Pramook 02:43, 9 ตุลาคม 2005 (EST)

มันจะเป็นระเบียบเกินไปหรือเปล่าฮะ คือ ผมเห็นด้วยนะ ที่จะทำให้เป็นระเบียบ แต่ก็ ระเบียบมันมากไป คนเขาจะไม่สนใจเอา ผมว่า สาราณุกรมที่ร่วมกันสร้าง น่าจะเป็นแบบที่ให้คนสร้างคิดขึ้นมา เขาอยากเขียนอะไร ก็เขียนไปดีกว่านะฮะ เราแค่ช่วยเขาร่วมแก้ไขให้สมบูรณ์ดีกว่า แต่ก็เป็นไอเดียที่ดีนะฮะ d > O < ยกนิ้วๆ แต่ถ้าเป็น {มังงะ/อะนิเมะ/มังงะและอะนิเมะ} มันจะดูเป็นภาษาญี่ปุ่นไปนะฮะ ใช้ภาษาไทยดีกว่า แล้วก็ การแบ่งน่าจะเป็น หนังสือการ์ตูน, ภาพยนตร์การ์ตูนชุด, ภาพยนตร์การ์ตูน, OVA นะฮะ เท่าที่น่าจะแบ่ง--Aki Akira 07:31, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)
จริงอย่างที่ AkiAkira บอกครับ ไม่ต้องมีกฎเกณฑ์ตายตัวมาก แต่ลองเขียนร่างเป็นนโยบายขึ้นมาก็ได้ครับ ถ้านโยบายอ่านแล้วคนทำตามก็เก็บไว้ ถ้าไม่ดีก็ค่อยร่างใหม่ นโยบายในวิกิพีเดียส่วนใหญ่ จะเปลี่ยนไปตามผู้ใช้ส่วนใหญ่นะครับ เพราะเป็นสารานุกรมของทุกคน--Manop 13:46, 10 ตุลาคม 2005 (UTC)


อนิเมชัน หน้านี้

[แก้]

ไอเดียเล่นๆ นะครับ ใครทำรูปเก่งๆ ทำหน้านี้เป็นเว็บสวยๆ กันดีมั้ยครับ --Manop 06:22, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)

อย่าเกินหน้าเกินตาวิกิพีเดียธรรมดามากนะครับ ล้อเล่นน่ะ แหะๆ :) --Wap 08:40, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)
ลองทำเป็นการ์ตูน 4 ช่องดีกว่า เอิกๆๆ (ลองทำดู)--Aki Akira 10:42, 9 ตุลาคม 2005 (UTC)

ชื่อ - นามสกุลคนญี่ปุ่น

[แก้]

เนื่องจากชื่อคนญี่ปุ่นเขียนนำหน้าชื่อ เช่น คันดะ อาเคมิ (ชื่อ - อาเคมิ, นามสกุล-คันดะ) โนบิ โนบิตะ (ชื่อ - โนบิตะ, นามสกุล - โนบิ) ในวิกิพีเดียนี้มีเขียนกันทั้งสองแบบคือ ชื่อนำสกุล เช่น จุนอิชิโร โคะอิซุมิิ และ สกุลนำชื่อ เลยอยากจะขอข้อตัดสินในการเขียนชื่อ

