ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/วิกิพีเดียคำเมืองจะใช้อักษรอะไรดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นานๆที่ถึงเข้า ผมมีตัวเลือก4อย่างครับ

เราจะใช้อะไรดีครับ จำพวกนี้ ถ้าออกมา คง...

  • ไทย:กำเมือง
  • คำเมือง: (ᨣᩤᩴᨾᩮᩥᩬᨦ)
  • โรมัน:gammuang
  • พินอิน:gam muang (อันนี้ไม่ทราบ)

วานชี้แจงด่วน เผื่อจะได้เขียน --สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมชาย(มังจูวินเสวียนเต้)พูดคุยกันได้ฝากข้อความไว้ได้ 21:23, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)

บทความทั้งหมดควรจะเป็นภาษาที่ตรงกับวิกิพีเดียภาษาที่คุณเลือกเขียน มิฉะนั้นคุณควรจะไปตั้ง "วิกิพีเดียภาษาไทย/ภาษาโรมัน/พินอิน" เลยจะดีกว่า ป.ล. ไม่มีอะไรเสนอปรับปรุงวิกิพีเดียไทยเลยหรือครับ --Horus 21:27, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)
ผมไม่รู้เลยครับว่าจะเสนออะไร แต่รู้ว่า แต่ก่อนใช้ตัวเมืองเขียน ผม...

เห็นด้วย ให้บทความส่วนใหญ่เขียนภาษาไทย--สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมชาย(มังจูวินเสวียนเต้)พูดคุยกันได้ฝากข้อความไว้ได้ 21:34, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)

