วิกิพีเดีย:คำถามพบบ่อย/ภาพรวม
หน้าตา
คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับภาพรวม
FAQs (คำถามพบบ่อย)
วิกิพีเดียคืออะไร?
- วิกิพีเดียคือสารานุกรมออนไลน์เสรีที่คุณแก้ไขและมีส่วนร่วมได้ จิมมี เวลส์ ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดียคนหนึ่งได้ให้คำอธิบายวิกิพีเดียไว้ว่าเป็น "ความพยายามในการสร้าง และแจกจ่ายสารานุกรมเสรี ที่มีคุณภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ให้กับทุกคนบนโลก ในภาษาของพวกเขาเอง" วิกิพีเดียมีขึ้นเพื่อนำองค์ความรู้สู่ทุกบุคคลที่พบ
ใครเป็นเจ้าของวิกิพีเดีย?
- ใครเป็นเจ้าของเว็บไซต์? เฟรมเวิร์คด้านเทคนิคของวิกิพีเดีย ได้รับการสนับสนุนโดยองค์กรแม่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ชื่อมูลนิธิวิกิมีเดีย ซึ่งยังให้การสนับสนุนโครงการพี่น้องของวิกิพีเดียด้วย เช่นวิกิพจนานุกรม (พจนานุกรมบนวิกิ) วิกิตำรา (หนังสือ) และอื่น ๆ และยังเป็นเจ้าของชื่อโดเมนทั้งหมด ในช่วงแรกนั้น เว็บไซต์วิกิพีเดียได้รับการโฮสต์โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ของโบมิส บริษัทที่ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของโดยจิมมี เวลส์ โดยการประกาศของมูลนิธิวิกิมีเดียในวันที่ 20 มิถุนายน 2546 ความเป็นเจ้าของในโดยเมนทั้งหมดได้ถูกย้ายเป็นชื่อของมูลนิธิแทน ตัวเว็บไซต์ได้รับการดำเนินงานโดยชาววิกิพีเดียตามหลักการที่กล่าวไว้โดยจิมมี เวลส์ ตัวอย่างเช่นการยึดมั่นในมุมมองที่เป็นกลาง
- ใครเป็นเจ้าของบทความในสารานุกรมนี้? บทความที่อยู่ภายในเว็บไซต์ถูกแก้ไขมาแล้วโดยผู้ใช้มากหน้าหลายตา โดยที่แต่ละคน (โดยการแก้ไขบทความ) เข้าใจว่าพวกเขาจะมอบการมีส่วนร่วมให้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา–อนุญาตแบบเดียวกัน ดังนั้นเนื้อหาในบทความจึงเป็นเนื้อหาเสรีและทำซ้ำได้อย่างเสรีเช่นกันภายใต้สัญญาอนุญาตนี้ ดูที่วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์และวิกิพีเดีย:คำถามพบบ่อยจากผู้อ่านสำหรับวิธีการที่คุณสามารถใช้เนื้อหาบนวิกิพีเดีย
- ตามกฎหมายแล้ว การมีส่วนร่วมยังคงเป็นเจ้าของโดยผู้ที่บริจาคการมีส่วนร่วมเช่นเดิม บุคคลเหล่านั้นไม่ได้ถูกผูกมัดโดยสัญญาอนุญาต และพวกเขาก็ย่อมมีสิทธิเต็มในการนำเนื้อหาไปใช้ในลักษณะใดก็ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สื่ออื่นที่มาจากหลายผู้สร้างสรรค์หรือผู้ประพันธ์ ยังจำเป็นต้องมีคำอนุญาตการใช้จากทุกผู้สร้างสรรค์หรือผู้ประพันธ์สื่อแยกกัน ซึ่งต่างไปจากข้อกำหนดในสัญญาอนุญาตของวิกิพีเดีย
ใครเป็นผู้รับผิดชอบในเนื้อหาบนวิกิพีเดีย?