สรุปหัวข้อพูดคุยก่อนหน้า

[แก้]
  • นามสกุลนำชื่อ - ตามต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น, มีการใช้มานานในหนังสือการ์ตูน, คงความสละสลวยของเสียง(ตามคนตั้ง)
  • ชื่อนำหน้าสกุล - เรียงตามชื่อสกุลไทย บอกว่าอันไหนคือชื่อ และ นามสกุล (สำหรับคนที่ไม่รู้ว่านามสกุลคนญี่ปุ่นนำหน้า)
  • ผลโหวตจะใช้กับ "ชื่อบทความ" และ "ชื่อที่เขียนในบทความ"
  • ในหนังสือการ์ตูนใช้นามสกุลนำชื่อ แต่ในหนังสือพิมพ์ไทยและหลายเว็บรัฐบาลใช้ชื่อนำหน้าสกุล เช่นใน สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
  • เว็บของญี่ปุ่นเอง เวลาเขียนภาษาอังกฤษใช้ ชื่อนำหน้านามสกุล ดูที่[1] นามสกุลนำหน้าชื่อเวลาเขียนภาษาญี่ปุ่นครับ [2] Nobutaka Machimura (町村信孝, マチムラ・ノブタカ)
  • ชื่อคนจีน เกาหลี ฮังการี และเวียดนาม ใช้ลักษณะ นามสกุลนำืชื่อ

โหวตรอบที่ 2

[แก้]

วิธีใหม่ที่เสนอจาก คุณ Phisite

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมแยกตามกรณีเพื่อความชัดเจน ดังนี้ครับ
4.1 ตัวละครในการ์ตูน ให้สะกดชื่อและเรียงลำดับตามที่ปรากฏในหนังสือฉบับภาษาไทย (ในกรณีหนังสือการ์ตูน) หรือซับไทเทิลภาษาไทย (ในกรณีภาพยนตร์การ์ตูน) เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงกับสื่อต้นฉบับ แล้ววงเล็บชื่อเป็นอักษรญี่ปุ่นต่อท้าย และอาจเพิ่มชื่อตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ (ของราชบัณฑิตยสถานหรือเกณฑ์อื่นที่จะตกลงกันภายหลัง) ในวงเล็บด้วย ในกรณีที่ชื่อทั้งสองแบบสะกดหรือเรียงลำดับต่างกัน เช่น
คันดะ อาเคมิ (神田 朱未 คันดะ อะเกะมิ) — ชื่อคนญี่ปุ่น ชื่อสกุลขึ้นก่อนชื่อตัว
คิระ ยามาโตะ (キラ・ヤマト คิระ ยะมะโตะ) — ชื่อคล้ายคนญี่ปุ่น แต่ชื่อตัวขึ้นก่อนชื่อสกุล
เนกิ สปริงฟิลด์ (ネギ・スプリングフィールド) — ชื่อชาวยุโรป ชื่อตัวขึ้นก่อนชื่อสกุล
4.2 บุคคลชาวญี่ปุ่นที่มีตัวตนจริง (รวมทั้งนักเขียนการ์ตูน) ให้เรียงลำดับชื่อตามอีกหลักเกณฑ์หนึ่งต่างหาก อาจเรียงชื่อตัวขึ้นก่อนหรือหรือชื่อสกุลขึ้นก่อนตามแต่จะตกลงกัน แต่ให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด แล้ววงเล็บชื่อเป็นอักษรญี่ปุ่นและชื่อตามหลักเกณฑ์ต่อท้าย เช่น (กรณีชื่อตัวขึ้นก่อน)
จุนอิชิโร โคะอิซุมิ (小泉 純一郎 โคะอิซุมิ จุนอิชิโร) — สะกดตามที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นใช้
อย่างไรก็ตาม ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ระบุว่า ชื่อบุคคลญี่ปุ่นในประวัติศาสตร์ก่อนรัชสมัยเมจิ (ค.ศ. 1868) จะเขียนโดยเรียงชื่อสกุลขึ้นก่อนเสมอ แม้จะเขียนเป็นอักษรโรมันก็ตาม เช่น โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ (徳川 家康) จะเขียนเป็น en:Tokugawa Ieyasu ไม่เขียนเป็น Ieyasu Tokugawa เพื่อไม่ให้ลักลั่นสับสน ผมจึงเห็นว่าชื่อคนญี่ปุ่นควรเขียนแบบชื่อสกุลขี้นก่อนทั้งหมดครับ


ใส่ชื่อภายใต้หัวข้อที่ต้องการ พร้อมทั้งข้อแนะนำในการปรับโหวต ถ้าไม่มีการแนะนำวิธีอื่น โหวตจะปิดวันที่ 26 ตุลาคม 11:59pm (ขณะนี้วันที่ 28 ธันวาคม เวลา 06:35)

1. นามสกุลนำหน้าชื่อ เขียน สกุล ชื่อ (ชื่อภาษาญี่ปุ่น) เช่น คันดะ อาเคมิ(神田 朱未)

  • ...

