วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ภาพถ่ายเหรียญไทย
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
ตอนนี้ผมสงสัยว่า ภาพที่ถ่ายหรือสแกนจากเหรียญไทย ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์โดยกรมธนารักษ์หรือไม่ ตามที่ประกาศไว้ที่ {{ภาพเหรียญไทย}} ตัวอย่างเช่น
ข้างบนนี้มีหลายภาพที่ผมเปลี่ยนจากป้ายชอบธรรม เฉย ๆ ไปใช้ป้ายภาพเหรียญไทยแทน และข้างบนนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังเหลืออีกหลายภาพที่ยังไม่ได้ปรับปรุง
แต่ผมเห็นหลายเหรียญที่ไปปรากฏในคอมมอนส์โดยยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือ CC commons:Category:Coins of Thailand จึงไม่แน่ใจว่าลิขสิทธิ์เป็นของใคร ของผู้ถ่ายหรือของผู้สร้าง ถ้าเป็นของผู้สร้าง (กรมธนารักษ์) เราต้องแจ้งลบภาพในคอมมอนส์ออกเกือบหมด (เหลือแต่สตางค์แดงของผมที่เก่าเกิน 50 ปีสามารถอยู่ได้) ถ้าเป็นของผู้ถ่าย เราก็ควรกำหนดภาพเหรียญในวิกิพีเดียเป็นสาธารณะทั้งหมด แล้วพิจารณาอัปโหลดไปที่คอมมอนส์ ขอพ่วงไปเรื่องภาพถ่ายหรือสแกนจากธนบัตรไทยด้วยครับ--octahedron80 21:23, 11 ตุลาคม 2552 (ICT)
- เรื่องนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับ Commons:Freedom of Panorama นะครับ แต่ในที่นี้ต้องตีความว่าเหรียญเข้าข่ายข้อยกเว้นการละเมิดใน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หรือเปล่าด้วย --Chris Vineyard 22:06, 11 ตุลาคม 2552 (ICT)
งั้นแสดงว่าเราควรจะกำหนดภาพเหรียญไทยเป็นสาธารณสมบัติ แล้วสามารถอัปโหลดขึ้นคอมมอนส์ได้ไหมครับ --octahedron80 22:12, 11 ตุลาคม 2552 (ICT)
- อันนี้ไม่ชัวร์ฮะ แต่ถ้าตีความตามมาตรา 32 "การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์ เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์" (เหรียญมันมีผลประโยชน์ให้แสวงหาหรือเปล่า) ก็น่าจะได้ รอผู้เชี่ยวชาญกว่านี้มาชี้แล้วกันครับ --Chris Vineyard 22:23, 11 ตุลาคม 2552 (ICT)
ในฐานะที่เป็นคนสร้างแม่แบบดังกล่าว - เดิมเห็นว่า วิกิพีเดียมีนโยบายให้ภาพศิลปะสองมิติ เป็นลิขสิทธิ์ขอผู้สร้างสรรค์ต้นฉบับ แล้ว การถ่ายภาพ/สแกนภาพ ที่ปรากฏบนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึก รวมถึงธนบัตรหมุนเวียน และธนบัตรที่ระลึก และเลยไปถึงตราไปรษณียากร ผมมองว่าเป็นการสำเนาศิลปะสองมิติ เพราะไม่ว่าจะสแกนท่าไหน มันก็ออกมาเหมือนเดิม จึงให้เป็นการชอบธรรมไปก่อน แต่ถ้ามีมุมมองอื่นอีก ก็สุดแท้แต่สมาชิกครับ --m̈assgo AquaCS4™ •ไฟล์:WikiBotany tap.png 11:24, 12 ตุลาคม 2552 (ICT)
Commons:Freedom of Panorama คงไม่ใช่เพราะเขาพูดถึงของสามมิติ ส่วนข้อยกเว้นการละเมิดใน พรบ. ของไทย หมายถึง การใช้งานโดยชอบธรรมครับ
จึงต้องมาดูว่าต่อไปว่าผู้ออกเหรียญกษาปณ์ คือ สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ผู้ออกธนบัตร คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ผู้ออกดวงตราไปรษณียากร คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เขาว่าอย่างไรกัน ตอนนี้หาเจอแต่ธนบัตรครับ ส่วนอีกสองอย่างไม่ทราบเหมือนกัน จะลองสอบถามไปโดยตรงที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไหมครับ --taweethaも 20:33, 12 ตุลาคม 2552 (ICT)
ธนบัตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะหน่วยงานที่จัดทำ จัดการ และนำธนบัตรของรัฐบาลออกใช้ในระบบเศรษฐกิจ มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงตั้งแต่การออกแบบและจัดพิมพ์จนเป็นธนบัตรที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรจึงถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และได้รับความคุ้มครองสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พุทธศักราช ๒๕๓๗
ผู้ประสงค์นำภาพธนบัตรไปใช้เพื่อเผยแพร่ในทุกรูปแบบ ต้องทำหนังสือขออนุญาต พร้อมส่งตัวอย่างรูปแบบชิ้นงานให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาความเหมาะสม ก่อนนำออกเผยแพร่หรือแจกจ่าย
โดยส่งถึง
ผู้อำนวยการ ฝ่ายวางแผนและสนับสนุนการบริหาร สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย ๑๘ หมู่ ๒ ถนนบรมราชชนนี ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๒๐
หลักเกณฑ์ในการนำภาพธนบัตรไปใช้ในสื่อโฆษณา
๑. เป็นภาพธนบัตรเพียงบางส่วน ไม่เต็มฉบับ หรือ
๒. เป็นภาพธนบัตรในมุมอื่นที่ไม่ใช่ภาพธนบัตรหน้าตรง และ
๓. เป็นภาพธนบัตรขาวดำ
๔. หากเป็นภาพธนบัตรหน้าตรงหรือรูปสีต้องมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าธนบัตรรัฐบาลอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมของการวางตำแหน่งภาพมิให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐-๒๓๕๖-๘๖๘๙ ถึง ๙๐
— [1]
ภาพธนบัตรที่มีในคอมมอนส์เช่นนี้ ผิดไหมครับ ถ้าต้องแจ้งลบจะให้เหตุผลว่าอะไร
- commons:File:Thai_money.jpg
- commons:File:Thai 1000 Baht Front.jpg (อันนี้แจ้งลบไปแล้ว เพราะดูแล้วน่าจะผิด)
- commons:Category:Banknotes of Thailand
--octahedron80 22:41, 12 ตุลาคม 2552 (ICT)
ถ้ายึดตามหลักการแบบกฎหมายไทยและหลักการที่เจ้าของกล่าวอ้างก็แจ้งลบละเมิดลิขสิทธิ์
อย่างไรก็ตาม หลักสามัญสำนึกคือมันเป็นของสาธารณะควรจะอยู่ในคอมมอนส์ได้ ดูอย่างเหรียญยูโรที่ลิขสิทธิ์เป็นของธนาคารกลาง แต่ธนาคารกลางก็กรุณาอนุญาตให้ใช้ภาพเป็นการสาธารณะและอยู่ในคอมมอนส์ได้ หรือ ของอื่นๆ ที่รัฐบาลประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือให้ทุนสนับสนุนเป็นต้น ของเหล่านี้เขาบังคับให้หน่วยงานที่สร้างสรรค์เปิดโอกาสให้สาธารณชนเข้าถึงได้
ตามความเห็นผม สองรูปนั้นเข้าข่ายผิด ส่วนรูปต้นกฐินไม่ผิด แต่ผมขอละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่แจ้งลบ เพราะมันขัดกับหลักการพื้นฐานส่วนตัว สักวันหนึ่งรัฐไทยคงอนุญาตให้งานของรัฐบาลสามารถนำไปใช้กันได้อย่างเสรีมากกว่านี้ เพราะงานทุกชิ้นก็สร้างมาจากเงินภาษีของประชาชน --taweethaも 11:08, 13 ตุลาคม 2552 (ICT)
- คือถ้าพิจารณาด้วยนิสัยของชาวไทย การเปิดเผยธนบัตรเช่นนี้อาจทำให้เกิดการปลอมแปลงได้ครับ เดี๋ยวนี้มันมีมาเฟียมืออาชีพทั้งนั้น การอนุญาตภาพถ่ายหรือสแกนที่เห็นลายบนธนบัตรอย่างชัดเจนโดยเสรี คงยาก --octahedron80 13:32, 14 ตุลาคม 2552 (ICT)