ข้ามไปเนื้อหา

วันการรู้หนังสือสากล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันการรู้หนังสือสากล
จัดขึ้นโดย สหประชาชาติ
ประเภทตระหนัก
ความสำคัญเพื่อเน้นความสำคัญของการรู้หนังสือแก่ปัจเจกชน ชุมชนและสังคม
วันที่8 กันยายน
ความถี่ทุกปี
ครั้งแรกค.ศ. 1967

องค์การยูเนสโกประกาศเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ให้วันที่ 8 กันยายนของทุกปีเป็นวันการรู้หนังสือสากล วันดังกล่าวจัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2510 โดยมีเป้าหมายเพื่อเน้นความสำคัญของการรู้หนังสือแก่ปัจเจกชน ชุมชนและสังคม ในวันการรู้หนังสือสากลทุกปี ยูเนสโกย้ำเตือนประชาคมนานาชาติถึงสถานะการรู้หนังสือและการเรียนรู้ผู้ใหญ่ทั่วโลก การจัดวันดังกล่าวมีขึ้นทั่วโลก[1]

ผู้ใหญ่ราว 776 ล้านคนทั่วโลกขาดทักษะการรู้หนังสือขั้นต่ำ และผู้ใหญ่หนึ่งในห้ายังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และสองในสามในจำนวนนี้เป็นหญิง เด็ก 75 ล้านคนต้องออกจากโรงเรียนและอีกมากกว่านั้นเข้าร่วมการศึกษานอกระบบหรือออกโรงเรียนก่อนวัย (drop out)[2] 60.7 million children are out-of-school and many more attend irregularly or drop out.[3]

ตาม "รายงานการเฝ้าดูทั่วโลกว่าด้วยการศึกษาสำหรับทุกคน (2551)" เอเชียใต้และเอเชียตะวันตกมีอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ในภูมิภาคต่ำที่สุด (58.6%) ประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือต่ำที่สุดในโลกคือ ประเทศบูร์กินาฟาโซ (12.8%) รายงานดังกล่าวแสดงความเชื่อมโยงอันชัดเจนระหว่างอัตราการไม่รู้หนังสือกับประเทศที่ตกอยู่ในภาวะยากจนรุนแรง และระหว่างอัตราการไม่รู้หนังสือกับอคติต่อสตรี[4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "International Literacy Day". UNSECO. สืบค้นเมื่อ 24 October 2018.
  2. "Literacy". UNSECO Institute for Statistics. สืบค้นเมื่อ 24 October 2018.
  3. "More Than One-Half of Children and Adolescents Are Not Learning Worldwide" (PDF). UNSECO Institute for Statistics. สืบค้นเมื่อ 24 October 2018.
  4. [1]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-28. สืบค้นเมื่อ 2011-09-08.