ผมงงกับคุณจริง ๆ นะเนี่ย ชื่อบอกว่าวิกิพีเดียคำเมือง แต่กลับใช้ภาษาไทยกลาง งงครับ --Horus 21:57, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)
จริงๆเขาเลือกแบบไม่เลือกข้างค่ะ คุณฮอรัส--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 21:59, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)
เลือกข้างอะไรหรือครับ คุณจะว่าผมคัดค้านวิกิพีเดียคำเมืองทุกอย่างมันก็ไม่ถูกนะครับ เพราะผมแค่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาเท่านั้น ซึ่งผมอยากให้คุณทราบและคิดตามด้วย ขอบคุณครับ --Horus 22:04, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)
ถามบ้างค่ะ เขาทำเว็บไซต์ยังงัยค่ะ(เว็บวิกิพีเดียแต่ละภาษา)(ศึกษา)--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 22:05, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)
ไม่รู้เหมือนกันครับ กะว่าจะเขียนบอต แต่พอไปอ่านวิธีทำในภาษาอังกฤษก็ถอยกรูดแล้วละครับ --Horus 22:08, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)
แล้ว คุณฮอรัสเลือกอักษรอะไรค่ะ วิธีทำหน้าไหนค่ะ--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 22:11, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)
ก็ต้องคำเมืองสิครับ (สำหรับวิกิพีเดียคำเมือง) --Horus 22:14, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)
อักษรค่ะ(ภาษาก็กำเมืองอยู่แล้ว)(ไปก่อนค่ะ ง่วง)--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 22:18, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)
เข้าใจผิดไปเล็กน้อยครับ พินอินเอาไว้เขียนเสียงอ่านของภาษาจีนกลางเท่านั้น (คำว่า "พินอิน" ก็เป็นภาษาจีนกลาง) และพินอินก็ใช้อักษรโรมันเขียน ดังนั้นตัวเลือกที่สี่จึงมีค่าเทียบเท่ากับตัวเลือกที่สาม ถึงกระนั้นคุณสหายก็ยังไม่ยอมเข้าใจอีกว่า อักษรมีไว้เขียนภาษา แต่กลับเอาคำว่าภาษามาเรียกแทนอักษรเสียนี่ --Octra Dagostino 22:26, 15 มิถุนายน 2552 (ICT)
อย่าว่าอย่างนู้นอย่างนี้เลยนะครับ ผมเห็นแล้วก็หงุดหงิดพอควรทีเดียว ที่จะทำให้คำเมืองมันวิบัติไปแทนที่จะอนุรักษ์ เรื่องคุณ sahayfont ผมว่าคุณอย่าไปยุ่งดีกว่า คุณยิ่งไม่รู้อะไรแล้วเห็นว่าวัฒนธรรมเป็นของเล่น มันยิ่งทำให้ภาษาเขาวิบัติไปกันใหญ่
ส่วนคุณ Kammuang คือถ้าจะถามว่าจะใช้ตัวอักษรอะไร ผมอยากถามว่าคุณสามารถพิมพ์ดีดตัวเมืองได้ไหมครับ แล้วคนอื่นในเมืองไทยมีกี่คนที่พิมพ์ตัวเมืองได้ ส่วนเรื่องการทับศัพท์เป็นอักษรละตินหรืออักษรโรมันนั้น ท่าจะทำคงมีระเบียบแบบแผนที่ดีก่อน เพราะไม่งั้นมันจะกลายเป็นอะไรให้คนอื่นอ่านตลกได้ ถ้าจะให้แนะนำอาจลองเขียนบทความซัก 2-3 เรื่องนะครับ ให้เป็นรูปแบบอาจจะเขียนเช่น ประเทศไทย คำเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (หรือจังหวัดอะไรก็ได้) ให้ขึ้นมาเป็นรูปร่างไม่ว่าจะใช้อักษรอะไรนะครับ อาจจะไปขอความช่วยเหลือจากพวกเว็บคนเมือง เห็นว่ามีหลายเว็บเหมือนกัน --Manop | พูดคุย - (irc) 08:44, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
เรื่องอักษรธรรมล้านนานะครับ มันยังไม่มีในยูนิโคดปัจจุบัน (5.1) เพราะฉะนั้นเรื่องที่คิดว่าจะพิมพ์ด้วยอักษรธรรมล้านนาหรือจะให้คนทั่วไปสามารถพิมพ์ได้ ลืมไปได้เลย ฟอนต์ที่มีใช้กันอยู่ในตอนนี้ เป็นแค่การวางรูปร่างลักษณะลงไปทับอักษรไทยเท่านั้น --Octra Dagostino 09:29, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
ใช้ตัวอักษรไทยนี่แหละ แต่เขียนเป็นภาษาคำเมือง เพราะถ้าใช้ตัวเมืองนี่อาจทำให้เกิดปัญหาทางเทคนิค ส่วนเรื่องการทับศัพท์พี่มาพพกล่าวไปแล้ว และสิ่งที่ผมบอกตลอดไม่ว่าจะอยู่ที่ Incubator หรือที่นี่ คือเขียนบทความภาษาคำเมืองให้เป็นรูปเป็นร่างก่อน ทำอย่างไรก็ได้ ไม่งั้นการที่จะตั้งวิกิคำเมืองไปก็จะเสียการ เพราะไม่มีแบบแผน เป้าหมายที่ชัดเจน หรืออะไรทำนองนี้ --Chris Vineyard 12:09, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
ข่าวล่าสุดครับ ยูนิโคด 5.2 beta กำลังจะเพิ่มอักษรธรรมล้านนาแล้ว (Tai Tham) [1] ดูช่วง 1A20-1AAF (text 6.8 MB ไม่ต้องโหลดจนครบก็ได้) หรือดูตารางในไฟล์นี้หน้า 7 [2] แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีฟอนต์ที่ตรงกับยูนิโคดอยู่ดี (ก็มันเพิ่งออก) --Octra Dagostino 12:22, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
ปัญหาคือว่าอักษรธรรมล้านนามีหกเสียงวรรณยุกต์จะใช้อักษรไทยไปไม่รู้จะสูญเสียความหมายหรือไม่ ผมว่าจะเขียนอะไรในเบื้องต้นนั้นอาจไม่สำคัญ แต่อย่างที่คุณ Manop บอกข้างบน คือควรจะมีระเบียบแบบแผนที่ดีก่อน ถ้ามีระเบียบวิธีที่แน่ชัด เขียนด้วยอักษรอะไรก็แปลงเป็นอักษรอื่นๆได้ แต่ถ้าไม่ชัดเจนลงมือทำไปแล้วอาจจะต้องเสียแรงมาแปลงอีกที ก่อนอื่นต้องถามว่าคุณมีกำลังคนพอหรือยัง จะมาดูดกำลังสมองจากวิกิพีเดียไทยอย่างนี้บ่อยๆ ผมก็ว่าไม่ไหวนะครับ น่าจะไปชวนคนนอกวงการวิกิพีเดียที่รู้คำเมืองและสนใจจะร่วมโครงการมาทำ แค่ภาษาไทยกลางนี้ วิกิข่าว กับ วิกิซอร์สก็จะร้างอยู่แล้ว ถ้ามาดึงกำลังคนไปอีกคงจะไม่ไหว อย่างไรก็ตามคำเมืองนั้นเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญที่ควรจะอนุรักษ์เอาไว้ แต่ผมไม่แน่ใจว่าวิธีการอนุรักษ์ที่ถูกต้องในตอนนี้คือการสร้างวิกิพีเดียหรือไม่ ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่จำเป็นและควรทำในปัจจุบันก่อนสร้างวิกิพีเดียอีกมากมาย --taweethaも 12:29, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
ขอร่วมแสดงความเห็นเล็กน้อยนะครับ คือ อันดับแรก ในหน้าบทความภาษาต่างๆ มันก็มีบอกอยู่แล้วว่าใช้อักษรอะไรเป็นอักษรเขียนภาษานั้น ภาษาหนึ่งอาจจะมีหลายอักษร แต่ก็มักมีอักษรหลัก อักษรมาตรฐาน เช่น
ในทางกลับกัน อักษรชนิดเดียวกัน ก็มีใช้ในหลายภาษา เช่น อักษรโรมัน มีใช้เป็นร้อยภาษา หรือ อักษรเทวนาครี ก็ใช้เขียน ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล
ดังนั้น จะตั้งภาคภาษาอะไร ก็พิจารณาจากภาษานั้นๆ ว่าใช้อักษรอะไรเป็นมาตรฐาน ก็ให้ใช้อักษรนั้นๆ และให้ดีก็ควรมีในยูนิโค้ด แต่ไม่จำเป็นต้องมีฟอนต์มาตรฐาน เช่น วิกิพีเดียภาษาพม่า แม้อักษรพม่ามีในยูนิโค้ด แต่ไม่ใช่ universal char ที่จะเข้ามาเป็นมาตรฐาน จะอ่านภาคภาษาพม่า ก็ต้องโหลดเพิ่ม ต่างจากอักษรไทย ที่มีแล้วใน Arial Unicode MS ที่แถมมากับ Microsoft Office
สรุป วิกิพีเดียภาษาล้านนา ต้องใช้อักษรธรรมล้านนา เท่านั้น
--m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 14:38, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)

