วิกฤตรัฐบาลสหราชอาณาจักร ตุลาคม พ.ศ. 2565
ลิซ ทรัสส์ ประกาศเจตจำนงลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมในวันที่ 20 ตุลาคม 2022 | |
วันที่ | 14-20 ตุลาคม 2022 |
---|---|
สาเหตุ | งบประมาณแผ่นดินฉบับย่อ เดือนกันยายน 2022 ความสับสนกรณีการลงคะแนนเสียงของรัฐสภาให้ห้ามการขุดเจาะปิโตรเลียมด้วยเทคนิคการขยายรอยแตกด้วยน้ำ |
เหตุจูงใจ | แรงกดดันให้ลิซ ทรัสส์ ลาออก |
ผู้เข้าร่วม | พรรคอนุรักษนิยม |
ผล |
ในเดือนกันยายนและตุลาคม 2022 ในสมัยนายกรัฐมนตรีของลิซ ทรัสส์ รัฐบาลสหราชอาณาจักรภายใต้การนำของพรรคอนุรักษนิยม ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์รัฐบาล วิกฤตได้เริ่มขึ้นหลังการประกาศงบประมาณแผ่นดินฉบับย่อแห่งสหราชอาณาจักร ในวันที่ 23 กันยายน 2022 ซึ่งได้รับเสียงตอบรับในทางลบอย่างหนักจากตลาดการเงินโลก และนำไปสู่การปลดควาซี ควาร์เทง ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในวันที่ 14 ตุลาคม ในวันถัดจากนั้นมา นายกรัฐมนตรีลิซ ทรัสส์ ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักให้ถอนองค์ประกอบเพิ่มเติมออกจากงบประมาณแผ่นดินฉบับย่อเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ต่อมา เจริมี ฮันต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแทนเพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางการเงินและการเมือง[1] เมื่อถึงวันที่ 17 ตุลาคม ก็มีสมาชิกรัฐสภาห้าคนแล้วที่ได้เรียกร้องให้ทรัสส์ลงจากตำแหน่ง[2]
ในวันที่ 19 ตุลาคม ซูเอลลา แบรเวอร์มัน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเนื่องจากได้ละเมิดจรรยาบรรณรัฐมนตรีในทางเทคนิค[3] หลังความไม่ลงรอยกันกับทรัสส์ในประเด็นการปฏิรูประบบการรับผู้ย้ายถิ่นเข้า[4] การลาออกของแบรเวอร์มันต่อมาได้นำมาสู่การวิจารณ์ทรัสส์อย่างหนัก[5] ในเย็นวันนั้น สมาชิกรัฐสภามีกำหนดการลงคะแนนเสียงในญัตติที่พรรคแรงงานเสนอเพื่ออภิปรายเกี่ยวกับการห้ามการขุดเจาะปิโตรเลียมด้วยเทคนิคการขยายรอยแตกด้วยน้ำ (hydrofracking) ในสหราชอาณาจักร[6] รัฐบาลคัดค้านญัตติดังกล่าว การลงคะแนนเสียงก่อให้เกิดความสับสนในหมู่สมาชิกรัฐสภาจากพรรคอนุรักษนิยมซึ่งไม่แน่ใจว่าการลงคะแนนดังกล่าวถือเป็นการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลหรือไม่[7] หรือไม่แน่ใจว่าหัวหน้าวิปและรองหัวหน้าวิปได้ลาออกไปแล้วหรือยัง นอกจากนี้ยังมีข้อกล่าวหาว่าสมาชิกพรรคอนุรักษนิยมบางคนใช้กำลังข่มเหงเพื่อนร่วมพรรคระหว่างการวิ่งเต้นเพื่อลงคะแนนเสียง[8]
ในวันที่ 20 ตุลาคม ทรัสส์ประกาศว่าเธอจะลาออกจากตำแหน่ง แต่จะยังคงอยู่ในตำแหน่งจนกว่าพรรคอนุรักษนิยมจะสามารถเลือกผู้นำคนใหม่มาสืบทอดเธอได้ การเลือกตั้งผู้นำพรรคจะมีขึ้นและคาดว่าจะทราบผลในวันที่ 28 ตุลาคม ทรัสส์ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 45 วัน และเชื่อกันว่าเมื่อเธอลงจากตำแหน่ง เธอจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งรวมแล้วสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร[9] โดย ดยุกที่หนึ่งแห่งเวลิงตัน อาร์เธอร์ เวลเลสลี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระที่สองเพียง 23 วัน แต่ในวาระแรก เขาดำรงตำแหน่งถึง 2 ปี 233 วัน นอกจากนี้การลงจากตำแหน่งนี้จะเป็นการลาออกของนายกรัฐมนตรีครั้งแรกในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gutteridge, Nick (2022-10-17). "Jeremy Hunt warns public spending will be slashed to restore stability". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21.
- ↑ "Liz Truss Announced Her Resignation After 45 Days And The Pandora Box Is Now Open In The UK Parliament". Washington Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 October 2022.
- ↑ "PM letter to Suella Braverman: 19 October 2022". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-21.
- ↑ Swinford, Steven; Dathan, Matt; Wright, Oliver (20 October 2022). "Suella Braverman's fate sealed by row over plan to raise immigration". The Times. สืบค้นเมื่อ 21 October 2022.
- ↑ "Suella Braverman: Home Secretary's resignation letter in full". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-10-19. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21.
- ↑ "Wednesday 19 October 2022: Votes and Proceedings". House of Commons. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-21. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21.
- ↑ "Government Still Won't Settle On Whether Chaotic Fracking Vote Was "Confidence" Matter As Liz Truss Clings On". Politics Home.
- ↑ "Chief Whip Wendy Morton quits - then returns - amid reports MPs 'manhandled'". The Telegraph.
- ↑ "Liz Truss resigns as prime minister". Sky News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 20 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2022. สืบค้นเมื่อ 20 October 2022.