วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/สังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์/กุมภาพันธ์ 2555
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
นิทานเวตาล
ใครเป็นผู้แต่งนิทานเวตาล --223.206.141.73 20:10, 1 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
- ต้นฉบับเป็นภาษาสันสกฤต ประพันธ์โดย ศิวทาส --octahedron80 20:24, 1 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
จักรพรรดินนีเออเชนีคือใคร มาจากไหน
จักรพรรดินนีเออเชนีคือใคร มาจากไหน
--78.112.104.69 16:36, 7 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
- เป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส เสด็จสวรรคตแล้ว lux2545 — พูดคุย 20:27, 14 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
การแต่งจดหมายจากคณะทูตไทยและนิราศลอนดอนมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
การแต่งจดหมายจากคณะทูตไทยและนิราศลอนดอนมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
--180.183.104.237 21:48, 11 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT) tookta
"ถ้าคุณกำลังทำการบ้าน แสดงให้เห็นว่าคุณพยายามหาคำตอบเองแล้ว เราจะช่วยตรงที่คุณติดขัดเท่านั้น ไม่ใช่ช่วยคุณทำการบ้านทั้งหมด"
--Aristitleism 18:18, 21 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
ในบทความนิราศลอนดอน เขียนถึง คุณค่าทางวรรณศิลป์ และ คุณค่าทางสังคม ครับ ส่วนใหญ่น่าจะเป็นข้อดีของนิราศดังกล่าวครับ
ส่วนข้อเสีย หรือปัญหา นั้น คือ เนื้อหาบางส่วน อาจเป็นไปตามมุมมอง ความคิดเห็น อารมณ์ หรือทัศนคติ ของผู้เขียน นอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงแต่เพียงอย่างเดียว ผู้อ่านจึงต้องแยกแยะให้ได้ว่าส่วนใดเป็นข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นอารมณ์หรือความคิดเห็น ฯลฯ (อันนี้ผมตีความจากข้อความที่ว่า "ได้มีการใช้ภาษาที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก สอดแทรกไว้ในเนื้อความบางตอน" และ "มีการเปรียบเทียบถึงสิ่งที่เคยและไม่เคยพบเห็น รวมทั้งมีการใช้ภาษาแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา")
--202.28.35.235 18:51, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
อิศริญาณกับโคลงโลกนิติมีแตกต่างกันอย่างไรคะ
อิศริญาณกับโคลงโลกนิติมีแตกต่างกันอย่างไรคะ --180.183.104.237 21:53, 11 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT) ตู่
"ถ้าคุณกำลังทำการบ้าน แสดงให้เห็นว่าคุณพยายามหาคำตอบเองแล้ว เราจะช่วยตรงที่คุณติดขัดเท่านั้น ไม่ใช่ช่วยคุณทำการบ้านทั้งหมด"
--Aristitleism 18:18, 21 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
ค้นหา คุณสมบัติของ อิศรญาณภาษิต กับ โคลงโลกนิติ มาเปรียบเทียบกัน ก็น่าจะเห็นข้อแตกต่างได้ครับ เช่น ระหว่างการใช้กลอนแปด กับการใช้โคลงสี่สุภาพ เป็นต้น --202.28.35.235 18:45, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
กลอนกลบท
มีวิธีการ ถอด กลอนยังงัยครับ
--180.183.104.237 21:56, 11 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT) โลม
"ถ้าคุณกำลังทำการบ้าน แสดงให้เห็นว่าคุณพยายามหาคำตอบเองแล้ว เราจะช่วยตรงที่คุณติดขัดเท่านั้น ไม่ใช่ช่วยคุณทำการบ้านทั้งหมด"
--Aristitleism 18:18, 21 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
อยากทราบว่าประเทศนิวซีแลนด์มีพรรคNew Zeland First Partyหรือเปล่ามีนโยบายอย่าง
--124.122.101.90 18:16, 15 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
- ในประเทศนิวซีแลนด์มีพรรคการเมืองชื่อ New Zealand First Party ด้วย
และมีข้อมูลในวิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษ http://en.wikipedia.org/wiki/New_Zealand_First
--L0V3Kr1TT4Y4 17:16, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
วัดที่ จ.เชียงใหม่