คุณ thanyakijค่ะ สนง.อนุรักษ์ฯมช.เขาใช้อะไรอ่านคำเมืองได้ค่ะ

ค่ะ เราคงสรุปได้นะค่ะว่า เราลงมติเลือกเลยดีไหมค่ะ--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 17:54, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)

เขามียูนิโค้ดคียบอร์ดคำเมืองให้ดาวน์โหลดรึเปล่าคะ--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 18:33, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)

คีย์บอร์ดคำเมืองไม่มีแน่นอน แต่คีย์บอร์ดตัวเมือง คิดว่าอนาคตจะมีอย่างที่ Octa บอกไว้ เพียงแต่ยังไม่มีแบบอักษร (ไทป์เฟซ) รองรับ อนึ่ง แบบอักษรติโลกราช Tilok.ttf ที่เขาใช้ ไม่ใช่ยูนิโค้ด เป็นเพียงการเปลี่ยนรูปลักษณ์แบบอักษรบน ผังคีย์บอร์ดไทยเกดมณี เหมือนกับที่คุณใช้แบบอักษร Dingbat ต่างๆ ที่พิมพ์ a เป็น รูปบ้าน อะไรทำนองนั้น นอกจากนี้ คุณจำเป็นต้องตีความและทำความเข้าใจด้วยว่า คำเมืองคือภาษา (ภาษาล้านนา หรือ ภาษาไทยถิ่นเหนือ) ตัวเมืองคืออักษร (อักษรธรรมล้านนา) เวลานำมาใช้ต้องใช้ให้ถูก และสุดท้าย ที่สำคัญกรุณารักษามารยาทในหน้าพูดคุยกับผู้ใช้ด้วยนะครับ --m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 21:32, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)

เขาใช้อะไรทำยูนิโค้ดค่ะ
อีกอย่าง เราจะเอาอักษรธรรมล้านนาจากไหนค่ะ--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 18:50, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)


ยูนิโคดเป็นมาตรฐานกลาง ทำเองไม่ได้ แต่ถ้าทำ แบบอักษรยูนิโคด ให้ลองหาจากอินเทอร์เน็ต แล้วสร้างเอา ทุกวันนี้ยังไม่มี แบบอักษรอักษรธรรมล้านนายูนิโคด ถ้าคุณสร้างได้คุณอาจมีชื่อเสียง ในฐานะเป็นคนแรกของประเทศไทยที่สร้างแบบอักษร อักษรธรรมล้านนายูนิโคด อย่างไรก็ตามไม่ใช่งานที่ง่ายนัก ก็จะขอให้กำลังใจก็แล้วกัน .. --m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 11:32, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
ถ้าทำได้ ดิฉันจะไม่เอยนามของตนเองค่ะ ดิฉันไม่อยากมีชื่อเสียง
เดี๋ยวรอพี่สหายมาคลายปมดีกว่าค่ะ--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 17:32, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
ผมขอลงมติเลือกเลย เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา--สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมชาย(มังจูวินเสวียนเต้)พูดคุยกันได้ฝากข้อความไว้ได้ 17:54, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)