2. ชื่อนำหน้านามสกุล เขียน ชื่อ สกุล(ชื่อภาษาญี่ปุ่น, คำอ่าน) เช่น อาเคมิ คันดะ(神田 朱未, คันดะ อาเคมิ)

  • ...

3. (อันใหม่) แบ่งตามเงื่อนไข เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง (3.1) ชื่อบุคคลจริง ใช้ชื่อนำหน้านามสกุล (3.2) ชื่อตัวละครในการ์ตูน รอ้างอิงกับสื่อต้นฉบับ และความสวยงามของบท (3.3) ชื่อบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ (โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ไม่ใช้ อิเอะยะซุ โทะกุงะวะ ) ใช้ชื่อเดิมที่เรียก คือ นามสกุลนำหน้าชื่อ (อ้างอิงตามหนังสือ)

ความเห็น

[แก้]


โหวตเพิ่ม

[แก้]

ชื่อคน จีน และเกาหลี ให้เขียนตามชื่อต้นฉบับคือ นามสกุลนำหน้าชื่อ ถ้าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยให้ใส่ด้านล่าง ปิดโหวตวันเดียวกับ ด้านบน

เห็นด้วย

[แก้]
  1. --Manop | พูดคุย 22:43, 21 ตุลาคม 2005 (UTC)
  2. --Wap 15:49, 22 ตุลาคม 2005 (UTC)
  3. --Aki Akira 04:16, 23 ตุลาคม 2005 (UTC)
  4. ....

ไม่เห็นด้วย

[แก้]
  1. ...

ความเห็น

[แก้]


สรุปหัวข้อพูดคุยก่อนหน้า

[แก้]
  • นามสกุลนำชื่อ - ตามต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น, มีการใช้มานานในหนังสือการ์ตูน, คงความสละสลวยของเสียง(ตามคนตั้ง)
  • ชื่อนำหน้าสกุล - เรียงตามชื่อสกุลไทย บอกว่าอันไหนคือชื่อ และ นามสกุล (สำหรับคนที่ไม่รู้ว่านามสกุลคนญี่ปุ่นนำหน้า)
  • ในหนังสือการ์ตูนใช้นามสกุลนำชื่อ แต่ในหนังสือพิมพ์ไทยและหลายเว็บรัฐบาลใช้ชื่อนำหน้าสกุล เช่นใน [3] [4]
  • สำหรับการโหวตนี้ใช้เฉพาะใน สารานุกรมการ์ตูน และ อาจจะ/อาจจะไม่ รวมถึงบทความอื่นเช่น จุนอิชิโร โคอิซูมิในวิกิพีเดีย
  • ผลโหวตจะใช้กับ "ชื่อบทความ" และ "ชื่อที่เขียนในบทความ"

โหวตรอบที่ 1

[แก้]

ใส่ชื่อภายใต้หัวข้อที่ต้องการ พร้อมทั้งข้อแนะนำในการปรับโหวต ถ้าไม่มีการแนะนำวิธีอื่น โหวตจะปิดวันที่ 25 ตุลาคม 11:59pm (ขณะนี้วันที่ 28 ธันวาคม เวลา 06:35)

1. นามสกุลนำหน้าชื่อ เขียน สกุล ชื่อ (ชื่อภาษาญี่ปุ่น) เช่น คันดะ อาเคมิ(神田 朱未)

