วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์/มีนาคม 2551
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
วิทยาศาสตร์
อยากรู้ว่า ข้างขึ้นข้างแรม กับ จันทรคราส แตกต่างกันอย่างไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.133.172 (พูดคุย | ตรวจ) 11:52, 4 มีนาคม 2551 (ICT)
- อ่านที่ ข้างขึ้นข้างแรม และ จันทรคราส --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 12:04, 4 มีนาคม 2551 (ICT)
ทำไมเรามองเห็นดวงจันทร์ได้ (ดาวจันทร์เป็นดาวเคราะห์)
ทำไมเรามองเห็นดวงจันทร์ได้ (ดาวจันทร์เป็นดาวเคราะห์) --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.129.14.196 (พูดคุย | ตรวจ) 18:45, 5 มีนาคม 2551 (ICT)
- ตอบ
-
- เพราะดวงจันทร์อยู่ในระยะที่มองเห็นได้ --ปังคุง 10:31, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
- ตอบแบบนั้นตกวิทย์แน่ครับ เพราะดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์กลับมายังโลกของเรา เราจึงสามารถเห็นดวงจันทร์ได้แม้เป็นดาวเคราะห์ (ซึ่งไม่มีแสงสว่างในตัวเองอย่างดาวฤกษ์) แน่นอนดาวเคราะห์อื่นๆ ก็สามารถเห็นได้เช่น ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ฯลฯ ถ้าไม่ได้หันด้านมืดเข้าหาโลก ระยะที่มองเห็นได้ไม่เกี่ยวครับ ดาวฤกษ์ต่างๆ ห่างจากโลกเราหลายล้านปีแสงก็ยังสามารถมองเห็นได้เลย --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:48, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
- ที่จริงแล้วก็ ถูก ทั้งสองท่านแหละครับ แต่ท่าน ออกตาฯ (octahedron80) ตรงประเด็นมากกว่า
- อย่างไรก็ตาม ถ้าระยะไม่ใกล้พอ แสงจากดวงอาทิตย์จะสะท้อนได้หรือ (ที่ดาวฤกษ์เห็นได้แม้ไกล เพราะแม้ไกลแต่มีแสงในตัวเองเป็นตัวช่วย แต่ดาวเคราะห์ที่อยู่ไกล ในเมื่อไม่มีแสงในตัวเอง และไม่ได้แหล่งแสงเพียงพอ ก็เห็นจากที่โลกนี่ไม่ได้)
- ดูอย่างดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น ซึ่งเรามองไม่เห็น ถึงจะใช้กล้องโทรทรรศน์ทั้งแบบแสงและวิทยุ
ที่รู้ได้ว่ามันมีอยู่ ก็ด้วยการเคลื่อนไหวของดาวฤกษ์ที่เป็นดาวแม่
- (ที่จริงขนาดก็มีส่วนให้เห็นชัดหรือไม่ชัด แต่ไม่ตรงประเด็น ไม่ขอเอ่ย)
- สรุปคือ แสงเป็นตัวการ แต่ระยะเป็นตัวช่วยแสงอีกที
แต่เนื่องจากผู้ถามใช้คำว่า (เป็นดาวเคราะห์) แสดงว่าเข้าใจบางส่วนแล้ว ท่าน ปังคุง จึงตอบแบบกระชับ ละในฐานที่เข้าใจสำหรับจุดที่เข้าใจแล้ว ปล. ถามการบ้านนี่หว่า --Sirius (TeeTaweepo) 10:15, 25 เมษายน 2551 (ICT)