วัดที่ จ.เชียงใหม่มีชื่อ ตะมะ หรือ มะตะมั้ยครับ และวัดอะไรที่ จ.เชียงใหม่แก้ปีชงปีนี้ได้บ้างครับ--223.206.186.251 15:45, 20 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
- ไปเมาะตะมะเลยครับ พม่าโลด --octahedron80 18:53, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
เหรียญในรัชกาลที่7มีชื่อว่าอะไร
เหรียญในรัชกาลที่7มีชื่อว่าอะไร --118.173.133.178 18:14, 21 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
ขนาดของผลงาน ของไอริส (Irises หรือ Les Iris) โดย Vincent van Gogh
ขนาดของภาพ ดอกไอริส โดยแวนโก๊ะมีขนาดเท่าไหร่คะ
From http://en.wikipedia.org/wiki/Irises_%28painting%29 : Irises is a painting by the Dutch artist Vincent van Gogh. Dimensions 71 cm × 93 cm (28 in × 36.625 in) --L0V3Kr1TT4Y4 18:27, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
ผู้มีส่วนได้เสียในการทำบัญชีทรัพย์มรดก
ผมผู้จัดการมรดกกำลังทำบัญชีทรัพย์มรดก มีปัญหาว่ากฎหมายกำหนดให้มีพยานเป็นผู้มีส่วนได้เสียอย่างน้อยสองคน (ม.1729 วรรค 2) และพยานไม่สามารถเป็นผู้เยาว์ได้ (ม.1729 วรรค 3 อ้างอิง ม.1670 (1) ) แต่ทายาทมีสามคนคือ เป็นผู้ใหญ่หนึ่งคน ก (เป็นผู้จัดการมรดกด้วยก็คือผมเอง) กับผู้เยาว์สองคน ข ค เท่านั้น ไม่มีผู้มีส่วนได้เสียอื่นใดเลย เช่นนี้จะให้ผู้ปกครอง ง ของผู้เยาว์ ข และ ผู้ปกครอง จ ของผู้เยาว์ ค เป็นพยานในการทำบัญชีทรัพย์มรดกแทนได้หรือไม่ (ผู้ปกครองของผู้เยาว์ของแต่ละคน ไม่ใช่คนเดียวกับทายาทคนโต เพราะเป็นคนละครอบครัว พ่อมีเมียสี่ ลูกสาม หย่าหมดทุกคน ครับ) ถ้าไม่ได้ จะทำยังไง? --octahedron80 13:07, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
ส่วนเรื่องการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนี้ แต่งตั้งไปแล้วครับ โดยพนักงานอัยการยื่นฟ้องให้ มองข้ามจุดนี้ไปได้เลย --octahedron80 13:16, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
ในตำราว่า[1]
"สำหรับพยานซึ่งจะต้องรู้เห็นในเวลาที่ผู้จัดการมรดกทำบัญชี แม้ไม่มีกฎหมายบังคับว่า จะต้องลงลายมือชื่อในบัญชีด้วย แต่เมื่อตามแบบจะต้องทำต่อหน้าพยานดังกล่าว ชื่อของพยานก็น่าจะต้องปรากฏในบัญชีด้วย เพื่อผู้มีหน้าที่ตรวจสอบจะได้ตรวจดูรู้ว่า บัญชีนั้นได้ทำขึ้นโดยถูกต้อง...และบุคคลนั้นมีส่วนได้เสียในกองมรดกอย่างไรด้วย
"พยานในการทำบัญชีย่อมหมายถึงบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวผู้จัดการมรดก ในบางกรณีอาจเป็นการยากที่จะหาตัวผู้มีส่วนได้เสียมาเป็นพยานให้ได้ครอบถึงสองคน เช่น ทายาทมีเพียงสองคน เป็นผู้จัดการมรดกเสียหนึ่ง คงเหลือผู้มีส่วนได้เสียที่จะเป็นพยานได้เพียงคนเดียว ก็ใช้พยานนั้นแต่เพียงคนเดียว มิฉะนั้น ก็ไม่อาจทำบัญชีได้"
แต่กรณีของคุณ octahedron80 คือ ไม่มีทายาทที่จะเป็นพยานได้เลย (มีทายาท 3, เป็นผู้จัดการมรดกเสีย 1, อีก 2 เป็นผู้เยาว์ซึ่งต้องห้าม) จึงมีปัญหาต้องพิจารณาอยู่สองประการ คือ (1) ผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทผู้เยาว์ (บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ หรือมารดาของผู้เยาว์ ซึ่งเรียก "ผู้ใช้อำนาจปกครอง" (person exercising parental authority) หรือบุคคลที่ศาลตั้งให้ปกครองผู้เยาว์ ซึ่งเรียก "ผู้ปกครอง" (guardian) ) เป็นผู้เสียส่วนได้เสียในกรณีนี้หรือไม่ และ (2) นอกจากทายาท และผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทผู้เยาว์ บุคคลอื่นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกได้อีกหรือไม่ ซึ่งปัญหาทั้งสองนี้ไม่ปรากฏในตำราเสียด้วย จึงขอแจ้งว่า เป็นความเห็นของผมเท่านั้น