เลือกอักษร

นี่ แค่เลือกตั้ง จะไม่เลือกตามใจนะครับผม

อักษรไทย

  1. ตามความเป็นไปได้ ควรใช้อักษรไทยไปก่อน มิฉะนั้นวิกิพีเดียคำเมืองก็จะร้างเพราะไม่รู้จะเขียนยังไง จนกว่าจะมียูนิโคดตัวเมืองแล้วค่อยปรับไปก็ได้ อาจจะปีสองปีหน้า --Octra Dagostino 21:47, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)

อักษรธรรมล้านนา (ตัวเมือง)

  1. เห็นด้วย อย่างยิ่ง--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 19:04, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
  2. เห็นด้วย เห็นด้วยเช่นกัน แม้อักษรธรรมล้านนาจะเหมาะสมที่สุด แต่ไม่มีไทป์เฟซยูนิโคดสำหรับอักษรธรรมล้านนา จึงเสนอใช้ ไทป์เฟซที่วางตัวเมืองบนแป้นผังคีย์บอร์ดไทยเกดมณีไปก่อน จนกว่าจะมียูนิโคดตัวเมือง แล้วค่อยเปลี่ยนเป็น unicode ทั้งนี้ คงต้องสอบถามไป สำนักศิลปวัฒนธรรมฯ เรื่องผังคีย์บอร์ดตัวเมืองบนผังคีย์บอร์ดไทยเกดมณี ว่ามีการวางผังที่ "เป็นมาตรฐาน" หรือยัง มิเช่นนั้น คนหนึ่งใช้ไทป์เฟซติโลกราช อีกคนหนึ่งใช้ไทป์เฟซอื่นๆ แล้วการแสดงผลจะไม่ตรงกัน --m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 22:10, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
  • แล้วเราจะใช้โปรแกรมอะไรอ่านตัวเมืองได้ค่ะ คุณธัญกิจ (สำนักงานอนุรักษ์ฯมช.เขาใช้อะไรเห็นตัวเมืองตะหากค่ะ คือ ก่อนเราลงฟอนต์ ติโลก เนี่ย มันก็ภาษาไทย พอเราลงแล้ว มันก็จะปรากฏให้เห็นน่ะค่ะ)--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 17:49, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
  1. เห็นด้วย --สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมชาย(มังจูวินเสวียนเต้)พูดคุยกันได้ฝากข้อความไว้ได้ 20:41, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)

อักษรโรมัน

ข้อคิดเห็น

เรื่องอักษร

อันนี้ผมทำเพื่อลงมตินะครับ ตกลงนะครับผม เจ้านาย^_^

ปล.สนับสนุนเท่านั้น ลงตัว{{สนับสนุน}}นะครับ

--สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมชาย(มังจูวินเสวียนเต้)พูดคุยกันได้ฝากข้อความไว้ได้ 17:54, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)

เป็นกลาง ดิฉันไม่รู้ อย่างเลือกอะไรดีน่ะค่ะ เลือก คำเมือง ค่ะ--กำเมือง ถ้าบ่อู้ ไผจะอู้ 17:57, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)