- คุณคือผู้รับผิดชอบ การร่วมแก้ไขคือความพยายามในการการทำงานร่วมกัน ผู้คนนับล้านได้มีส่วนร่วมในสารสนเทศส่วนที่แตกต่างกันไปในโครงการนี้ และทุกคนก็สามารถทำได้ รวมถึงคุณเองก็ด้วย สิ่งที่คุณต้องรู้เพียงแค่วิธีการแก้ไขหน้าและมีความรู้ทางสารานุกรมสักเล็กน้อยเกี่ยวกับที่คุณต้องการแบ่งปัน
- คุณสามารถดูว่าผู้ใดเป็นผู้แก้ไขรุ่นของหน้านั้นโดยกดที่ลิงก์ "ดูประวัติ" อีกทางหนึ่ง หากคุณพบข้อผิดพลาดในรุ่นล่าสุดที่กำลังแสดงผลอยู่ คุณควรกล้าที่จะแก้ไขและปรับเปลี่ยนให้ถูกต้อง แนวปฏิบัตินี้เป็นหนึ่งในกลไกการทบทวนพื้นฐานที่รักษาความน่าเชื่อถือของสารานุกรม อย่างที่คุณเห็น วิกิพีเดียกลายเป็นห้องสมุดสารสนเทศที่กว้างขวางที่สุดแห่งหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต
- หากคุณไม่มั่นใจ หรือพบถ้อยคำที่สับสน ให้อ้างอิงถึงเนื้อหาในหน้าหน้าพูดคุยที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้แก้ไขอื่นที่อาจมาพบและอาจช่วยแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดในความไม่ถูกต้องโดยการไม่รู้หรือการใช้ถ้อยคำที่ทำให้เข้าใจผิดได้เร็วขึ้นและได้รับการชื่นชมจากชุมชน
ฉันจะติดต่อโครงการได้อย่างไร?
- ดูที่วิกิพีเดีย:ติดต่อเราสำหรับลิงก์ที่สำคัญและที่อยู่อีเมล
- เนื่องด้วยลักษณะการทำงานร่วมกันจริง ๆ ตามธรรมชาติของโครงการ จึงไม่มีจุดสำหรับติดต่อจุดเดียว หากคุณส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสมาชิกของกรรมาธิการหรือเจ้าหน้าที่ พวกเขาจะแค่ส่งต่อจดหมายนั้นมายังอาสาสมัครที่รอตอบผู้อ่านเพื่อให้ตอบกลับคุณได้อย่างถูกต้อง คุณสามารถเข้าถึงเหล่าอาสาสมัครได้เองโดยส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังที่อยู่อีเมล infowikimedia.org
- อีกทางหนึ่ง หากคุณต้องการแนะนำข้อปรับปรุงของบทความหนึ่ง ๆ สามารถทำได้โดยทิ้งข้อความได้ที่หน้าพูดคุย โดยใช้แท็บพูดคุยที่บริเวณส่วนบนของบนความ
ฉันควรสร้างบัญชีหรือไม่? มันไม่จำเป็นไม่ใช่หรือ?