ที่จริงในระบบสุริยะอื่นก็มีดาวฤกษ์เราจึงเห็นดาวดวงนั้นไม่เกี่ยวกับระยะห่างเลย และแสงที่เรามองเห็นจากดวงดาวก็เป็นแสงจากอดีตเพราะระยะห่างนั้นไกลหลายปีแสงแสงจึงใช้เวลานานกว่าจะมาถึงตาของเรา
Sinoatrial node
sinuatrial nodeคืออไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.28.35.2 (พูดคุย | ตรวจ) 09:45, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
- ตอบ ไปอ่านที่ en:Sinoatrial node --ปังคุง 10:31, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
- ตอบ The Sinoatrial node (ย่อว่า SA node หรือ SAN, บางครั้งเรียก sinus node) เป็นเนื้อเยื่อที่สามารถให้จังหวะทางไฟฟ้าได้ชนิดหนึ่ง (pacemaker) อยู่บริเวณหัวใจห้องบนขวา มีหน้าที่ให้จังหวะการเต้นของหัวใจในภาวะปกติซึ่งเรียกว่า sinus rhythm เนื้อเยื่อนี้ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่วางตัวอยู่บนผนังหัวใจห้องบนขวาใกล้ทางติดต่อกับหลอดเลือดดำใหญ่ superior vena cava เซลล์เหล่านี้เป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ดังกล่าวโดยเฉพาะ
การเตรียมสารละลายของสารประกอบมีวิธีอย่างการอยางไยครับ ตอบด้วย
ผมเป็นนักเรียน ม.4 นะครับความรู้เรื่อง เคมี น้อยมากเลยครับ ขอความกรุณาด้วยครับทุกท่าน --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.123.241 (พูดคุย | ตรวจ) 16:22, 10 มีนาคม 2551 (ICT)
อาริสโตเติล
อยากรู้ประวัติของอาริสโตเติล แพรวา --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.0.40 (พูดคุย | ตรวจ) 18:53, 10 มีนาคม 2551 (ICT)
- ไปอ่านที่ อริสโตเติล สิ --ปังคุง 12:48, 11 มีนาคม 2551 (ICT)
explained how food poisoning can be prevented --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 91.108.11.173 (พูดคุย | ตรวจ) 17:02, 11 มีนาคม 2551 (ICT)
ดาราจักร
เราสามารถไปเยี่ยมดาราจักรที่ไม่ใช่ทางช้างเผือกได้หรือไม่ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 222.123.10.175 (พูดคุย • หน้าที่เขียน)
- ตอบ
- หากว่าไปเยี่ยม (ไปในดาราจักรนั้นๆและกลับมาโลกขณะยังมีชีวิต ณ ปัจจุบัน) เทคโนโลยีของมนุษย์ยังไม่สามารถทำได้ เพราะว่าระยะทางระหว่างดาราจักรนั้นไกลมาก แม้แต่ แอนโดเมดา ดาราจักรที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดดาราจักรหนึ่งก็ยังอยู่ห่างออกไปถึง 2.2 ล้าน ปีแสง แสงยังเดินทางตั้ง 2.2 ล้านปี ต่อให้เราเดินทางได้เร็วเท่าแสงก็คงสูญพันธุ์ก่อน
- ยานวอยเอเจอร์ 2 ยานอวกาศลำเดียวในปัจจุบันที่เดินทางถึงดาวเนปจูนในปี 1989 (ระยะทางประมาณ 4 ชั่วโมงแสง จากโลก) ใช้เวลาถึง 12 ปี!
