ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/สังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์/เมษายน 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ผู้ที่พระราชทานนามใหม่ว่า พระปฐมเจีย์ คือใคร

ผู้ที่พระราชทานว่นามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์ คือใคร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รายละเอียดอื่นๆดูที่บทความพระปฐมเจดีย์) --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 13:27, 1 เมษายน 2554 (ICT)

Abraham van Helsing

อยากทราบว่า อับราฮัม แวน เฮลซิง เป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงทางประวัติศาสตร์หรือเปล่าครับ--124.121.20.163 00:06, 9 เมษายน 2554 (ICT)

  • ถ้าเป็นen:Abraham Van Helsingที่มาจากเรื่องแดร็กคิวล่าล่ะก็ ไม่มีครับ แต่ถ้าคิดจะเอาไปใช้ในงานตัวเองล่ะก็ไม่มีปัญหาจ้า เพราะตัวละครตัวนี้เป็นตัวละครสาธารณะ ไม่มีลิขสิทธิ์แล้ว In Heaven, everything is fine. 09:09, 9 เมษายน 2554 (ICT)

จังหวัดสกลนครมีนายกรัฐมนตรีมากี่คนจนถึงปัจจุบัน

อยากถามว่าจังวันสกลนครนั้นมีเจ้าเมืองที่ครองเมืองตั้งแต่อดีตมานั้นมีกี่คนชื่อรายบ้าง--125.26.234.229 16:16, 9 เมษายน 2554 (ICT)

ถ้าหากหมายถึง รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ตั้งแต่ พ.ศ. 24XX จนถึงปัจจุบัน ก็มีในกูเกิล และมีในเว็บไซต์ของจังหวัดสกลนคร --223.206.85.66 20:37, 14 เมษายน 2554 (ICT)

ศาสตราจารย์

ประเทศไทยมี ศาสตราจารย์ ทั้งหมดกี่คน--Kit461 04:16, 17 เมษายน 2554 (ICT)

ไม่น่าจะมีใครนับไว้ครับ เพราะเป็นอำนาจของแต่ละมหาวิทยาลัยจะตั้งใครเป็นศาสตราจารย์ --Aristitleism 21:03, 23 เมษายน 2554 (ICT)
ศาสตราจารย์ในประเทศไทยต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ เรื่องที่ผ่านการโปรดเกล้าฯ เช่นนี้ย่อมมีการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบได้จากเอกสารราชการ -- อนึ่ง ท่านต้องการทราบจำนวนศาสตราจารย์ที่เคยมีมาทั้งหมด หรือที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ถ้าจะตรวจสอบว่ายังมีชีวิตอยู่หรื่อไม่ก็ต้องไปตรวจสอบกับทะเบียนราษฎร์อีกที --taweethaも 11:19, 26 เมษายน 2554 (ICT)
ตำแหน่งทางวิชาการนี่ อาจารย์แต่ละท่านจะต้องทำผลงานเพื่อยื่นเสนอขอตำแหน่งจากส่วนที่ดูแล ซึ่งเป็นส่วนกลางของแต่ละประเทศครับ ไม่ใช่ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยจะตั้งใครขึ้นมาก็ได้ครับ อนึ่ง ตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือศาสตราจารย์พิเศษนั้น ในแต่ละสาขาวิชาจะมีการกำหนดไว้ตายตัวว่ามีจำนวนเท่าไร การที่รองศาสตราจารย์สักคนจะก้าวขึ้นมาเป็นศาสตราจารย์ได้นั้น จะต้องรอให้ศาสตราจารย์คนเดิมพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ก่อนครับ (เท่าที่รู้มานะ) --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 02:16, 7 พฤษภาคม 2554 (ICT)
การแต่งตั้งศาสตราจารย์ เป็นตำแหน่งทางวิชาการ และเป็นตำแหน่งทางราชการของอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วย (ศาสตราจารย์ ระดับ 10, ศาสตราจารย์ ระดับ 11) ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการระดับ 10 ขึ้นไป ต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เช่น ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (จำนวน ๑๙ ราย) ซึ่งข้อมูลจำนวนศาสตราจารย์ทั้งหมด (อดีต และปัจจุบัน) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลจะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล เนื่องจากทุกมหาวิทยาลัยจะต้องรายงานจำนวนอาจารย์ประจำ ให้ สกอ. ทราบทุกปีอยู่แล้ว เพื่อประกอบการประเมินมาตรฐานการศึกษา ถ้าอยากทราบข้อมูลจริงๆ ต้องประสานขอข้อมูลที่ สกอ. ครับ (ผมจะลองประสานอีกทาง) --Pongsak ksm 15:39, 9 สิงหาคม 2554 (ICT)
ขออภัยนะคะ ข้อมูลที่ว่า "การที่รองศาสตราจารย์สักคนจะก้าวขึ้นมาเป็นศาสตราจารย์ได้นั้น จะต้องรอให้ศาสตราจารย์คนเดิมพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ก่อน" เป็นข้อมูลที่ผิด จริงๆแล้ว ใครจะขอตำแหน่งศาสตรจารย์ก็ได้ แต่ต้องดำรงตำแหน่งรองศาสตรจารย์มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี และมีผลงานวิชาการครบตามเกณฑ์ของศาสตราจารย์ซึ่งอยู่ในระดับที่มีคุณภาพสูงกว่ารองศาสตราจารย์ ผู้ประเมินในการเลื่อนรองศาสตราจารย์ให้เป็นศาสตราจารย์จะเป็นศาสตราจารย์ระดับ 11 ต่างจากการประเมินผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นเป็นรองศาสตราจารย์ จะต้องเป็นศาสตราจารย์ระดับ 10 (ข้อมูลเก่าเมื่อยังมีระบบซีอยู่)ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของ กพอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการร่วมกับสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง และรู้สึกว่ากพอ.จะทำฐานข้อมูลผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในประเทศไทย แต่ไม่ทราบว่าเผยแพร่ทางเว็บหรือยัง ยังไม่เคยเปิดดูค่ะ--PAHs 17:11, 7 กันยายน 2554 (ICT)