ปัญหาแรกว่า ผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทผู้เยาว์เป็นผู้เสียส่วนได้เสียในกรณีนี้หรือไม่ เห็นว่า เหตุผลที่กฎหมายให้มีบุคคลอื่นคอยทำการต่างผู้เยาว์ ก็เพราะโดยสภาพแล้ว ผู้เยาว์ยังอ่อนวินิจฉัย ไม่อาจรักษาผลประโยชน์ของตนได้อย่างคนที่เจริญวัยแล้ว ด้วยหน้าที่นี้ ผู้แทนโดยชอบธรรมจึงต้องคอยรักษาผลประโยชน์ให้ผู้เยาว์ ซึ่งรวมถึงผลประโยชน์ที่ผู้เยาว์จะได้จะเสียอันเนื่องมาจากมรดกด้วย เพราะฉะนั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียของทายาทผู้เยาว์ และเป็นพยานต่างทายาทผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1569 ประกอบมาตรา 1598/2
ปัญหาที่สองว่า นอกจากทายาท และผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทผู้เยาว์ บุคคลอื่นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกได้อีกหรือไม่ เห็นว่า คำว่า ผู้มีส่วนได้เสีย (interested person) ในกรณีนี้ หมายความว่า บุคคลที่อาจได้ประโยชน์จากทรัพย์มรดก หรืออาจเสียประโยชน์จากทรัพย์มรดก จึงหมายถึงใครก็ได้ที่มีลักษณะเช่นนั้น ไม่จำกัดแต่ทายาท เช่น เจ้าหนี้ของผู้ตายที่ผู้ตายยังค้างชำระหนี้อยู่ ดังนั้น อาจให้เจ้าหนี้ดังกล่าวเป็นพยานได้
--Aristitleism 14:02, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
- ส่วนปัญหาที่ว่า ให้ "ผู้ปกครอง ง ของผู้เยาว์ ข และ ผู้ปกครอง จ ของผู้เยาว์ ค เป็นพยาน" ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่า ง และ จ เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทผู้เยาว์นั้นหรือไม่ดังที่ผมวงเล็บไว้ข้างต้น คือ เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ หรือมารดาของผู้เยาว์ ซึ่งเรียก "ผู้ใช้อำนาจปกครอง" (person exercising parental authority) หรือเป็นบุคคลที่ศาลตั้งให้ปกครองผู้เยาว์ ซึ่งเรียก "ผู้ปกครอง" (guardian) หรือไม่ --Aristitleism 14:08, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
- อธิบายเพิ่มเล็กน้อยครับ บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย (legitimate father) หมายความว่า บิดาที่จดทะเบียนสมรสกับมารดา หรือบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ได้รับรองบุตรด้วยประการอื่น เช่น จดทะเบียนรับรอง หรือมีคำสั่งศาล เป็นต้น, ส่วนมารดา ไม่ว่าจดทะเบียนสมรสกับบิดาหรือไม่ ย่อมเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรเสมอ --Aristitleism 14:11, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
- ผู้ปกครองเป็นมารดาทั้งสองคนครับ (เมียพ่ออีกสองคนอะ) ใช้ได้ใช่ไหมครับ --octahedron80 14:27, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
- ถ้าเป็นมารดา 100% ของทายาทผู้เยาว์ (ให้กำเนิดทายาทผู้เยาว์) ก็ใช้ได้ครับ --Aristitleism 14:30, 25 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
- (1) บุตรย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ (ก็คลอดออกมาเอง) ไม่ต้องจดทะเบียนรับรอง (2) บิดามารดา ใช้อำนาจปกครองร่วมกัน (เมื่อบิดาไม่อยู่แล้ว มารดาก็ใช้อำนาจปกครองแต่ผู้เดียว) (3) คดีมรดกมักเป็นคดีไม่มีคู่ความ ทำถูกทำผิด ทำส่งๆ ไป มันก็ถูไถไปได้ครับ ถ้าทุนทรัพย์ไม่มากมาย - ผมเชื่อว่าในทางปฏิบัติสามารถให้มารดาของทายาททั้งสองลงนามไปได้ หากไม่มีผู้ใดคัดค้านทุกอย่างก็จบด้วยดี (เวลาโอนที่ที่กรมที่ดินหากไม่มีผู้จัดการมรดก ก็ใช้วิธีปิดประกาศก็ได้ ต้องรอประกาศระยะหนึ่ง เงินที่ธนาคารหากไม่มีผู้จัดการมรดกก็ยังถ่ายถอนได้หากมีคนค้ำรับรอง - หากมีผู้จัดการมรดกทุกอย่างดำเนินการได้ทันทีเพราะเป็นคำสั่งศาล) อย่างไรก็ดีถ้าเวลาผ่านไปไม่นาน ผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะ และไม่เห็นชอบด้วยกับการกระทำของผู้แทนโดยชอบธรรม ก็อาจวุ่นวายขึ้นโรงศาลอีกได้ และผู้จัดการมรดกจะตกที่นั่งลำบาก เนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่งเอากระดูกมาแขวนคอ (ในทางทฤษฎีเกิดขึ้นได้สำหรับเงินมรดกจำนวนมากและกรณีมีปัญหาทางเทคนิค) --taweethaも (พูดคุย) 10:53, 10 มีนาคม 2555 (ICT)
อ้างอิง
- ↑ เพรียบ หุตางกูร. (2552, ธันวาคม). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 978-974-466-443-3. หน้า 232-233.