วัดโตนด (จังหวัดสระบุรี)
หน้าตา
วัดโตนด | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดโตนด (Wat Tanod) |
ที่ตั้ง | เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย (เถรวาท) |
พระประธาน | พระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง 60 นิ้ว สูง 80 นิ้ว |
เจ้าอาวาส | พระใบฏีกาสุรวิทย์ สุรธมฺโม |
จุดสนใจ | สักการบูชารูปเหมือนหลวงปู่ตัน |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดโตนด ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบริมแม่น้ำป่าสัก ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 7092.[1]
อาณาเขต
[แก้]- ทิศเหนือ จดถนนหลวง
- ทิศใต้ จดแม่น้ำป่าสัก
- ทิศตะวันออก จดถนนสาธารณะ
- ทิศตะวันตก จดแม่น้ำป่าสัก
ประวัติ
[แก้]วัดโตนดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2114 โดยชาวญวนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโตนดได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นโดยมี นายโน๊ด เป็นผู้นำการก่อสร้าง เดิมชื่อ "วัดตาโน๊ด" (สันนิษฐานว่าตั้งตามชื่อคนนำการก่อสร้าง คือ นายโน้ต)ต่อมาภายหลังได้กลายเป็นชื่อ "วัดโตนด" เดิมวัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ต่อมาได้ย้ายเสนาสนะมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร.[2]
เสนาสนะ
[แก้]- 3.1 อุโบสถ กว้าง 6.50 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. - เขตวิสุงคามสีมากว้าง - เมตร ยาว - เมตร
- 3.2 ศาลาการเปรียญ กว้าง 10 เมตร ยาว 21 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น
- 3.3 หอสวดมนต์ กว้าง 6 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นอาคารไม้
- 3.3 กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง
- นอกจากนี้ ยังมี ฌาปนสถาน 1 หลัง หอระฆัง 1 หลัง ศาลาอเนกประสงค์.[3]
ปูชนียวัตถุ
[แก้]- 4.1 พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง 60 นิ้ว สูง 80 นิ้ว
- 4.2 พระประธานในศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง 60 นิ้ว สูง 87 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536
- ปูชนียวัตถุอื่นๆ เจดีย์ ทรงย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง 1 องค์ ตู้หนังสือลายรดน้ำ 1 ตู้.[4]
การบริหารและการปกครอง
[แก้]- 1. พระอธิการตัน อุตฺตโม พ.ศ. 2442 ถึง พ.ศ. 2480
- 2. พระอธิการไพ่ ปทุโม พ.ศ. 2482 ถึง พ.ศ. 2490
- 3. พระอธิการทองดี พ.ศ. 2491 ถึง พ.ศ. 2505
- 4. พระอธิการเหลือ ทีฆายุโก พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2519
- 5. พระอธิการชัยศรี ปภงฺกโร พ.ศ. 2520 ถึง พ.ศ. -
- 6. พระใบฎีกาสุรวิทย์ สุรธมฺโม พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน .[5]
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]ลำดับที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | พระอธิการตัน อุตฺตโม | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2442 | พ.ศ. 2480 | ||
2 | พระอธิการไพ่ ปทุโม | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2482 | พ.ศ. 2490 | ||
3 | พระอธิการทองดี | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2491 | พ.ศ. 2505 | ||
4 | พระอธิการเหลือ ทีฆายุโก | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2507 | พ.ศ. 2519 | ||
5 | พระอธิการชัยศรี ปภงฺกโร | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. - | ||
6ุ | พระใบฎีกาสุรวิทย์ สุรธมฺโม | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2554 | - | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๔๑.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๔๒.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๔๑.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๔๑.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒:๒๔๒.