กรุงเทพ

ทำไมชื่อเมืองหลวงของไทยถึงยาวกว่าประเทศอื่น--Kit461 04:16, 17 เมษายน 2554 (ICT)

เพราะต้องการเด่นกระมังครับ แต่ถึงกระนั้นชื่อเมืองบางเมืองในประเทศอื่นก็ยาวมากเช่นกัน อาทิ ตาอูมาตาวากาตังกีฮังกาโกอาอูอาอูโอตามาทีอาโปกาอีเวนูอากีตานาตาฮู --octahedron80 12:32, 20 เมษายน 2554 (ICT)
ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องของธรรมเนียม ค่านิยมมากกว่านะครับ อย่าลืมว่าแต่เดิมนั้น สมัยยุคกรุงศรี ชื่อเต็มของอยุธยาสมัยนั้นก็ยาวเหมือนกันนะครับ --58.147.10.121 20:26, 23 เมษายน 2554 (ICT)

มันเป็นธรรมเนียมจริงครับ แต่ไม่ใช่เฉพาะของไทย แต่เป็นของแถบ ๆ นี้อยู่แล้วที่ดูเหมือนจะรับมาจากอินเดียอีกที เหมือนเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่, นครโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน, กรุงเทพทวารวาดีศรีอโยธยา, กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ฯลฯ โดยเฉพาะชื่อ "กรุงเทพ" (รวมถึง "ทวารวดี" และ "อโยธยา" ที่ปรากฏในสร้อย รวมถึงสร้อยชื่อกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯ) ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย โดยชื่อ "กรุงเทพ" ก็ดี, "ทวารวดี" ก็ดี และ "อโยธยา" ก็ดี เป็นชื่อเมืองของพระรามและพระกฤษณะซึ่งเป็นนารายณ์อวตาร เป็นไปตามความเชื่อที่รับเข้ามาว่ากษัตริย์คือนารายณ์อวตาร ชื่อ "กรุงเทพ" นั้นใช้กันมาตั้งแต่อยุธยา พอธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ก็เอามาใช้อีก คำคำนี้ รวมถึงสร้อยที่ต่อมาอีกหน่อยด้วยกันนั้น ความจริงมีความหมายในทางพฤตินัยแค่ว่า "เมือง" ชื่อ "กรุงเทพมหานคร" จริง ๆ จึงไม่ใช่ชื่อเมืองหลวงปัจจุบัน แต่เป็น "อมรรัตนโกสินทร์" (เหมือนที่ปรากฏในประกาศเก่า ๆ ว่า เรียกเมืองหลวงว่า "กรุงรัตนโกสินทร์") --Aristitleism 20:37, 23 เมษายน 2554 (ICT)