แสดงว่าคนที่ตั้ง poll นี้ไม่เข้าใจที่พวกผมอธิบายเลย.... ว่า
  1. พินอิน เป็นชื่อระบบ Romanize ของภาษาจีน และพินอินคือ อักษรโรมัน
  2. มีคนยังไม่เข้าใจอีกคนที่ "เลือก คำเมือง ค่ะ" แต่ก็เข้าใจว่า คงหมายถึง "ตัวเมือง" เพียงแต่ก็ความไม่เข้าใจ เลยเขียนผิดไป
สรุปแล้ว ไม่เข้าใจทั้งคนตั้งโพลล์ ทั้งคนโหวตดังกล่าว...
ขอเน้นให้อีกที... โลกนี้ ไม่มี และไม่เคยมี อักษรคำเมือง มีแต่ อักษรธรรมล้านนา (ที่เรียกภาษาถิ่นว่า ตัวเมือง)--m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 21:36, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
สงสัยไม่ใช่คนไทย เลยไม่เข้าใจภาษาไทย อธิบายไว้ตั้งมากมาย ไม่อ่านเลยสักนิดเดียว :) --Octra Dagostino 21:44, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
ก็คิดอย่างนั้น... --m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 21:46, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
ขอแสดงความคิดเห็นหน่อยนะครับ แอบอ่านประเด็นนี้มาหลายวันแล้วแต่ไม่ได้ออกความเห็นอะไรเพราะ (พูดตรงๆ ว่า) ไม่เห็นความจำเป็นและความสำคัญของการสร้างวิกิพีเดียภาษาใหม่ หากคุณผู้ใช้อยากอนุรักษ์ภาษาถิ่นก็น่าจะไปในแนวทางอื่นมากกว่าการสร้างสารานุกรมภาษาใหม่ ผมคิดว่าวิกิพีเดียภาษาถิ่นน่าจะไปลำบากครับ ด้วยเหตุผลคือ
  1. คิดว่าขืนสร้างไปก็คงมีผู้เข้าไปแก้ไขน้อยหากไม่เกณฑ์คนมาจากวิกิพีเดียภาษาไทย อย่าลืมว่าวิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่อยู่ได้ด้วยความช่วยเหลือจากชุมชน (ขนาดว่าวิกิพีเดียภาษาลาวซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศลาวแท้ๆ ยังเห็นมีบทความไม่ถึง 500 บทความมาเป็น 2-3 ปีแล้ว เห็นมีแต่บอตแก้ไข) วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่เผยแพร่ความรู้แก่ผู้อ่าน ไม่ใช่สถานที่เผยแพร่แนวคิดการอนุรักษ์วัฒนธรรม ผมเองคิดว่านักศึกษามหาวิทยาลัยทางเหนือก็คงไม่อยากอ่านสารานุกรมที่เขียนเป็นตัวเมืองเพื่อหาความรู้เรื่องต่างๆ หรอกครับ
  2. ปัญหาด้านเทคนิคอักษรอีกมากมายที่คุณผู้ใช้ท่านอื่นได้เขียนไปเสียยาวเหยียดด้านบน ปัจจุบันเราไม่มีอักษรตัวเมือง หากคุณอยากใช้ตัวเมืองเขียนสงสัยว่าต้องใช้ไฟล์ภาพอักษรมานั่งเรียงทีละตัวละมังครับ
  3. ประเด็นสุดท้ายผมคิดว่าคุณผู้สร้างและคุณผู้สนับสนุนบางคนนั้นยังขาดความเข้าใจด้านเทคนิคอย่างมาก ที่เขียนแสดงความเห็นมาด้านบนก็ไม่ได้มีความเข้าใจความแตกต่างของระบบอักษร ชื่อภาษา ผังแป้นคีย์บอร์ด แม้กระทั่งรหัสยูนิโค้ด ผมว่าถ้าคุณอยากสร้างจริงๆ ลองไปศึกษาเพิ่มมาก่อนดีมั้ยครับ หรือลองสอบถามจากสถาบันที่ศึกษาหรืออนุรักษ์อักษรธรรมล้านนาอยู่ในตอนนี้ถึงเทคนิคต่างๆ ผมไม่อยากให้คนที่ไม่รู้เรื่องอะไรสร้างวิกิพีเดียภาษาใหม่ขึ้นมา แล้วเที่ยวอ้างโน่นนี่ว่าตัวเองเป็น "ผู้ดูแลคนใหม่ของวิกิพีเดียอักษรคำเมือง"
ปล. ด้วยความเคารพ ผมไม่ได้รังเกียจวัฒนธรรมของถิ่นไหนๆ ผมชี่นชอบวัฒนธรรมตามที่ต่างๆ เสียด้วยซ้ำ และหากมีโอกาสยังอยากเรียนอ่านอักษรธรรมและเรียนอู้กำเมืองเลยครับ แต่ผมไม่เห็นความเกี่ยวข้องของวัฒนธรรมกับการเปิดวิกิพีเดียภาษาใหม่โดยขาดการรองรับทางเทคนิค ความช่วยเหลือ และความเข้าใจ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 01:26, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)