- ผู้ใช้ที่มีชื่อผู้จะใชัจะได้รับประโยชน์หลายอย่าง ซึ่งจะเป็นการใช้ถือได้ในระดับหนึ่งในเชิงบวกว่าจะสามารถสร้างงานที่มีคุณภาพได้ และชาววิกิพีเดียมักจะให้ความเคารพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการต่อต้านการโต้แย้งบทความ ในอีกทางหนึ่ง ชาววิกิพีเดียบางครั้งจะเห็นว่าการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนเป็นเรื่องน่าหงุดหงิด เนื่องจากมันยากกว่าที่จะติดต่อเพื่อถามคำถาม โต้แย้ง หรือแนะนำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าวิกิพีเดียมีระดับขั้นหรือเปล่า เพราะยังมีผู้แก้ไขที่มีความสามารถในการดูแลจัดการได้อยู่เช่นกัน (ดูที่ วิกิพีเดีย:การบริหาร) ซึ่งพวกเขาจะได้รับความไว้วางใจจากชุมชน
- ในความเป็นจริงแล้ว ชาววิกิพีเดียที่มีชื่อผู้ใช้นั้นมีความเป็นส่วนตัวมากกว่าการมีส่วนร่วมแบบนิรนาม เนื่องจากทุกคนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตสามารถเห็นที่อยู่ไอพีของผู้ใช้นิรนามได้ แต่เมื่อคุณเข้าสู่ระบบ (ล็อกอิน) จะมีผู้ใช้เพียงหยิบมือที่ได้รับความเชื่อถือสูงจากชุมชนจึงจะสามารถเข้าถึงที่อยู่ไอพีของผู้ใช้เข้าสู่ระบบแล้วได้ (ซึ่งการได้เครื่องมือนั้นค่อยข้างยากและมีกฎมากมาย) ดังนั้น คุณจึงควรที่จะสร้างบัญชีสำหรับตัวคุณเพื่อซ่อนที่อยู่ไอพีของคุณเอง
- แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การแก้ไขแบบนิรนามยังคงเป็นที่ยอมรับได้ ผู้แก้ไขเนื้อหาหลาย ๆ คนก็ยังคงเลือกใช้วิธีนี้ ซึ่งยังคงมีข้อจำกัดคือคุณจะไม่สามารถสร้างบทความใหม่ได้หากยังไม่ใช่ผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติ (ดูที่วิกิพีเดีย:จำกัดการสร้างบทความใหม่เฉพาะผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติ และวิกิพีเดีย:ฉบับร่าง) และบางหน้าก็ถูกป้องกันการแก้ไขโดยผู้ใช้ใหมาและผู้ใช้ไม่เข้าสู่ระบบเพื่อป้องกันการก่อกวน
คุณรู้ได้ยังไงว่าข้อมูลว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว?
- การที่ทุกคนสามารถแก้ไขบทความใดก็ได้ ก็ต้องแลกมาด้วยข้อมูลที่เอนเอียง ล้าสมัย หรือมีสารสนเทศที่ไม่ถูกต้องในบทความ แต่ด้วยการที่มีผู้อื่นอ่านบทความอยู่และคอยสอดส่องอยู่ตลอดโดยใช้หน้าเปลี่ยนแปลงล่าสุด สารสนเทศที่ไม่ถูกต้องมักจะถูกลบออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ความแม่นยำโดยรวมของสารานุกรมมีการปรับปรุงตลอดเวลา คุณก็สามารถช่วยเราได้โดยการปรับปรุง ตรวจยืนยันเนื้อหา และให้แหล่งอ้างอิงที่ดีแก่บทความได้เช่นกัน
วิกิพีเดียป้องกันผู้คนจากการทำให้บทความแย่ลงอย่างไร? (อย่างการโจมตีหรือก่อกวน)
- การการเปลี่ยนแปลงแปลงทั้งหมดในหน้าจะถูกบันทึกไว้ใน "วิธีใช้:ประวัติหน้า" ดังนั้นการโจมตีใด ๆ สามารถแทนที่ได้ด้วยรุ่นเก่ากว่าที่อยู่ก่อนหน้าการก่อกวนได้ และโดยทั่วไป การเปลี่ยนแปลงแก้ไขภายในวิกิพีเดียจะถูกรายการไว้ในหน้าพิเศษสำหรับเหตุผลนี้โดยเฉพาะ
