วิกฤตวัยกลางคน
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
วิกฤตวัยกลางคน (อังกฤษ: midlife crisis) เป็นความเปลี่ยนแปลงของตัวตนและความมั่นใจที่สามารถเกิดขึ้นกับคนวัยกลางคนในช่วงอายุ 45-64 (แต่ละบุคคลแตกต่างกันไป บางคนอาจจะเกิดขึ้นได้ในวัย 30 )[1][2][3][4] ปรากฏการณ์ถูกอธิบายว่าเป็นวิกฤตทางจิตวิทยาที่สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ซึ่งทำให้คิดถึงอายุที่มากขึ้น ความตายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป้าหมายในชีวิตที่ยังทำไม่สำเร็จ สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความซึมเศร้า เสียดาย และกังวล หรือความต้องการที่จะกลับมาอ่อนเยาว์อีกครั้งหรือที่จะเปลี่ยนการใช้ชีวิตจากปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
คำนี้ถูกคิดขึ้นโดย Elliott Jaques เมื่อ พ.ศ. 2508 งานวิจัยสมัยใหม่ชี้ว่าคนวัยกลางคนส่วนใหญ่ไม่ได้ประสบกับวิกฤตวัยกลางคนนี้ และหลายคนตั้งคำถามว่าปรากฏการณ์นี้มีอยู่จริงหรือไม่
การอุบัติ
[แก้]อาการอาจเกิดขึ้นในคนอายุตั้งแต่ 45–64 ปี โดยวิกฤตวัยกลางคนคงอยู่ประมาณ 3–10 ปีในผู้ชาย และ 2–5 ปีในผู้หญิง วิกฤตวัยกลางคนอาจเกิดจากการแก่ตัวลงอย่างเดียว หรือรวมกับความเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นเช่น ปัญหาหรือความเสียใจเกี่ยวกับ:
- การงาน อาชีพ (หรือ การตกงาน)
- ความสัมพันธ์กับคู่สมรส (หรือ ความโสด)
- ความที่ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (หรือ การที่ไม่มีลูก)
- การแก่ตัวลง หรือ การตายของพ่อแม่
- ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายซึ่งเป็นผลจากอายุที่มากขึ้น
วิกฤตวัยกลางคนสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ชายและผู้หญิงในทางต่างกันเพราะสิ่งที่ทำให้เครียดนั้นต่างกัน ผู้ชายบางคนเข้าหาผู้หญิงที่เด็กกว่าซึ่งสามารถมีลูกได้ ไม่ได้เพียงเพราะต้องการมีบุตร โดยนักจิตวิทยาเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นสัญชาตญาณมนุษย์[5] วิกฤตวัยกลางของผู้ชายส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาในการงาน ส่วนผู้หญิงนั้นมักเกิดจากการประเมินหน้าที่ของตน
หนึ่งในลักษณะเฉพาะหลักของมุมมองวิกฤตวัยกลางคนคือ การที่คนสันนิษฐานว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ (มักเป็นแง่ลบ) จะเกิดขึ้นเมื่อเขาเข้าวัยกลางคน และมักนำไปสู่ความเครียด
บุคคลที่กำลังอยู่ในวิกฤตวัยกลางคนอาจรู้สึก:[6]
- เศร้าเสียใจกับจุดหมายที่ยังทำไม่สำเร็จ
- กลัวที่จะเสียหน้าต่อเพื่อนร่วมงานซึ่งประสบความสำเร็จมากกว่า
- ต้องการที่จะรู้สึกอ่อนเยาว์
- ต้องการใช้เวลาอยู่คนเดียวหรืออยู่กับเพื่อนบางคนมากขึ้น
- มีความต้องการทางเพศที่สูงขึ้น หรือไม่มีเลย
- เบื่อหน่าย งงงวย ไม่พอใจ หรือโมโหกับคู่สมรส การงาน สุขภาพ การเงินหรือสถานะทางสังคม
- ต้องการที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดที่เคยทำในสมัยก่อน[7]
การรักษาและการป้องกัน
[แก้]ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่มักเกิดขึ้นในช่วงวัยกลางคนได้แก่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ริ้วรอย ผิวหนังเหี่ยว ผมร่วง[8][9][10][11][12] การออกกำลังกายเป็นประจำและการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอาจช่วยคงสุขภาพทางกายและใจระหว่างช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยังเยาว์อาจป้องกันการเกิดวิกฤตวัยกลางคน ตัวอย่างที่สนับสนุนทฤษฎีนี้มาจากงานวิจัยโดย Dr. Susan Krauss Whitbourne ที่พบว่าคนที่เปลี่ยนงานก่อนวัยกลางคนมีความเข้าใจต่อความแก่ตัวลงเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน และยังมีแรงจูงใจที่จะไม่หยุดนิ่ง และมีความต้องการที่จะช่วยคนรุ่นใหม่มากกว่า[13]