  • เห็นด้วยกับคุณหมอทั้ง 3 ประเด็น โดยเฉพาะข้อ 1 แนวทางการอนุรักษ์คำเมือง และตัวเมือง ไว้ ไม่ให้สูญหาย มีหลากหลายวิธี และข้อ 3 ในเรื่องเทคนิค คุณยังมีพื้นฐานน้อยมากเกินที่จะเป็น "ผู้ดูแล" แต่กระนั้นก็ไม่ได้ต่อต้านหากคิดจะเปิดภาษาใหม่ เพราะหากคุณสมบัติไม่พร้อม ก็ยังต้องคงถูก "ดอง" อยู่เหมือนอีกหลายร้อยภาษาอยู่แล้ว
  • หากอยากอนุรักษ์คำเมือง ควบคู่กับพัฒนาวิกิพีเดีย อาจลองทดสอบ สร้าง "สถานีย่อย:ล้านนา" หรืออะไรที่เกี่ยวข้องกันดู น่าจะเป็นแนวทางได้
  • --m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 06:47, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
    • เราคงรู้กันดี คนลาวไม่ค่อยสนใจของจากภายนอก ทำให้เดี๋ยวนี้ มีแต่ผู้ใช้ชาวต่างชาติ(รวมถึงadminด้วย)เท่านั้น
    • บวกกับประเทศคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดเรื่องเน็ต ทำให้แทบไม่มีร้านคอมพิวเตอร์ขายค่ะ
    • (ที่ประเทศจีน มีเสรีในการเล่นเน็ต แต่ต้องมีขอบเขต)เราก็รู้ดีนี่ค่ะ ไม่แปลกที่ถูก"ดอง"เหมือนกัน
พี่หมอให้ประเด็นไว้น่าสนใจ (จริง ๆ ผมเองก็ไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับการตั้งวิกิพีเดียคำเมืองเท่าไรนัก ไม่ใช่เรื่องข้อจำกัดเรื่องตัวเมือง แต่เป็นเรื่องผู้เขียนวิกิพีเดียคำเมือง และอีกอย่าง ผมคิดว่ากรณีที่คุณจะอนุรักษ์ตัวเมืองจริง ผมเห็นว่าเหตุผลนี้น้ำหนักน้อยเกินไปกับการตั้งวิกิใหม่ หากต้องการตั้งจริง ๆ ลองตั้งเป็นส่วนหนึ่งของสถานีย่อยก่อนจะดีกว่า แล้วค่อยไปลองของจริงถ้ามีมาตรฐานแล้ว (พี่ธัญกิจบอกไว้แล้ว) --Chris Vineyard 17:46, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
  • อาจเป็นการพูดซ้ำกับบางท่าน แต่ก็ขอแสดงความเห็นบางครับ
  • เรื่องการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นนี่เป็นเรื่องที่ผมเห็นด้วยอยู่แล้ว แต่ผมคิดว่าถ้าคิดจะทำวิกิพีเดียคำเมืองเห็นจะต้องรอจนกว่าจะมีคนทำยูนิโค้ดให้อักษรธรรมล้านนาให้เรียบร้อยก่อนดีกว่า ขนาดระบบ TIS-620 ยังไม่มีคนทำให้ supportเลย แล้วขั้นตอนในการทำก็ไม่ใช่ของง่ายนะครับ ขนาดอักษรไทยที่เราใช้อยู่ตอนนี้กว่าจะมีระบบมาตรฐานใช้บทเน็ตได้ทั่วไปก็ใช้เวลาหลายปีในการพัฒนานะครับ
  • ตัวเมืองที่ มช. เขาพัฒนาไว้เป็นการเอา typeface (รูปตัวอักษร) มาใส่แทนตัวอักษรไทยในคีย์บอร์ดพิมพ์ภาษาไทยเท่านั้น ถ้าใช้ในเน็ตนี่คงอ่านไม่รู้เรื่องหรอกครับ เพราะเครื่องจะแสดงผลออกมาเป็นรูปอักษรไทย-อังกฤษ ตามแป้นคีย์ที่เราใช้ เว้นเสียแต่ว่าคุณจะต้องลงฟอนท์ตัวเมืองในเครื่องเท่านั้น และต้องเซ็ทค่าของฟอนท์ใน IE, Firefox ให้แสดงผลเป็นฟอนท์ดังกล่าวถึงจะอ่านได้ แต่การทำเช่นนี้ก็จะทำให้หน้าเว็บอื่นที่ใช้ภาษาไทยซึ่งคุณดูอยู่ในเวลาเดียวกันแสดงผลเป็นตัวเมืองด้วย ซึ่งจะอ่านยากมาก ที่สำคัญอีกอย่างคือ ถ้าทำแล้วจะมีคนรู้จักมากน้อยเพียงใดแม้แต่ในแถบล้านนาก็ตาม? มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่พิมพ์ตัวเมืองเป็นแค่ไหน มีคนอ่านตัวเมืองได้มากน้อยแค่ไหน (เรื่องนี้ต้องคิดถึงการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักด้วย)
  • วิธีการอนุรักษ์ที่ผมเสนอนั้น นอกจากเรื่องการตั้งสถานีย่อยอย่างที่ท่านอื่นเสนอแล้ว ผมยังเห็นว่าถ้าคุณอยู่ในท้องถิ่นล้านนาแล้ว คุณก็น่าจะหาทางรณรงค์ระดับท้องถิ่นเพื่อให้คนรู้จักคำเมืองและตัวเมืองด้วย เช่น สอนการพูดคำเมือง สอนการเขียนตัวเมือง จัดพิมพ์หนังสือตัวเมืองให้แพร่หลายและส่งเสริมให้คนอ่าน ซึ่งแต่ละอย่างที่กล่าวมานั้น ขอบอกตามตรงเลยว่า ไม่ใช่ของง่ายเลยแม้แต่น้อย ในการจะเปลี่ยนทัศนคติคนให้นิยมคำเมือง-ตัวเมือง และผู้ที่ทุ่มเทให้งานด้านนี้ต้องมีความพยายามและอดทนสูงมากด้วย แน่นอนว่าเรื่องนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่ดำเนินการเรื่องอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยเช่นกัน ถ้าไม่ทำระดับท้องถิ่นควบคู่ไปด้วย ผลที่ได้ก็ไม่ยั่งยืนหรอกครับ
  • สำหรับการขยายผลเรื่องคำเมือง-ตัวเมืองในอินเทอร์เน็ตนั้น จากข้อจำกัดของระบบการถอดอักขระบนคอมพิวเตอร์ที่ยังไม่รองรับรูปแบบอักษรตัวเมือง (ซึ่งไม่ใช่ใช้แค่กับวิกิพีเดียที่เดียว แต่จะต้องใช้โดยทั่วไปเป็นสากลด้วย) ผมคิดว่าการทำเป็นเว็บไซต์เพื่อการอนุรักษ์คำเมือง-ตัวเมืองโดยเฉพาะ และทำการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักในวงกว้างน่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้มากกว่าในเวลานี้
  • ยังมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้และควรจะเร่งทำในการอนุรักษ์คำเมือง-ตัวเมืองครับ--สุทธิพงษ์ พื้นแสน 18:17, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
คุณครับ ชาววิกิพีเดียไม่ได้ห้ามปรามคุณในการอนุรักษ์ภาษาของคุณหรอกนะครับ แต่ว่าเพราะชาววิกิพีเดียอยู่ที่นี่มานานแล้วไงครับ เลยรู้ว่าอะไรที่เป็นปัญหามานานแล้ว และเตือนคุณด้วยความหวังดีว่า มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คุณคิด --Horus 18:22, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
โปรแกรมtypeface เนี่ย ดาวน์โหลดได้ที่ไหนค่ะ--ผู้ใช้:kammuang.อู้กันได้ 18:51, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
คือ... ดูเหมือนคุณคำเมือง (ท่าทางท่านสหายก็ด้วย) จะไม่เข้าใจอะไรที่เป็นพื้นฐานสำหรับ admin เว็บเว็บหนึ่งเลย (โดยเฉพาะวิกิพีเดีย) เพราะ ไทป์เฟซ ไม่ใช่โปรแกรม (คลิกไปอ่านเอา)
ส่วนจากหน้าพูดคุยผมซึ่งขอยกมาตอบ