- บนวิกิพีเดียยังมีบอตที่จะทำการย้อนการแก้ไขที่เป็นโทษอย่างชัดเจนโดยทันที และยังมีผู้ที่สละเวลาเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อคอยดูการเปลี่ยนแปลงล่าสุดบนวิกิพีเดียอยู่ตลอด (ดูที่วิกิพีเดีย:การตรวจสอบเปลี่ยนแปลงล่าสุด) อีกทั้งผู้ใช้เข้าสู่ระบบทุกคนสามารถเพิ่มหน้าใด ๆ ไปยัง "รายการเฝ้าดู" ของตนได้โดยใช้ปุ่มรูปดาว เพื่อตดตามการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงในหน้านั้น ๆ เป็นการเฉพาะได้
- ดังนั้น ในหน้าที่เป็นที่รู้จักมากซึ่งอาจมีโอกาสถูกก่อกวนสูงมักจะได้รับความสนใจในการเฝ้าดู เมื่อพบการก่อกวน พวกเขาก็จะสามารถย้อนการก่อกวนไปรุ่นก่อนหน้าได้ทันที
- หากหน้าใด ๆ มีความเสี่ยงในการถูกก่อกวนซ้ำซากโดยผู้ใช้หลายคน บทความสามารถถูกป้องกันชั่วคราวและ/หรือผู้ใช้หรือที่อยู่ไอพีอาจถูกบล็อกจากการแก้ไข
ฉันเห็นเว็บไซต์ ก คัดลอกเนื้อหาจากวิกิพีเดียไปนะ พวกคุณรู้หรือเปล่า
- ทุกเนื้อความบนวิกิพีเดียอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา อนุญาตแบบเดียวกัน (CC-BY-SA) และในกรณีส่วนใหญ่ก็เป็นสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (GFDL) มีการระบุเว็บไซต์กว่าร้อยแห่งที่ใช้วิกิพีเดียสำหรับเนื้อหาและจัดหมวดหมู่ตามระดับความสอดคล้อง
วิกิพีเดียใช้งานซอฟแวร์ตัวใด?
- วิกิพีเดียและโครงการวิกิมีเดียอื่นใช้งานซอร์แวร์มีเดียวิกิสำหรับการจัดการการแก้ไขแบบทำงานร่วมกันและเก็บบันทุกประวัติการแก้
- สำหรับสารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับมีเดียวิกิ ดูที่
- บทความมีเดียวิกิ และ
- เว็บไซต์มีเดียวิกิ
จะเกิดอะไรไรขึ้นหากผู้ใช้สองคนแห่ไขหน้าเดียวกันในเวลาเดียวกัน?
วิกิพีเดียใหญ่แค่ไหน?
- ขณะนี้วิกิพีเดียมี 170,373 บทความ แค่เฉพาะในรุ่นภาษาไทย (การนับนี้นับเฉพาะในเนมสเปซบทความ และยังแสดงผลที่หน้าหลักด้วย)
- หากให้เปรียบเทียบกับสารานุกรมอื่น สารานุกรมบริแทนนิกามีบทความ 85,000 บทความ และมีคำ 55 ล้านคำ Encarta ของไมโครซอฟท์มีประมาณ 63,000 บทความ และมีจำนวยคำประมาณ 40 ล้านคำ สำหรับวิกิพีเดียภาษาไทยที่มีบทความประมาณ 200,000 บทความ และประกอบไปด้วยคำกว่า 81 ล้านคำ
- ด้วยการทำงานร่วมกันจำนวนมากของชาววิกิพีเดีย การขยายตัวของวิกิพีเดียยังคงดำเนินต่อไปอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าสารานุกรมทั่วไป
ฉันจะทำอย่างไรได้บ้างหากพบข้อมูที่หมิ่นประมาทหรือมีความละเอียดอ่อน
- ตามการออกแบบวิกิพีเดียที่ทำใหการแก้ไขเป็นไปโดยง่าย ดังนั้นหากคุณพบคุณสามารถย้อนกลับการแก้ไขนั้นด้วยตัวเองได้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทุกการกระทำจะมีปูมถูกบันทึกไว้ จะมีขั้นตอนพิเศษเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อลบสารสนเทศเหล่านี้นออกจากสารบบ ดูเพิ่มเติมที่วิกิพีเดีย:การควบคุมประวัติและวิกิพีเดีย:การหมิ่นประมาทสำหรับนโยบายการลบซึ่งรุ่นแก้ไข
หัวข้อคำถามพบบ่อย