ถ้าเป็นมุมมองทางสังคมวิทยา การตั้งชื่อให้กับบุคคล สถานที่ หรือสิ่งของใดๆ อาจมีความหมายทางสถานะทางสังคม เช่นบ่งบอกถึงขนาด ความหรูหรา หรือฐานันดร หรือไม่ก็อาจจะสื่อถึงความตั้งใจอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแสดงออกมาจากความหมายของชื่อนั้น หากเป็นมุมมองทางจิตวิทยา ก็อาจจะเป็นความต้องการส่วนตัวของผู้ตั้งชื่อ หรือผู้ที่อนุมัติในการตั้งชื่อนั้น ถ้าเป็นมุมมองทางรัฐศาสตร์ บางทีอาจตั้งชื่อเพื่อการมีความสัมพันธ์อันดีกับเมืองอื่นๆ คำตอบใดที่น่าจะเป็นเหตุผลจริงๆ ก็อาจจะต้องพึ่งพานักประวัติศาสตร์ในการค้นหาข้อมูลที่จำเป็น...
อาจไม่ได้ตั้งใจให้ใช้เป็นชื่อที่ใช้งานจริง ก็เพียงแต่งกลอนมาบทหนึ่งที่ขึ้นด้วยชื่อเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระนครใหม่เท่านั้น กระนั้นก็ดี อัตลักษณ์ของรัตนโกสินทร์ก็มิได้เกิดเพียงชั่งข้ามคืน ถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3-4 ไปแล้ว จึงเกิดอัตลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมอย่างปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้ง่ายขึ้น ขอให้ไปดูว่า (1)​ ในช่วง ร.1-ร.3 สยามประเทศ เรียกตัวเองว่าอะไร (2) ร.1-ร.2 แท้จริงแล้วมีพระนามอย่างที่เราเรียกกันหรือไม่
อาจลองเทียบความหมายของชื่อกรุงเทพฯ กับตาอูมาตาวากาตังกีฮังกาโกอาอูอาอูโอตามาทีอาโปกาอีเวนูอากีตานาตาฮู ดูก็ได้ คำที่ร้อยเรียงกันมาเป็นชื่อนั้นมิใช่คำนามทั้งหมด แต่มีกริยาประกอบด้วย เป็นการเล่าเรื่องราวหรือพรรณาเกี่ยวกับสถานที่ --taweethaも 11:14, 26 เมษายน 2554 (ICT)

เจ้าจอมปราง

ข้อมูลของเจ้าจอมปรางได้สอบทานกับหลักฐานอื่นเช่น ปี พ.ศ.ที่เกิดเหตุ..บุคคลที่เกี่ยวข้องจากข้อมูลที่หอสมุดแห่งชาติครบถ้วนหรือยัง..ต้องการข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่านี้ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.97.68 (พูดคุย | ตรวจ) 13:37, 22 เมษายน 2011 (ICT)

เขตปกครองระดับตำบลของประเทศไทย

อยากทราบว่า

  1. ตำบลที่ไม่มีกำนัน สารวัตรกำนัน บลาๆๆ ฯลฯ จะยังถือเป็นเขตปกครองส่วนภูมิภาคหรือไม่? ในเมื่อได้ยกเลิกตำแหน่งนักปกครองไปแล้ว
  2. องค์การบริหารส่วนตำบล กับเทศบาล นั้นสังกัดระดับใด ซับเซทอำนาจบริหารมาจากใคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือว่า นายอำเภอ ?
  3. ในการทำแผนที่ และการเขียนบทความ หากจะแบ่งย่อยจากระดับอำเภอ ควรแบ่งในลักษณะใดต่อ แบบส่วนภูมิภาค(ตำบล) หรือแบบส่วนท้องถิ่น(อบต. ทศ.)
  4. Lv.2 กรวยส้ม โซนอยด์ 08:16, 24 เมษายน 2554 (ICT)