- เว้นเสียแต่เราสามารถสร้างรูหนอนในอวกาศเพื่อเดินทางข้ามกาล-อวกาศ ไปยังบริเวณอื่นของเอกภพได้โดยไม่ขัดกับกฎความเร็วแสงเป็นความเร็วต้องห้าม ขณะนี้ยังเป็นไปไม่ครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.28.181.11 (พูดคุย | ตรวจ) 06:10, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
- ตอบ2
-
- เดินทางไปได้ครับ แต่ไปในชั่วคนหนึ่งแล้วกลับ (แบบในปัจจุบันไม่ได้)
ต้องไปแบบ อาณานิคมอพยพ (โคโลนี แบบในการ์ตูน) ถึงจะได้
- ส่วนการ วาล์ฟ (เดินทางด้วยรูหนอน) แบบในหนัง สตาร์แทร็ก ก็ยังเป็นแค่นิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งหลักฐานปัจจุบันยังยืนยันว่าขัดกับความจริง -- Sirius (Teetaweepo)
- ข้อมูลรกสมอง
- แสงมีความเร็ว 299,792,458 เมตร/วินาที
- เสียงมีความเร็ว 343 เมตร/ วินาที
- แสงเร็วกว่าเสียง 874030.49 เท่า
- ระยะ 2.2 ล้านปีแสง คือ แสงเดินทางใช้เวลา 2.2 ล้านปี
- ถ้าเสียงเดินทางจะใช้ = 2.2 ล้านปี X 874030.49 เท่า = 1,922,867,078,000 ล้านปี
- นั่นคือ ถ้าใช้ยานอวกาศที่เร็วเท่ากับ 1 มัค (1เท่าความเร็วเสียง) แบบไม่หยุดแวะ จะใช้เวลา 192 ล้านล้านล้านปี
- (สงสัยกว่าจะถึงมนุษย์อวกาศคงวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ไปกี่รอบไม่รู้) --Sirius (TeeTaweepo) 10:33, 25 เมษายน 2551 (ICT)
ตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสีมีอะไรบ้าง ใครทราบช่วยทีครับ
อยากทราบข้อมูลตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสี มีอะไรบ้าง และมีชื่อทางการค้าว่าอะไรเพื่อจะได้นำไปหาข้อมูลเกี่ยวกับ VOC และ MSDS ต่อได้ เพราะไม่ทราบจะจำแนกได้อย่างไรว่าตัวทำละลายไหนใช้ในอุตสาหกรรมสี ขอบคุณมากครับ
IPA, ETHYL ACETATE, BUTYL ACETATE, KETONE, ACETONE, METHYL ALCOHOL, KEROSENE, MEK, MIBK, BUTYL CELLOSOLVE, H2O, ETC. ...NINJAW
มู่เล่ย์คืออะไร
ผมอยากทราบว่ามู่เล่ย์คือะไรและความหมายของมู่เล่ย์แต่ละชนิดครับ นายทินกร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.94.164 (พูดคุย | ตรวจ) 04:43, 15 มีนาคม 2551 (ICT)
ผลบวกทั้งหมดของจำนวนนับที่หาร 2550 ลงตัวมีึค่่าเท่าใด
ผลบวกทั้งหมดของจำนวนนับที่หาร 2550 ลงตัวมีึค่่าเท่าใด --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.149.24.161 (พูดคุย | ตรวจ) 03:55, 17 มีนาคม 2551 (ICT)
ppm
ppm เป็นความเข้มข้นแบบ mass/mass หรือ volume/volume (ความเข้มข้นของก๊าซในปล่องระบาย)-- ซีอิ๊วดำ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.144.139.226 (พูดคุย | ตรวจ) 08:14, 17 มีนาคม 2551 (ICT)
- ตอบ
-
- 1 ppm (part per million) = 1 mg / L
- ดังนั้นเป็น mass / volume ต่างหาก --Sirius (TeeTaweepo) 10:37, 25 เมษายน 2551 (ICT)
ppm มีทุกแบบครับ ทั้ง m-m v-v m-v ดังนั้นต้องดูหน่วยและบริบทรอบข้างด้วย อ่านเพิ่มได้ที่ en:Parts-per notation --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 15:45, 17 พฤษภาคม 2551 (ICT)
อาร์คีเมเดส
