ข้ามไปเนื้อหา

วัยคะนอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัยคะนอง
กำกับเจมส์ แมนโกลด์
บทภาพยนตร์
สร้างจากGirl, Interrupted
โดย Susanna Kaysen
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพJack N. Green
ตัดต่อKevin Tent
ดนตรีประกอบMychael Danna
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายColumbia Pictures[1] (through Sony Pictures Releasing[2])
วันฉาย
  • 21 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (1999-12-21) (สหรัฐอเมริกา)
ความยาว127 นาที
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง$40 ล้านดอลลาร์
ทำเงิน$48.3 ล้านดอลลาร์[2]

วัยคะนอง (อังกฤษ: Girl, Interrupted) เป็นภาพยนตร์ดราม่าจิตวิทยา ชีวประวัติ สัญชาติอเมริกันที่ออกฉายในปี 1999 เขียนบทและกำกับโดย เจมส์ แมนโกลด์ จากบทภาพยนตร์ของแมนโกลด์, ลิซ่า ลูเมอร์ และ แอนนา แฮมิลตัน เฟแลน และได้อิงจาก บันทึกความทรงจำในปี 1993 ในชื่อเดียวกัน ของ ซูซานนา เคย์เซน นำแสดงโดย วิโนนา ไรเดอร์, แอนเจลีนา โจลี, เคลีย ดูวาล, บริตทานี เมอร์ฟี, เอลิซาเบธ มอสส์, จาเรด เลโท, แองเจลา เบตติส, เจฟฟรี่ย์ แทมบอร์, วาเนสซา เรดเกรฟ และ วูปี โกลด์เบิร์ก โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่งที่ต้องเข้ารับการบำบัดที่โรงพยาบาลจิตเวชเป็นเวลาถึง 18 เดือน หลังจากที่พยายามจะฆ่าตัวตาย

วัยคะนอง เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1999 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์ทั้งด้านเชิงบวกและด้านเชิงลบจากนักวิจารณ์เมื่อออกฉาย อย่างไรก็ตามทั้ง ไรเดอร์, โจลี, และเมอร์ฟีย์กลับได้รับคำชื่นชมอย่างกว้างขวางจากการแสดงของพวกเขา ทำรายได้ทั่วโลกกว่า 48 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นความสำเร็จทางการค้า

ภาพยนตร์เรื่อง วัยคะนอง ทำให้โจลี่ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย รวมทั้ง รางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม รางวัล Critics' Choice Movie Award สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม รางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม – ภาพยนตร์ และ รางวัล Screen Actors Guild Award สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Girl, Interrupted (1999)". AFI Catalog of Feature Films. สืบค้นเมื่อ 2021-01-09.
  2. 2.0 2.1 "Girl, Interrupted (1999)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 2010-06-20.

อ่านหนังสือเพิ่ม

[แก้]
  • Rondinone, Tony (2019). Nightmare Factories: The Asylum in the American Imagination. Baltimore, Maryland: Johns Hopkins University Press. ISBN 978-1-4214-3267-0.
  • Chouinard, V. (2009). "Placing the 'mad woman': troubling cultural representations of being a woman with mental illness in Girl Interrupted". Social & Cultural Geography. 10 (7): 791–804. doi:10.1080/14649360903205108.
  • Parr, H. (2000). "Interpreting the 'hidden social geographies' of mental health: ethnographies of inclusion and exclusion in semi-institutional places". Health & Place. 6 (3): 225–237. doi:10.1016/S1353-8292(00)00025-3. PMID 10936777.
  • Shildrick, M. (2002). Embodying the Monster: Encounters with the Vulnerable Self. London: Sage. doi:10.4135/9781446220573. ISBN 978-0-7619-7014-9.
  • Wahl, O.; Wood, A.; Zaveri, P.; Drapalski, A.; Mann, B. (2003). "Mental illness depiction in children's films". Journal of Community Psychology. 31 (6): 553–560. doi:10.1002/jcop.10072.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]