ถามดีครับ จะตอบคำถามนี้คิดว่าต้องดูตามกฎหมายเป็นหลัก

  1. อยากให้ยกอ้างอิงมาด้วยว่า ตำบลใดยกเลิกกำนัน และยกเลิกเพราะเหตุใด แต่ในเบื้องต้นผมไม่คิดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานะของเขตการปกครองส่วนภูมิภาค เว้นแต่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นอย่างอื่น
  2. อ้างตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 [1] อำนาจนั้นได้มาตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องได้มาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่วนที่ถามว่าสังกัดใครหรือใครคุมก็มีคณะกรรมการที่คล้ายๆ บอร์ดของหน่วยงานอิสระหรือหน่วยงานเอกชนดังนี้
    • คณะกรรมการองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีผู้ว่าฯ นั่งแท่นเป็นประธาน แลมี technocrat/bureaucrat อีกสามนายเป็นตัวแทนจากส่วนกลาง จากนั้นจึงมีคนจาก อบจ. สี่นาย ปิดท้ายด้วยผู้ทรงคุณวุฒิอีกสี่นาย (เปลี่ยนนายเป็นนาง/นางสาวตามแต่กรณี)
    • คณะกรรมการพนักงานเทศบาล มีผู้ว่าฯ นั่งแท่นเป็นประธาน แลมี technocrat/bureaucrat อีกห้านาย พวกจากเทศบาลหกหน่อ ปิดท้ายด้วยผู้ทรงคุณวุฒิอีกหกท่าน
    • คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล มีผู้ว่าฯ นั่งแท่นเป็นประธาน แลมี นายอำเภออีกแปดนาย ผู้แทน อบต. เก้าหน่อ ปิดท้ายด้วยผู้ทรงคุณวุฒิอีกเก้าท่าน
  3. ควรทำเสียทั้งสองแบบ แต่เน้นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้มากขึ้น เพราะผมเชื่อว่าในอนาคตอำนาจจากส่วนกลางจะถ่ายทอดไปยัง อปท. มากกว่านี้อีก โดยเฉพาะเมื่อกฎหมายภาษีที่ดินและโรงเรือนมีผลบังคับใช้ การทำแผนที่หรือบทความโดยเน้น อปท. เป็นการเน้นที่คนหรือตัวประชากร แต่การทำแผนที่ตามการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นการเน้นที่พื้นที่ เอาดินเป็นตัววัด มิใช่เอาคนเป็นที่ตั้ง และเป็นความคิดแบบเดิมๆ ที่คนจากส่วนกลางใคร่จะขีดเส้นบนกระดาษอย่างไรก็ได้ แต่ อปท. เป็นการสะท้องความเป็นอยู่ในปัจจุบันมากกว่า

--taweethaも 09:37, 24 เมษายน 2554 (ICT)