...เราจะใช้โปรแกรมอะไรอ่านตัวเมืองได้ค่ะ คุณธัญกิจ (สำนักงานอนุรักษ์ฯมช.เขาใช้อะไรเห็นตัวเมืองตะหากค่ะ คือ ก่อนเราลงฟอนต์ ติโลก เนี่ย มันก็ภาษาไทย พอเราลงแล้ว มันก็จะปรากฏให้เห็นน่ะค่ะ)...

— kammuang
เนื่องจากตัวเมืองที่คุณเห็น เป็นไทป์เฟซชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ติโลกราช (Tilok.ttf) ซึ่งจากการที่ผมลองดูแล้ว พบว่า เป็นการเปลี่ยนรูป อักษรไทยและโรมันบนผังอักษรไทยเกดมณี นั่นแปลว่า ในทางทฤษฎี เราสามารถใช้แบบอักษรนี้แสดงผลตัวเมืองบนเวบได้เมื่อผู้ใช้ติดตั้ง Tilok.ttf เท่านั้น ทำนองเดียวกับ วิกิพีเดียภาษาพม่า ที่ต้องลงแบบอักษรของเขาก่อน แต่ข้อปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ เพราะแบบอักษรติโลกราช ไม่ใช่ Unicode การวางผังอักษรธรรมฯ หรือตัวเมืองนั้น บางส่วนวางทับลงบนแป้นอักษรโรมัน ซึ่งหมายความว่า มันจะใช้การภาษาอังกฤษ ที่จะใช้ในส่วนพาเซอร์ฟังชั่น และ สไตล์ชีท ไม่ได้ ..... ก็หวังว่าที่พูดมายาวนี้จะเข้าใจ
--m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 20:16, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
อืม....เห็นด้วยกับหลายๆท่านนะครับ ว่าไม่ควรจะเร่งกระทำจนเกินไป รอจนกว่าจะมีความพร้อมจะดีกว่าไหม ? อย่างไรก็ตามก็เห็นด้วยที่มีความปรารถนาดีในการสืบสานเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นของไทย