ท่าทางจะใช้ ชื่อนำหน้านามสกุลไม่ได้แน่สำหรับชื่อตัวการ์ตูนไม่งั้นการ์ตูนอ่านยากเกิน ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้ามีคนพูดว่า ซาสึเกะ อุจิวะ กับ คาคาชิ ฮาตาเกะ ก็ไม่มีใครรู้จัก เหมือนกับ เหวินฟะ โจว เล่นหนังกับ เต๋อหัว หลิว คู่กับ ซี่ยี่ ซาง ควบกับ หลิงเจี๋ย หลี่ (ชื่อจีนหมดเลย) แต่รับรองว่าไม่มีคนเข้าใจ เดี๋ยวจะโดนขำใส่แน่เลย จะว่าไปชื่อน่าจะเรียกตามชื่อเดิมเพราะมันเป็นชื่อของเขา

2. ชื่อนำหน้านามสกุล เขียน ชื่อ สกุล(ชื่อภาษาญี่ปุ่น, คำอ่าน) เช่น อาเคมิ คันดะ(神田 朱未, คันดะ อาเคมิ)

  • --ธวัชชัย | พูดคุย 07:44, 20 ตุลาคม 2005 (UTC) (ชื่อนำหน้านามสกุลให้เป็นสากลไปเลยดีกว่านะครับ เพราะถ้าใช้นามสกุลนำหน้าชื่อ ตามธรรมเนียม ก็จะมีของจีนอีก หรืออาจมีชาติอื่นๆ อีก)
  • --Wap 13:09, 20 ตุลาคม 2005 (UTC) (ญี่ปุ่นน่าจะชื่อนำ แต่ จีน กับ เกาหลี ผมว่านามสกุลนำหน้านะ)
  • PaePae 15:22, 20 ตุลาคม 2005 (UTC) -- ญี่ปุ่นผมว่าน่าจะใช้ ชื่อ-สกุล มากกว่า แต่สำหรับจีนกับเกาหลีนี่คงต้องเป็น นามสกุล-ชื่อ ไปโดยปริยายครับ จนใจจริง ๆ -_-" / ตามภาษาทางการไทยใช้น่ะ

3. นามสกุลนำหน้าชื่อ เขียนคอมม่าคั่น(แก้ปัญหาเฉพาะหน้า) สกุล, ชื่อ (ชื่อภาษาญี่ปุ่น) เช่น คันดะ, อาเคมิ(神田 朱未)

  • ...

4. (เสนอเพิ่ม) คล้ายกับข้อ 1. แต่มีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมแยกตามกรณีเพื่อความชัดเจน ดังนี้ครับ