  1. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 29 ทวิ ว่า ให้มีกำนันในทุก ๆ ตำบลเสมอ และมาตรา 3 วรรค 2 (ซึ่งเพิ่มเข้ามาเมื่อ 2552) ว่า "การยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนันและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จะกระทำมิได้" แล้วมีเหตุผลในการเพิ่มว่า "เพื่อให้คงมีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในทุกตำบล หมู่บ้านต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"
  2. อย่างไรก็ดี ตำบลใดที่มีการจัดตั้งเทศบาลเมืองและเทศบาลนครแล้ว จะไม่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ อีกครับ ส่วนเทศบาลตำบล ถ้าไม่จำเป็นต้องมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ อีก ก็จะมีประกาศให้ยกเลิกไป ตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 4 (ซึ่งแก้ไขเมื่อ 2546)
  3. ผมไม่แน่ใจว่า พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 4 นี้จะขัดกับ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 3 วรรค 2 ข้างต้นหรือไม่ แต่ผมตีความว่า มาตรา 3 วรรค 2 นี้ ทำให้มาตรา 4 เป็นหมันไป ตามหลักที่ว่า ถ้ากฎหมายเก่าขัดกับกฎหมายใหม่ กฎหมายเก่าเป็นอันถูกกฎหมายใหม่ยกเลิกไปโดยปริยาย เรียกว่า "การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย" (implied repeal) ครับ (ทั้งนี้ คงต้องรอให้เกิดปัญหา แล้วไปให้ศาลวินิจฉัยจริง ๆ ต่อไปครับ ผมได้แค่แสดงความคิดเห็น)
  4. องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทยแบ่งการปกครองเป็น ส่วนกลาง คือ กระทรวง ทบวง กรม, ส่วนภูมิภาค คือ จังหวัด และตำบล, ส่วนท้องถิ่น คือ กรุงเทพฯ เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล ฯลฯ)
  5. องค์การบริหารส่วนตำบลไม่สังกัดใคร ไม่อยู่ในอาณัติใคร เป็นอิสระในการดำเนินการ (เพียงบางเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เพราะประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว) และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 90 ให้นายอำเภอคอยกำกับดูแล (supervision) อำนาจนี้ต่างกับอำนาจบังคับบัญชา (command) ซึ่งผมไม่ขอร่ายรายละเอียดมาก เป็นสาระของกฎหมายปกครอง
  6. ส่วนเทศบาลนั้น พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 7 วรรค 2 ว่า ให้เป็นทบวงการเมือง (public body) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลมหาชน แต่ใน พ.ศ. 2535 มีการแก้บรรพ 1 ของ ป.พ.พ. ทั้งหมด โดยยกเลิกทบวงการเมืองไป และพระราชบัญญัติให้ใช้ ป.พ.พ. บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ว่า ให้ทบวงการเมืองที่ถูกเลิกไป คงเป็นนิติบุคคลต่อไป