บทวิจารณ์
[แก้]หลายคนไม่เชื่อว่าวิกฤตวัยกลางคนมีอยู่จริง งานวิจัยหนึ่งพบว่า 23% ของผู้เข้าร่วมอ้างว่าตัวเองเคยประสบกับ "วิกฤตวัยกลางคน" ทว่าเมื่อถามต่อกลับพบว่า หนึ่งในสามของคนเหล่านั้น (8% ของทั้งหมด) บอกว่าวิกฤตที่พบนั้นเชื่อมโยงกับการที่รู้ตัวว่ากำลังแก่ลง
15% ของคนที่ตอบแบบสอบถามเคยประสบเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น การหย่า หรือการตกงานในวัยกลางคน และเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าเป็น "วิกฤตวัยกลางคน" แม้เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้บอบช้ำทางจิตใจ ความเศร้าโศกที่ตามมาอาจคล้ายกับอาการของโรคซึมเศร้า
ดูเพิ่ม
[แก้]บันทึก
[แก้]- ↑ http://web.ntpu.edu.tw/~language/course/research/paper9.pdf
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 2017-11-24.
- ↑ http://www.dailymail.co.uk/femail/article-2643854/Are-running-marathon-getting-facelift-tattoo-Youre-probably-grip-mid-life-crisis.html%7Ctitle=New midlife crisis signs are marathons
- ↑ "Definition of MIDDLE AGE".
- ↑ "Why do men go through midlife crisis?". Psychology Today.
- ↑ Stern, Theodore A.; Fava, Maurizio; Wilens, Timothy E.; Rosenbaum, Jerrold F. (13 February 2015). "Massachusetts General Hospital Comprehensive Clinical Psychiatry". Elsevier Health Sciences – โดยทาง Google Books.
- ↑ Warning Signs of a Midlife Crisis - http://www.drphil.com/articles/article/694 เก็บถาวร 2016-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ MedlinePlus. Minaker, K. L., Dugdale, D. C., III MD, & Zieve, D., MD. (2011)
- ↑ Erik H. Erikson, Joan M. Erikson, The Life Cycle Completed: Extended Version (W. W. Norton, 1998),
- ↑ Bourgeois, F. John; Gehrig, Paola A.; Veljovich, Daniel S. (1 January 2005). "Obstetrics and Gynecology Recall". Lippincott Williams & Wilkins – โดยทาง Google Books.
- ↑ "Products - Data Briefs - Number 193 - March 2015". Cdc.gov. สืบค้นเมื่อ 2016-06-15.
- ↑ "PsycNET - Option to Buy".
- ↑ "Merriam Webster Dictionary". Merriam-Webster.
อ้างอิง
[แก้]- "Midlife Crisis? Lets break it down.", Seth Chernoff, Sunday, Oct 11, 2015.
- Chandra, P. (2011, June 8). Is midlife crisis for real? : Prevention News - India Today. News - Latest News - Breaking News India - Live Update - India Today. Retrieved April 23, 2012
- Psycnet.apa.org
- Doheny, K.d (n.d.). Midlife Crisis: Depression or Normal Transition?. WebMD - Better information. Better health..
- Sheehy, Gail (1996). New Passages: Mapping Your Life Across Time. Collins. ISBN 978-0-00-255619-4.
- Mid-Life Transition. (n.d.). DrWeil.com - Official Website of Andrew Weil, M.D
- Massachusetts General Hospital Comprehensive Clinical Psychiatry ที่กูเกิล หนังสือ
- Erik H. Erikson, Joan M. Erikson, The Life Cycle Completed: Extended Version (W. W. Norton, 1998)
- Giuntella, Osea, McManus, Sally, Mujcic, Redzo, Oswald, Andrew J., Powdthavee, Nattavudh and Tohamy, Ahmed, (2022), The Midlife Crisis, No 15533, IZA Discussion Papers, Institute of Labor Economics (IZA), https://EconPapers.repec.org/RePEc:iza:izadps:dp15533.