อยากรู้ค่ะว่าอาร์คีเมเดสเสียชีวิตเมื่อมีอายุเท่าไหร่ แพรวา --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.11.170 (พูดคุย | ตรวจ) 03:08, 18 มีนาคม 2551 (ICT) ช่วยตอบให้ด้วยนะคะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.10.155 (พูดคุย | ตรวจ) 03:08, 31 มีนาคม 2551 (ICT)
การถ่ายฝากตัวอ่อน
การถ่ายฝากตัวอ่อนเริ่มต้นที่ไหนค่ะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.10.131.50 (พูดคุย | ตรวจ) 11:41, 18 มีนาคม 2551 (ICT)
- ไปอ่านที่ การถ่ายฝากตัวอ่อน --ปังคุง 13:36, 15 เมษายน 2551 (ICT)
แสงสีเขียว
อยากทราบว่าแสงสีเขียวที่อยุ่บนท้องฟ้าอะอะไรหรอค่ะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.10.131.50 (พูดคุย | ตรวจ) 11:44, 18 มีนาคม 2551 (ICT)
- เคยตอบแล้วเลื่อนขึ้นไปดู #เห็นแสงสีเขียวบนท้องฟ้าจะใช่ดาวหางมั้ยครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 18:50, 18 มีนาคม 2551 (ICT)
โครงสร้างทางเคมีของฮีโมโกลบิน
โครงสร้างทางเคมีของฮีโมโกลบินประกอบด้วยอะไรบ้าง? และส่วนใดที่จับกับออกซิเจนแล้วเกิดเป็นออกซีฮีโมโกลบิน? --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.121.206.147 (พูดคุย | ตรวจ) 14:23, 19 มีนาคม 2551 (ICT)
- ตอบ Haemoglobin เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ขนส่งก๊าซออกซิเจนจากตำแหน่งแลกเปลี่ยนก๊าซไปยังเซลล์ต่างๆของร่างกาย เป็นโปรตีนรูปกลม ในมนุษย์ ฮีโมโกลบิน A ซึ่งพบมากที่สุดประมาณ 95% ของฮีโมโกลบินทั้งหมด ประกอบด้วย โปรตีนโกลบิน 4 สาย(มี 2 หน่วยย่อย α และ 2 หน่วยย่อย β) และ 4 ฮีมซึ่งแต่ละอันมีประกอบด้วยอะตอมของเหล็กฝังในใจกลางวง porphyrin โปรตีนโกลบิน 1 สายจะจับอยู่กับ 1 ฮีม ส่วนอะตอมของเหล็กเป็นส่วนที่จับกับโมเลกุลก๊าซออกซิเจน โดย 1 ฮีมต่อ 1 โมเลกุลออกซิเจน ดังนั้น 1 โมเลกุลของฮีโมโกลบินจะจับออกซิเจนได้ 4 โมเลกุล
ฟังก์ชันไซน์
อยากได้รูปกราฟของฟังก์ชันไซน์มากๆได้โปรด ช่วยหาให้ทีเถอะค่ะ …มิซาเอะ [1] --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.28.181.11 (พูดคุย | ตรวจ) 07:05, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
การเติมคลอรีนมากเกินไป
หากเติมคลอรีนลงในน้ำพุปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดฟองขึ้นได้ใช่ไหม โดยที่น้ำที่ใช้ในน้ำพุเป็นน้ำที่ใช้หมุนเวียนอยู่แต่ในอ่างน้ำพุ
นะคะ ใครทราบช่วยบอกหน่อย และหากจะเติมคลอรีนลงในน้ำพุเราความเติมความเข้มข้นเท่าไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.149.119.215 (พูดคุย | ตรวจ) 11:32, 22 มีนาคม 2551 (ICT)
ถ้าจะเติมเพื่อป้องกันแบคทีเรียหรือสาหร่าย เค้าไม่ใช้คลอรีนกันขอรับ เพราะมันไม่เสถียรเติมลงไปแป๊ปหนึ่งก้อสลายตัวหมดแล้ว และการเติมคลอรีนไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการที่จะเกิดฟองขอรับ ถ้าต้องการหาสารที่ใช้บำบัดน้ำในน้ำพุ ลองเปิดหาในเยลโล่ฯดีกว่า ให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยเลือก เคมีมันมีหลายตระกูลเยอะอยู่ขอรับ ตอบเท่านี้เพราะยังไม่ชัดเจนในความต้องการของคำถาม หากจะสอบถามเพิ่มเติมเมลล์ที่ gear4car@yahoo.com ...ninjaw
จะทำลายอาหารเลี้ยงเชื้อที่หมดอายุแล้วอย่างไร