4.1 ตัวละครในการ์ตูน ให้สะกดชื่อและเรียงลำดับตามที่ปรากฏในหนังสือฉบับภาษาไทย (ในกรณีหนังสือการ์ตูน) หรือซับไทเทิลภาษาไทย (ในกรณีภาพยนตร์การ์ตูน) เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงกับสื่อต้นฉบับ แล้ววงเล็บชื่อเป็นอักษรญี่ปุ่นต่อท้าย และอาจเพิ่มชื่อตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ (ของราชบัณฑิตยสถานหรือเกณฑ์อื่นที่จะตกลงกันภายหลัง) ในวงเล็บด้วย ในกรณีที่ชื่อทั้งสองแบบสะกดหรือเรียงลำดับต่างกัน เช่น
คันดะ อาเคมิ (神田 朱未 คันดะ อะเกะมิ) — ชื่อคนญี่ปุ่น ชื่อสกุลขึ้นก่อนชื่อตัว
คิระ ยามาโตะ (キラ・ヤマト คิระ ยะมะโตะ) — ชื่อคล้ายคนญี่ปุ่น แต่ชื่อตัวขึ้นก่อนชื่อสกุล
เนกิ สปริงฟิลด์ (ネギ・スプリングフィールド) — ชื่อชาวยุโรป ชื่อตัวขึ้นก่อนชื่อสกุล
4.2 บุคคลชาวญี่ปุ่นที่มีตัวตนจริง (รวมทั้งนักเขียนการ์ตูน) ให้เรียงลำดับชื่อตามอีกหลักเกณฑ์หนึ่งต่างหาก อาจเรียงชื่อตัวขึ้นก่อนหรือหรือชื่อสกุลขึ้นก่อนตามแต่จะตกลงกัน แต่ให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด แล้ววงเล็บชื่อเป็นอักษรญี่ปุ่นและชื่อตามหลักเกณฑ์ต่อท้าย เช่น (กรณีชื่อตัวขึ้นก่อน)
จุนอิชิโร โคะอิซุมิ (小泉 純一郎 โคะอิซุมิ จุนอิชิโร) — สะกดตามที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นใช้
อย่างไรก็ตาม ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ระบุว่า ชื่อบุคคลญี่ปุ่นในประวัติศาสตร์ก่อนรัชสมัยเมจิ (ค.ศ. 1868) จะเขียนโดยเรียงชื่อสกุลขึ้นก่อนเสมอ แม้จะเขียนเป็นอักษรโรมันก็ตาม เช่น โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ (徳川 家康) จะเขียนเป็น en:Tokugawa Ieyasu ไม่เขียนเป็น Ieyasu Tokugawa เพื่อไม่ให้ลักลั่นสับสน ผมจึงเห็นว่าชื่อคนญี่ปุ่นควรเขียนแบบชื่อสกุลขี้นก่อนทั้งหมดครับ (ถ้าไม่มีใครเลือกข้อนี้เพิ่มจากผม ให้นับชื่อผมว่าเลือกข้อ 1. แทนครับ) --Phisite
  • --Phisite 18:11, 21 ตุลาคม 2005 (UTC)

ความเห็น

[แก้]
  • + ความสวยงามของ ตามแนวคิดของภาพยนตร์ และหนังสือ
  • + แนวความเห็นของ คุณธวัชชัย และคุณ Wap ขัดกันนะครับ ^_^ (ขอเลื่อนโหวตละกันงั้น)
  • + วันนี้หาข้อมูลเพิ่มมา เว็บของคนญี่ปุ่นเอง ใช้ชื่อนำหน้าสกุล สำหรับเวลาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ [5] นามสกุลนำหน้าชื่อเวลาเขียนภาษาญี่ปุ่นครับ [6] Nobutaka Machimura (町村信孝, マチムラ・ノブタカ) เลยสงสัยว่ายังไงกันแน่

เสนอวิธิการเขียนชื่อครับ เห็นด้วยไม่เห็นด้วย เสนอแนะได้ครับ จริงๆ อยากให้เขียนเหมือนกันหมดทิศทางเดียวกัน แต่เห็นว่าเท่าที่มีคนเขียน มีเขียนทั้ง 2 แบบ คือ ชื่อนำหน้า หรือนามสกุลนำหน้า เลยกำหนดวิธีการขึ้นมา เพื่อแบ่งแยกให้ชัดเจนขึ้น

  • การเขียนชื่อทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น 2 อย่าง
    • ถ้าเขียน นามสกุลนำหน้าชื่อ ใ้ห้ใส่เครื่องหมาย , ระหว่างชื่อกับนามสกุล เพื่อแสดงว่า นามสกุลนำหน้า เช่น
      • โทริยามา, อากิรา (鳥山 明)
      • อุจิวะ, ซาสึเกะ (うちは サスケ)
    • ถ้าเขียน ชื่อนำหน้านามสกุล ให้ใส่คำอ่าน ไว้หลังภาษาญี่ปุ่น ในวงเล็บ โดยเขียนเป็นตัวเอียง เช่น
      • อาเคมิ คันดะ (神田 朱未, คันดะ อาเคมิ)
      • โนบิตะ โนบิ (野比のび太, โนบิ โนบิตะ)

