ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:การตรวจสอบต้นฉบับพื้นฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การไปพบว่ามีหน้าที่ต้องการการตรวจสอบต้นฉบับพื้นฐาน เช่น แก้ไขไวยากรณ์ การสะกดคำ ความน่าอ่านหรือผัง อาจสร้างความประหลาดใจแก่ผู้ใช้วิกิพีเดียใหม่ แต่วิกิพีเดียเป็น "สารานุกรมที่ทุกคนแก้ไขได้" มีบทความหลายพันเรื่องที่ต้องการการปรับปรุงง่าย ๆ ที่คุณเองก็ทำได้เลยโดยที่ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ การตรวจสอบต้นฉบับมีหลักการ 5 C คือ clear ความชัดเจน, correct ความถูกต้อง, concise กระชับไม่เยิ่นเย้อ, comprehensible อ่านเข้าใจ, และ consistent เนื้อหาไม่ขัดแย้งกันเอง ต่อไปนี้เป็นหน้าแนะแนวทางสำหรับการตรวจสอบต้นฉบับ

วิธีการตรวจสอบต้นฉบับพื้นฐาน

[แก้]
ขั้นแรก
กวาดตาดูบทความเพื่อหาข้อผิดพลาดหรือวิธีที่สามารถปรับปรุงได้ อาจติดป้ายระบุบทความทั้งบทความหรือส่วนใดส่วนหนึ่งว่าต้องการตรวจสอบต้นฉบับ
ขั้นที่สอง
แก้ไขหน้าโดยคลิกแถบ "แก้" หรือ "แก้ไขแหล่งที่มา" ใกล้กับด้านบนสุดของหน้าหรือลิงก์ส่วนใดส่วนหนึ่ง [แก้ไข] ตามส่วนต่าง ๆ
ขั้นที่สาม
แก้ไขเปลี่ยนแปลงและกรอกในช่องความย่อการแก้ไข เป็นประโยชน์กับผู้เขียนที่ติตดามคุณโดยให้บทสรุปสิ่งที่คุณทำ เช่น "ตรวจสอบต้นฉบับ" หรือ "แก้ไขเรื่องภาษา" ซึ่งอย่างหลังจะดีกว่า
ขั้นที่สี่
ดูตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงและบันทึก
ขั้นที่ห้า (ไม่บังคับ)
หากคุณคิดว่าบทความไม่ต้องการตรวจสอบต้นฉบับพื้นฐานอีกแล้ว ให้คลิกแก้อีกครั้งและลบแม่แบบ "ปรับภาษา" ออก ซึ่งเป็นการติดประกาศว่าต้องการปรับปรุง แม่แบบดังกล่าวเป็นมาร์กอัพที่ดูเหมือนอย่างนี้ {{copy edit}} โดยมีวันที่อยู่ในวงเล็บปีกกา

ข้อผิดพลาดทั่วไปที่พึงแก้ไข

[แก้]

การจัดรูปแบบ

[แก้]
  • คำที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อหนังสือ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ บทกวีให้ทำเป็นตัวเอน
  • พาดหัวของบทความวิกิพีเดียควรเป็นนามวลี (ประวัติศาสตร์...) ไม่ใช่วลีบุพบท (เกี่ยวกับประวัติศาสตร์...)
  • ชื่อเพลง เรื่องสั้น ตอนในซีรีส์โทรทัศน์ และบทกวีสั้น ๆ ใช้เครื่องหมายสัญประกาศ ("")

เครื่องหมายวรรคตอน

[แก้]
  • สถานที่ เช่น จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ในภาษาไทยไม่ต้องมีเครื่องหมายจุลภาค (,) คั่น แต่อาจติดมาจากเวลาแปลมาจากภาษาอื่น

ลีลา

[แก้]
  • หลีกเลี่ยงภาษาแบบใส่อารมณ์ โอ้อวด หรือเกินจริง เช่น "จากข้อเท็จจริงว่า", "พบตำแหน่งแน่ชัด" และ "ใช้ประโยชน์จาก"
  • พยายามตัดทอนคำที่ไม่จำเป็นและซ้ำซ้อน ให้เหลือความที่ชัดเจนและกระชับ
  • คำในอัญพจน์ (quotation) ไม่ควรไปแก้ไข ยกเว้นแก้ไขการสะกดเล็กน้อยและไทโปกราฟี ส่วนข้อผิดพลาดที่เห็นได้ชัดและการตรวจพิจารณาอาจทำเครื่องหมาย (sic) การสอดแทรกหรือลดทอนให้ทำเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม ([ ])
  • การเลือกใช้ active หรือ passive voice อาจเลือกดูเป็นกรณี ๆ ไป กรณีใดที่เหมาะสมแล้วไม่จำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง

องค์ประกอบของบทความ

[แก้]

ลิงก์ภายนอกจะอยู่ท้ายบทความ ภายใต้พาดหัว "แหล่งข้อมูลอื่น" หรือ "บทอ่านเพิ่มเติม" สำหรับบทความ หนังสือและเว็บไซต์ที่ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงต่างหากให้ใส่ในส่วน "อ้างอิง" หรือ "เชิงอรรถ"

ระดับภาษา

[แก้]

นอกเหนือจากอัญพจน์ ควรใช้ภาษาระดับทางการหรือกึ่งทางการในบทความ

การสะกด

[แก้]

แก้ไขการสะกดผิด ดูรายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

มารยาท

[แก้]

พึงระลึกว่าวิกิพีเดียเป็นสิ่งแวดล้อมที่เน้นความร่วมมือและอาศัยความเห็นพ้อง ขอให้กล้าแก้ไข แต่ถ้าคุณพบว่าการแก้ไขของคุณถูกผู้เขียนอื่นย้อน ให้เข้าไปหน้าคุยของบทความและเริ่มต้นสนทนากันก่อนย้อนกลับ

ขอความช่วยเหลือ

[แก้]

หาบทความที่ต้องการตรวจสอบต้นฉบับ

[แก้]

บทความที่จำเป็นต้องตรวจสอบต้นฉบับพื้นฐานอาจติดป้ายระบุ เช่น {{copyedit}} รายชื่อบทความดังกล่าวปรากฏในหน้าต่าง ๆ เช่น