เนื่องจากในโรงงานมีอาหารเลี้ยงเชื้อที่หมดอายุแล้วจะทำลาย แต่ไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องนำไปทำลายแบบฝังกลบหรือไม่ แต่ถ้าไม่ทำลายสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง รบกวนตอบด่วนค่ะ เพราะต้องทำเอกสารขออนุมัติทำลายแล้วภายในวันที่ 25/03/08 ขอขอบพระคุณอย่างสูง
อุไรวรรณ์ ทองเกลา --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.146.196.70 (พูดคุย | ตรวจ) 02:55, 24 มีนาคม 2551 (ICT)
อยากรู้มากๆ รีบตอบด่วน
โซเดียมเปอร์ออกไซดื คืออะไร และสามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับสิ่งใดได้บ้าง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.173.131.86 (พูดคุย | ตรวจ) 04:57, 24 มีนาคม 2551 (ICT)
- ไปอ่านที่ en:Sodium peroxide --ปังคุง 13:59, 15 เมษายน 2551 (ICT)
GSM
GSM หมายถึงอะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.144.130.176 (พูดคุย | ตรวจ) 01:27, 25 มีนาคม 2551 (ICT)
- ปล. อย่าจำสลับกับ MSG (ผงชูรส) นะ --Sirius (TeeTaweepo)
ตอบ GSM ย่อมาจาก Global System for Mobile Communication ครับ
แมวน้ำ
อยากทราบว่าแมวน้ำหายใจอย่างไรคะ ? --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.147.197 (พูดคุย | ตรวจ) 08:17, 26 มีนาคม 2551 (ICT)
หายใจบนบก เวลาว่ายน้ำ มันกลั้นหายใจนะครับ เหมือนคนนี่แหละ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 13:48, 27 มีนาคม 2551 (ICT)
สนิมเขียวเทพีเสรีภาพทำยังงัย??
เห็นได้ชัดเจนว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถกำหนดสีที่พื้นผิวของงานปฏิมากรรมโลหะด้วยวิธีการทางเคมี อันได้แ1.รมดำ 2.สนิมสีเขียวขาว,สว่าง 3.สนิมสีเขียวเข้ม 4.สนิมแดงฯลฯ ((ปัญหาของผมมีอยู๋ว่าทำอย่างไรให้โลหะดังนี้1ทองเหลือง 2ทองแดง 3สำฤทธิ์ 4อะลมิเนียม เกิดสนิมสีเขียวโดยเฉาะอย่างยิ่ง"สีเขียวเข้มๆ"ได้ครับ))ผมเคยแช่ใน cupper solfate แต่ก็ไม่work มันก็เขียวแต่ไม่ติดทน คล้ายกับเอาแป้งมาโรยซะมากกว่า!! ถ้ามีใครทราบช่วยตอบกลับด้วยครับ ไม่รู้ต้องใช้เคมีตัวไหน เวลาและอุณหภูเท่าไหร่ (joseph phatchirakul)
สกัดทองคำขาว
สารเคมีที่สามารถแยกหรือสกัดทองคำขาวออกจากแร่ตัวอื่นได้ดี่ที่สุด --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.44.71.98 (พูดคุย | ตรวจ) 17:22, 27 มีนาคม 2551 (ICT)
ค่าแรงอัด
ค่าแรงอัด หน่วยเป็น PSI.จะแปลงหน่วยเป็น TON มีสูตรการคำนวณอย่างไรครับ จาก. ผีแดงพันปี --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.173.250.251 (พูดคุย | ตรวจ) 04:18, 28 มีนาคม 2551 (ICT)
แปลงไม่ได้ครับ คนละมิติกัน psi คือ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ส่วน ตัน คือหน่วยน้ำหนักอย่างเดียวไม่ต่อพื้นที่ แต่ถ้าจะหา ตันต่อตารางนิ้ว ก็ยังพอไหว แต่ตันก็มีหลายแบบอีก --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 13:29, 11 มิถุนายน 2551 (ICT)
แมกนีเซียมซัลเฟต
แมกนีเซียมซัลเฟต เป็นสารประเภทใด มีธาตุใดเป็นองค์ประกอบบ้าง และมีชื่อว่าอะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.7.146.180 (พูดคุย | ตรวจ) 11:44, 31 มีนาคม 2551 (ICT)
- ไปอ่านที่ แมกนีเซียมซัลเฟต --ปังคุง 13:00, 15 เมษายน 2551 (ICT)