ข้ามไปเนื้อหา

วิกฤตการณ์ตัวประกันโรงเรียนในเบสลัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล้อมโรงเรียนในเบสลัน
เป็นส่วนหนึ่งของ ก่อการร้ายในประเทศรัสเซีย, ความขัดแย้งระหว่างเชเชนกับรัสเซีย
ภายในโรงยิมของโรงเรียนที่ตัวประกันถูกนำมารวมตัวกัน ในภายหลังได้แปรสภาพมาเป็นอนุสรณ์สถาน ตรงกลางเป็นกางเขนออร์ทอดอกซ์
สถานที่เบสลัน นอร์ตออสเซเตีย-อาลาเนีย ประเทศรัสเซีย
วันที่1–3 กันยายน 2004 (UTC+3)
เป้าหมายโรงเรียนในเบสลัน
ประเภทการจับตัวประกัน, การยิง, การฆาตกรรมหมู่, ระเบิดพลีชีพ, การปิดล้อมสถานที่
อาวุธปืนไรเฟิล, ระเบิดเข็มขัด
ตาย334 (ไม่รวมผู้ก่อการร้าย 31 ราย)[1]
เจ็บ800+
ผู้ก่อเหตุ รียาดูสซาลีฮิน
จำนวนก่อเหตุ32

วิกฤตตัวประกันโรงเรียนในเบสลัน (หรือ การสังหารหมู่ที่เบสลัน และ การล้อมโรงเรียนในเบสลัน)[2][3][4] เป็นเหตุก่อการร้ายที่เริ่มต้นในวันที่ 1 กันยายน 2004 และกินเวลายาวนานสามวัน ประกอบด้วยการจับพลเมือง 1,100 คนเป็นตัวประกัน ในจำนวนนี้ 777 คนเป็นเด็ก[5] และจบลงด้วยมีผู้เสียชีวิต 334 ราย (ไม่รวมผู้ก่อเหตุ) ในจำนวนนี้มีเด็กเสียชีวิต 186 ราย[6] ผู้ก่อเหตุเสียชีวิตรวม 31 ราย[1] เหตุการณ์นี้เป็นการกราดยิงในโรงเรียนที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์[7]

วิกฤตการณ์เริ่มต้นด้วยผู้ก่อการร้ายติดอาวุธจำนวนหนึ่งเข้ายึดครองโรงเรียนหมายเลขหนึ่ง (School Number One (SNO)) ในเมืองเบสลัน เขตปกครองตนเองออสเซเตียเหนือ ในแถบคอเคซัสเหนือของประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2004 ผู้ก่อเหตุเป็นสมาชิกของกลุ่มรียาดุสซาลิฮีน ที่ส่งตัวมาโดยขุนศึกชามิล บาซาเยฟ โดยเรียกขอให้รัสเซียถอนกำลังออกจากเชชเนียและประกาศยอมรับเอกราชของเชชเนีย เหตุการณ์สิ้นสุดหลังผ่านไปสามวัน โดยกองกำลังของรัสเซียบุกเข้าภายในโรงเรียน

เหตุการณ์นี้มีผลกระทบต่อความมั่นคงและการเมืองในรัสเซียอย่างมากในเวลาถัดมา โดยเฉพาะการนำไปสู่การปฏิรูปการปกครองรัฐโดยมีการยึดอำนาจกลับคืนมายังเครมลิน และเสริมอำนาจให้กับวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดี[8] การรับมือกับเหตุการณ์นี้ของรัฐบาลรัสเซียถูกวิจารณ์อย่างมาก รวมถึงข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลทำการแพร่ข้อมูลเท็จและมีการปิดกั้นสื่อซึ่งนำไปสู่การตั้งคำถามถึงเสรีภาพสื่อในประเทศ[9] ไปจนถึงการต่อรองเจรจากับผู้ก่อการร้าย การจัดการอำนาจรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา และการใช้กำลังเกินเหตุ[10][11][12][13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Woman injured in 2004 Russian siege dies". The Boston Globe. 8 December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2007. สืบค้นเมื่อ 9 January 2007. bringing the total death toll to 334, a Beslan activist said. ... Two other former hostages died of their wounds last year and another died last August, which had brought the overall death toll to 333 -- a figure that does not include the hostage-takers.
  2. Beslan mothers' futile quest for relief เก็บถาวร 20 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC News, 4 June 2005.
  3. Beslan School Massacre One Year Later เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, U.S. Department of State, 31 August 2004
  4. Putin's legacy is a massacre, say the mothers of Beslan, The Independent, 26 February 2008.
  5. "Children in the Russian Federation (Word Doc)". UNICEF. 16 พฤศจิกายน 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (DOC)เมื่อ 25 มิถุนายน 2006. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2006.
  6. "Putin meets angry Beslan mothers". BBC News. 2 September 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2017. สืบค้นเมื่อ 28 July 2006. Of those who died, 186 were children.
  7. "Russian Children Return to School on 'Day of Knowledge'". The Moscow Times (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25.
  8. Chechnya Vow Cast a Long Shadow The Moscow Times, 26 February 2008.
  9. Russia 'impeded media' in Beslan เก็บถาวร 20 เมษายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC News, 16 September 2004.
  10. Satter, David (2016-11-16). "The Truth About Beslan | Hudson". www.hudson.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-31. สืบค้นเมื่อ 2023-01-31.
  11. Beslan's unanswered questions เก็บถาวร 14 มิถุนายน 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, International Herald Tribune, 30 May 2006.
  12. Beslan siege still a mystery เก็บถาวร 23 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC News, 2 September 2005.
  13. "One Year Later, Beslan's School Tragedy Still Haunts". The Boston Globe. 2 September 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2011. สืบค้นเมื่อ 2 March 2008.