  7. เทศบาลก็เหมือนกับองค์การบริหารส่วนตำบลครับ ที่เป็นอิสระในการดำเนินการในบางเรื่องตามที่กำหนด และไม่อยู่ในอาณัติใคร และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 วรรค 2 ให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแล
  8. ส่วนเรื่องทำแผนที่นั้น ผมไม่มีความเห็นครับ
--Aristitleism 10:42, 24 เมษายน 2554 (ICT)
  1. จริงๆ ตอนแรกผมใส่ไว้ในหน้าอภิปรายศาลาประชาคมนะ.... แต่ช่างเถอะ.... คือ หัวข้อ "การแบ่งเขตการปกครอง" ในบทความ "อำเภอเมืองนนทบุรี" ได้ระบุไว้ว่า "อำเภอเมืองนนทบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 10 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 77 หมู่บ้าน (หรือ 26 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลเมืองบางศรีเมืองซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว)" ซึ่ง เกิดความสงสัย ตำบลตลาดขวัญ สวนใหญ่ ท่าทราย บางเขน บางกระสอ และบางศรีเมือง นั้นไม่มี กำนัน และ ผญบ. แล้ว ... แล้วทำไมจึงใช้วิธีเขียนว่า 77 หมู่บ้านเป็นหลักแล้วเอา 26 ไว้ในวงเล็บ (อำเภออื่นที่มีเทศบาลนคร เทศบาลเมือง ก็เป็นแบบนี้) เพราะในเขตเมือง/นคร เปลี่ยนการปกครองมาเป็น ชุมชน (แทนหมู่บ้าน) แล้ว จึงไม่เหลือหมู่บ้านให้นับอีก
  2. กลับเข้าเรื่องตำบล ตำบลยังมีการใช้งานตามทะเบียนราษฎร์ของที่ว่าการอำเภอก็จริง แต่ก็สงสัยว่า เทศบาลนครขนาดใหญ่อย่าง นครนนทบุรี และนครเชียงใหม่ ก็มีการแบ่งเขตปกครองเป็น "แขวง" แทนแล้ว จะเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับตำบลแค่ระดับไหนอย่างไร เนื้อหาแบบไหนควรอยู่ในบทความเขตปกครองท้องถิ่น เนื้อหาไหนอยู่ในเขตปกครองภูมิภาค
  3. ที่บทความเดิม อำเภอเมืองนนทบุรี (จริงๆคือทุกอำเภอ ในวกพด) ได้ระบุว่า ท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ซึ่งความจริงผมก็เป็นคนเริ่มเสนอให้เพิ่มเมื่อนานมาแล้วเนี่ยแหละ แต่ว่าเกิดสงสัยว่า ตกลงแล้ว เทศบาล/อบต. มัน "แบ่ง" ออกมาจาก อำเภอ จริงหรือเปล่า .... โดยความเข้าใจว่า น่าจะเป็นซับเซทของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด มากกว่า
  4. สรุปแล้วก็อาจจะนำไปสู่การอภิปรายหาขอบเขตของการเสนอข้อมูลในเขตปกครองระดับต่างๆ แค่ไหน อย่างไร เพราะผมรู้สึกมึนงงมาก เมื่อก่อนก็มีสงครามแก้ไข ที่ อำเภอป่าแดด ทีหนึ่งแล้ว โดยผู้ใช้(ที่เข้าใจว่าเป็น คนในพื้นที่) ที่พยายามใส่ทุกอย่างลงไปในบทความระดับอำเภอ จนบางอย่างก็รู้สึกว่ามันเป็น shared ident ของอำเภออื่นๆ/จังหวัดอื่น ด้วย ก็เลยไม่แน่ใจว่า จังหวัดจะเสนอแค่ไหน อำเภอ ตำบล เสนอแค่ไหน แล้วเทศบาล-อบต. เสนอแค่ไหน อย่างไร
  5. หวังว่าจะลอยกลับไปที่ ศล.ปชค. ตามเดิมนะ >_____> Lv.2 กรวยส้ม โซนอยด์ 13:02, 24 เมษายน 2554 (ICT)