ผมงงฮะ คือ... พี่ Manop (ล่ะมั้ง!?) เขียนคุณ ซากุระ ทันเกะ ตามแบบญี่ปุ่นในหน้าของ อาโอนิโปรดักชั่น ตกลง ชื่อหัวข้อ เราจะเอาอะไรดีฮะ ซากุระ ทันเกะ หรือ ทันเกะ ซากุระ (เริ่มงง) แต่ถ้าผมเขียนมักจะเขียนเป็น ซากุระ ทันเกะมากกว่า อยากให้ใช้เขียนตามญี่ปุ่น เพราะปกติ ผมไม่เคยเห็นใครใช้ แบบ "อาเคมิ คันดะ" เท่าไหร่ ไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อน พึ่งมาเห็นที่นี้ที่แรก (หรือเราไปอยู่ป่ามาหว่า!?!) --Aki Akira 13:27, 10 ตุลาคม 2005 (UTC)

ชื่อบทความ ใช้ตามที่นิยมมากกว่านะครับ น้อง AkiAkira (ละมั้ง!? ดีไม่ดีรุ่นเดียวกัน) จะชื่อก่อนหรือนามสกุลก่อนก็ได้ครับ เหมือน โทริยามา อากิระ ถ้าเรียกกลับกัน อาจจะงงได้ ถ้าตั้งแล้วไม่ชอบ ก็ค่อยกลับมาเปลี่ยนได้ครับ --Manop 13:46, 10 ตุลาคม 2005 (UTC)

เรื่องการเรียงลำดับชื่อตัว-ชื่อสกุลคนญี่ปุ่น ผมเห็นว่าควรเรียงลำดับตามที่ปรากฏในต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นทั้งครับ คือชื่อสกุลขึ้นก่อนชื่อตัว เหตุผลคือ

  1. เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด ไม่สับสน
  2. ชื่อบุคคล ควรเขียนเรียงลำดับตามที่เจ้าของชื่อ (หรือผู้ตั้งชื่อ) ใช้
  3. ผู้อ่านการ์ตูนญี่ปุ่นในไทยส่วนมากรับรู้ว่าชื่อคนญี่ปุ่นจะเรียงแบบชื่อสกุลขึ้นก่อน ซึ่งต่างจากผู้อ่านชาวตะวันตกที่จะคุ้นเคยกับการเรียงแบบชื่อตัวขึ้นก่อน
  4. มีอีกหลายชาติที่เรียงชื่อบุคคลแบบชื่อสกุลขึ้นก่อน เท่าที่ทราบได้แก่ จีน, เกาหลี, และฮังการี และอีกหลายชาติไม่ได้ใช้ระบบชื่อตัว-ชื่อสกุล ดู en:Family name

ถ้าเกรงว่าผู้ที่ไม่คุ้นเคยจะสับสน ก็อาจเพิ่มบทความหรือส่วนที่อธิบายการเรียงลำดับชื่อคนญี่ปุ่นไว้ต่างหาก ทำนองเดียวกับในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เช่น en:Japanese name หรือ

ชื่อบุคคลในรายการข้างล่างนี้ เขียนเรียงลำดับแบบญี่ปุ่น คือชื่อสกุลขึ้นก่อนชื่อตัว

เทียบกับ

Names are given in Japanese order with the given name after the family name. The English anime dub uses the Western order (family name after the given name) while the English manga uses the Japanese order. (จาก en:Rurouni Kenshin)

--Phisite 01:59, 17 ตุลาคม 2005 (UTC)

อย่างชื่อญี่ปุ่นในหนังสือพิมพ์จะใช้ ชื่อนำหน้านามสกุลนะครับ สำหรับบุคคลสำคัญ เช่น จุนอิชิโร โคอิซูมิ [7]

[8] หรือว่าเราควรแยก ชื่อนักเขียนการ์ตูน เป็น นามสกุลนำหน้า(ที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูน) และชื่ออื่นๆ เป็นชื่อนำหน้าสกุล ดีครับ มีความเห็นว่าอย่างไร --Manop