วัน อยู่บำรุง
วัน อยู่บำรุง | |
---|---|
กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 กันยายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 101 วัน) | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 361 วัน) | |
ก่อนหน้า | สามารถ ม่วงศิริ |
ถัดไป | รักชนก ศรีนอก |
เขตเลือกตั้ง | เขตบางบอน และเขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม) |
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 144 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีช่วย | สันติ พร้อมพัฒน์ |
รัฐมนตรีว่าการ | ชลน่าน ศรีแก้ว สมศักดิ์ เทพสุทิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | วันเฉลิม อยู่บำรุง 12 สิงหาคม พ.ศ. 2517 เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2567–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ความหวังใหม่ (2541–2545) ไทยรักไทย (2545–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551—2567) |
บุตร | อาชวิน อยู่บำรุง นโม อยู่บำรุง ลดา อยู่บำรุง |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (น.บ.) |
อาชีพ | นักการเมือง |
ชื่อเล่น | หนุ่ม |
วัน อยู่บำรุง (เกิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2517) ชื่อเล่น หนุ่ม เป็นนักการเมืองชาวไทย กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงสาธารณสุข (เศรษฐา ทวีสิน)[1] อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[2] อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[3]
เขาเป็นบุตรชายของร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง[4][5] ซึ่งเคยได้รับการกล่าวถึงผ่านสื่อบ่อยครั้ง[6] ในช่วงวัยรุ่นมักเป็นที่พูดถึงจากสังคม จากเหตุทำร้ายร่างกายตามผับ ช่วงปี 2540-2548 ซี่งส่วนมากจะถูกยกฟ้องเพราะหลักฐานไม่เพียงพอ[7]
ประวัติ
[แก้]สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเคยเป็นประธานรุ่นของโรงเรียน[8] จากนั้น ได้ศึกษาต่อที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นระยะเวลา 2 ปี เมื่อขึ้นปี 3 จึงได้ย้ายไปเรียนต่อที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสำเร็จการศึกษาโดยใช้เวลา 3 ปี[6] รวมถึงเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[8]
ผลงานด้านการเมือง ได้แก่การแก้ปัญหาจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครองที่เกิดขึ้นในวินมอเตอร์ไซค์เถื่อน[9] มีส่วนร่วมในกิจกรรมของกระทรวงสาธารณสุขโดยเป็นแฮปปี้ทอยเลตคนแรกของประเทศไทย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของแอร์พอร์ตลิงก์ โดยเป็นมิสเตอร์แอร์พอร์ตลิงก์คนแรกของประเทศไทย[10] รวมทั้งเป็นผู้จัดการแข่งขันมวยนัดพิเศษร่วมกับเมืองชัย กิตติเกษม ผู้เป็นอดีตแชมป์โลก เพื่อนำรายได้ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554[11]
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
[แก้]- ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551 (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล)[12]
- รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พ.ศ. 2551 (ชวรัตน์ ชาญวีรกูล)[13]
- ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2554 (กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์)[14]
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2555 (รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์)
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2556 (พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต)[15]
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตหนองแขม (แขวงหนองแขม) เขตบางบอน พรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2562
- ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2567[16]
- กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2562