┌─────────────────────────────────┘
ที่ผมย้ายมาที่นี่เพราะส่วนใหญ่แล้วคำถามน่าจะเป็น informative มากกว่าครับ หรือคุณต้องการเสนอนโยบาย/แนวปฏิบัติ วิกิพีเดียตรงไหน อย่างไรครับ --Horus | พูดคุย 13:24, 24 เมษายน 2554 (ICT)

  1. เทศบาล อบต. ฯลฯ ไม่ใช่ซับเซ็ตของอำเภอครับ ผมยืนยันได้ เพราะอำเภอเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค ส่วน เทศบาล อบต. ฯลฯ เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ในการดำเนินการปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐไทยซึ่งบริหารแบบรัฐเดี่ยว จะให้ฝ่ายภูมิภาคคอยกำกับดูแลฝ่ายท้องถิ่น กำกับดูแล คือ คอยดูเป็นช่วง ๆ มาทำอะไรไปยังไง ไหนรายงานมาบ้างซิ ถ้าทำไม่ถูกจะบอกผู้มีอำนาจให้ยุบนะเออ เป็นต้นครับ
  2. เทศบาล อบต. ฯลฯ เป็นอิสระของตัวครับ (แต่อาจรวมกันเป็นสมาคมเทศบาลแห่งประเทศไทย อะไรประมาณนั้น แต่คงไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง) นอกจากนี้ ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ อบต. เป็นซับเซ็ตของ อบจ. ด้วยครับ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ก็ไม่ได้ให้ อบจ. มีอำนาจอะไรเกี่ยวกับควบคุมบังคับบัญชา อบต. เลยครับ ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระแก่กัน ในส่วนของตัว แต่มีคนกำกับดูแลอยู่แล้ว ดังที่ผมกล่าวไปข้างต้น เช่น นายอำเภอ ผู้ว่าฯ กระทรวงฯ ฯลฯ
--Aristitleism 13:56, 24 เมษายน 2554 (ICT)
  1. แล้วกรณีบทความ อำเภอเมืองนนทบุรี (ความจริงก็ทุกอำเภอ) เอาไงดีครับ เราจะเอาขปค.ท้องถิ่นออกไป หรือว่า แก้ไขคำพูด หรือะไรยังไง
  2. อาจจะใชคำพูดผิด แต่เอาเป็นว่าเป็นการจัดกลุ่มละกัน อย่างเช่น จะบอกว่า "ประกอบด้วย x เทศบาล y อบต." ควรจะอยู่ในระดับอำเภอหรือจังหวัด - ข้อนี้ส่งผลกับการทำแผนที่ประกอบบทความด้วย เช่น บทความ "อำเภอบางกรวย" แผนที่จะเป็น พื้นที่อำเภอบางกรวย แรเงาด้วยสีแดง กับพื้นที่อำเภออื่นๆที่ไม่แรเงา (ซึ่งมีฐานะเท่าหรือเทียบเท่ากัน) ในกรอบพื้นที่ที่ใหญ่กว่า คือจังหวัดนนทบุรี ทีนี้พอเปนส่วนท้องถิ่น เกิดผมจะแรเงาพื้นที่ เทศบาลเมืองบางบัวทอง แล้วพื้นที่ที่ไม่ต้องแรเงาล่ะ จะมีแค่ อปท.อื่นๆในเขตอำเภอบางบัวทอง หรือว่าเอาในเขตจ.นนทบุรี ทั้งจังหวัดดี ?
  3. (ตอบ @horus) ตามข้อ 4 ข้างบนครับ
Lv.2 กรวยส้ม โซนอยด์ 14:19, 24 เมษายน 2554 (ICT)
  • ผมว่า เราอาจจะบอกว่า ในเขตอำเภอ ก มีหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่...แห่ง ได้แก่ ตำบล...แห่ง และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอยู่...แห่ง โดยตำบลเหล่านั้น ยังแบ่งเป็นหมู่บ้าน...แห่ง ส่วนองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น แบ่งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล...แห่ง เทศบาลนคร...แห่ง เป็นต้นครับ
  • การปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยอะไร จะอยู่ในเขตไหน ต้องดูเป็นราย ๆ ไปครับ เพราะบางหน่วยควบหลายเขตตำบล หมู่บ้าน อำเภอ ฯลฯ ได้
  • ผมใส่และเน้นคำว่า "เขต" เพราะอยากบ่งบอกว่าพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
  • ตำบล หมู่บ้าน ฯลฯ มันเป็นระบบเดิมที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ที่ 6 (ตาม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฯ) ต่อมาทางราชการหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดแนวคิดจะตั้งเทศบาล อบต. อบจ. เพื่อลดภาระราชการส่วนการและส่วนภูมิภาค และดูเหมือนจะทำไว้หลอกฝรั่งว่า เรารับแนวคิดเสรีนิยมมากระจายอำนายการปกครองแล้วนะ ดูสิ (อย่างเดียวกับที่เรามีประชาธิปไตยเอาไว้หลอกฝรั่ง) จึงทยอย ๆ ยุบระบบเดิมไป เช่น ถ้าตั้งเทศบาลขึ้นแล้ว หรือถ้าไม่จำเป็นต้องมีอีก ก็ให้เลิกกำนันผู้ใหญ่บ้านไปซะ แต่มาช่วงหลัง ๆ กำนันผู้ใหญ่บ้านแกออกมาเรียกร้องขอความเห็นใจและบอกว่าตำแหน่งแบบนี้ยังจำเป็นอยู่ เหมือนที่เป็นข่าวอยู่ช่วงหนึ่ง รัฐบาลก็เลยเอาใจ แก้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฯ ใน พ.ศ. 2552 ว่า จะยกเลิกตำแหน่งพวกนั้นไม่ได้ ก็เลยขัดกันไปขัดกันมาครับ ผมทิ้งตำราวิชากฎหมายปกครองไว้ที่หอ ถ้าผมพกมา คงจะอธิบายได้ดีกว่านี้ว่าควรทำอย่างไรครับ
--Aristitleism 14:43, 24 เมษายน 2554 (ICT)

เจ้าฟ้าชายวิลเลียม

ทำไมเจ้าฟ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์จึงเปลี่ยพระยศเป็นเจ้าฟ้าชายวิลเลียม ดยุคแห่งแคมบริดจ์

--124.121.145.94 23:56, 29 เมษายน 2554 (ICT)

เพราะพระนางเจ้าเอลิซาเบธสถาปนาให้ในวันแต่งงานวันนี้ (29 เมษายน) ครับ --Aristitleism 00:04, 30 เมษายน 2554 (ICT)