แต่.....ใจเย็นๆ นะครับ อย่ารีบอย่าร้อน --Azoma

งั้นลองแบบนี้ ดูหน้านี้ที่ผมร่างไว้ทำแม่แบบ ผู้ใช้:Octahedron80/กระบะทราย3 ตารางล่างเป็นช่วงอักษรธรรมที่ได้รับการเสนอในยูนิโคดรุ่น 5.2 ถึงแม้คุณจะมีฟอนต์ติโลกราชก็ตาม แต่คุณก็ยังมองไม่เห็นตัวอักษรตัวใดเลย เพราะฟอนต์ติโลกราชไม่ได้รองรับยูนิโคด (และก็ยังไม่มีฟอนต์ใดที่รองรับ) ในทางกลับกันถ้าคุณไปดูในตารางบนซึ่งเป็นของอักษรไทย คุณจะเห็นเป็นอักษรธรรมของฟอนต์ติโลกราชแทน (ลองเปลี่ยนฟอนต์ที่ใช้กับภาษาไทยดู) นั่นหมายความว่า หากคุณใช้ฟอนต์ติโลกราชเขียนอักษรธรรม คุณก็จะไม่สามารถใช้อักษรไทยได้ และกับอักษรโรมันบางตัวด้วย เพราะช่องมันทับกัน --Octra Dagostino 21:11, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)

ปล.ตารางพวกนี้ผมใช้โปรแกรมที่เขียนเองช่วยสร้างมันขึ้นมา ไม่มานั่งพิมพ์เองหรอกครับ--Octra Dagostino 21:13, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)

ตอบทุกท่าน:เรารู้นะ ปกติถ้าไม่ใส่ไทป์เฟซ มันเป็นสี่เหลี่ยม แต่ถ้าไม่ใช้ฟอนต์ติโลก เราจะเห็นเป็นอักษรไทย นะค่ะ

ปล.ท่านออกตาเอาโปรแกรมอะไรเขียนค่ะ--ผู้ใช้:kammuang.อู้กันได้ 07:41, 20 มิถุนายน 2552 (ICT)

หน้าโปรแกรมยูนิโค้ด เอามาให้ดูเล่นนะครับ แล้วว่าแต่ คืบหน้ายังครับ--สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมชาย(มังจูวินเสวียนเต้)พูดคุยกันได้ฝากข้อความไว้ได้ 20:22, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)

เรื่องสำเนียง

พูดเรื่องอักษรกันมามากแล้ว แล้วเรื่องสำเนียงล่ะ จะใช้สำเนียงไหนในการเขียน อย่างไทยกลางว่า "เลขหนึ่ง", เมืองเชียงใหม่ว่า "เลขนึ่ง", เมืองเชียงรายว่า "เลขหนึ่ง"; ไทยกลางว่า "ข้าวเหนียว", เมืองเชียงใหม่ว่า "เข้านึ้ง", เมืองเชียงรายว่า "เข้านึ่ง" เป็นต้น

เรื่องเสียงวรรณยุกต์ในสำเนียงของแต่ละถิ่น ทำให้ความหมายของคำนั้น ๆ ในแต่ละถิ่นมีความหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนะ แล้วจะใช้สำเนียงถิ่นไหนเขียนล่ะ

—— เปิดศาล จิ๊จ๊ะ | ๒๕๕๒ ศก มิถุนายนมาส วิงศติมสุรทิน, ๑๘:๔๙ นาฬิกา (GMT+7)


แล้วภาษาไทย คุณใช้สำเนียงกรุงเทพ สำเนียงเหน่อสุพรรณบุรี สำเนียงอยุธยา สำเนียงจันทบุรี สำเนียงเพชรบุรี หรือ สำเนียงประจวบคีรีขันธ์ ในการเขียน ล่ะครับ --m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 16:40, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)

เป็นผม ผมใช้ เชียงใหม่ ครับ--สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมชาย(มังจูวินเสวียนเต้)พูดคุยกันได้ฝากข้อความไว้ได้ 20:20, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)