[แก้]ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ในเขตเลือกตั้งที่ 26 เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม) เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย โดยได้คะแนน 30,538 คะแนน[17] โดยก่อนหน้านี้เคยลงเลือกตั้งถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 2544 ในนามพรรคความหวังใหม่[18] โดยลงเลือกตั้งผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ที่เขตเลือกตั้งที่ 37 (เขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม และเขตบางแค) ได้คะแนนเสียง 17,074 คะแนน ได้อันดับ 3 โดยอันดับ 2 คือพรรคประชาธิปัตย์[19] และอันดับ 1 คือพรรคไทยรักไทย ซึ่งในครั้งนั้นร้อยตำรวจตรีอาจหาญ อยู่บำรุงก็ลงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 35 (เขตบางขุนเทียน และเขตบางบอน) แต่แพ้ที่นั่งให้กับพรรคไทยรักไทย ส่วนครั้งที่สองการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ในนามพรรคเพื่อไทยที่เขตเลือกตั้งที่ 28 (ประกอบด้วยเขตบางบอน และเขตหนองแขม ได้รับคะแนน 40,465 คะแนนได้อันดับ 2 สูสีกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้คะแนน 41,601 คะแนน[20]
การทำงานเพื่อสังคม
[แก้]เมื่อปี พ.ศ. 2557 ได้ก่อตั้ง กลุ่ม "ใจถึง...พึ่งได้" เป็นกลุ่มที่รวบรวมผู้รัก และชื่นชอบแนวคิด และหลักการทำงานเพื่อสังคมในแบบของวัน อยู่บำรุง เป็นครอบครัวใหญ่ ที่นายวันเป็นหัวหน้าครอบครัว เรียกว่า "ครอบครัวใจถึง...พึ่งได้" ที่มีแนวคิดรณรงค์ให้ทุกคนให้การช่วยเหลือสังคม และมุ่งเน้นในการทำความดีเป็นหลัก ตามคำนิยามของผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว #ใจถึงพึ่งได้ ให้ไว้ว่า #หมั่นทำดีกันต่อไปซักวันต้องได้ดี ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดตามจำนวนหลายแสนคน[21]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ด้านชีวิตส่วนตัว วัน อยู่บำรุง มีบุตรชายกับภรรยาคนก่อน ชื่อ อาชวิน อยู่บำรุง[22] ส่วนบุตรชายคนที่สองชื่อ นโม และลูกสาวคนสุดท้องชื่อ ลดา[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[23]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี เล่ม 141 ตอนพิเศษ 76 ง วันที่ 15 มีนาคม 2567
- ↑ อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- ↑ วัน-ฐิติมา รับตำแหน่ง เลขานุการ-ที่ปรึกษารัฐมนตรีคมนาคม - ข่าวไทยรัฐ
- ↑ "ลูกวัน"ประสาน"พ่อเหลิม"ปราบวินมอ'ไซค์ ขึงขังลงพื้นที่หาข้อมูลพรุ่งนี้
- ↑ กางแผน 'วัน อยู่บำรุง' ควงดาบอาญาสิทธิ์ปราบมาเฟียวินเถื่อน!
- ↑ 6.0 6.1 6.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อwww.prachachat
- ↑ "พลิกแฟ้มคดี "อยู่บำรุง"". www.chaliang.com.
- ↑ 8.0 8.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อไทยรัฐ
- ↑ "วัน อยู่บำรุง ลงพื้นที่ ตรวจวินมอเตอร์ไซค์ - Mthai News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
- ↑ ""วัน อยู่บำรุง" มิสเตอร์แอร์พอร์ตลิงก์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-27. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
- ↑ "'วัน'พาอดีตแชมป์โลก มอบเงินช่วยน้ำท่วม - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-14. สืบค้นเมื่อ 2022-02-03.
- ↑ ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551
- ↑ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พ.ศ. 2551
- ↑ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2554
- ↑ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2556
- ↑ "'ครม.' ไฟเขียว ตั้ง 'วัน อยู่บำรุง' นั่ง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี". กรุงเทพธุรกิจ. 13 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ยืนหนึ่ง! วัน อยู่บำรุง ขอบคุณคะแนนเสียง ได้เป็น ส.ส.สมัยแรก เผยความในใจ!
- ↑ "วันที่รอคอยของ... "วัน อยู่บำรุง"". คมชัดลึกออนไลน์. 2019-01-12.
- ↑ "18 ปีที่รอคอย 'วัน อยู่บำรุง' ได้เป็น ส.ส. ขอบคุณพี่น้องที่ไว้ใจ ฝากถึงคนที่หลอกลวงประชาชน เจอกันในสภา". THE STANDARD. 2019-05-09.
- ↑ matichon (2019-01-06). "'วัน อยู่บำรุง' การเป็นผู้แทนฯ ไม่ใช่มรดก เซ็นให้กันไม่ได้". มติชนออนไลน์.
- ↑ วัน อยู่บำรุง กร้าวพร้อมลุยศึกเลือกตั้ง เชื่อพลัง ใจถึงพึ่งได้ ส่งเข้าสภา
- ↑ หล่อสาวกรี๊ด "กาโม่-อาชวิน อยู่บำรุง" รู้ไหมเขาลูกใคร? : มติชนออนไลน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วัน อยู่บำรุง
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2517
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