วัดแจปุง
วัดแจปุง | |
---|---|
ทับศัพท์ภาษาทิเบต อักษรทิเบต: འབྲས་སྤུངས་ ไวลี: ’bras spungs IPA: [ˈtʂɛpuŋ] พินอินทิเบต: Zhaibung THL: Drepung ทับศัพท์ภาษาจีน ตัวเต็ม: 哲蚌寺 ตัวย่อ: 哲蚌寺 พินอิน: Zhébàng Sì | |
วัดแจปุง | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาพุทธแบบทิเบต |
นิกาย | เกลุก |
เทพ | จงคาปา |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เขาเกเพล ลาซา ทิเบต |
ประเทศ | ประเทศจีน |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 29°40′35″N 91°2′51″E / 29.67639°N 91.04750°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้ก่อตั้ง | จัมยัง โชเจย์ |
เริ่มก่อตั้ง | 1416 |
วัดแจปุง (ทิเบต: འབྲས་སྤུངས་དགོན་པ, ไวลี: bras spungs dgon pa, THL: drépung gönpa, พินอินทิเบต: Zhäbung gönba,[1] "พุทธารามกองข้าว")[2][3] เป็นเกินปา (พุทธารามแบบทิเบต) ตั้งอยู่ที่เชิงเขาเกเพ เป็นหนึ่งในสามเกินปาที่ใหญ่ที่สุดสามแห่งของทิเบต (เกลุก) อีกสองแห่งคือวัดกันแต็นและวัดเซรา
เฟรดดี สเปนเซอร์ แชปแมน ระบุหลังการเดินทางไปทิเบตในปี 1936–1937 ว่าแจปุงในเวลานั้นเป็นพุทธารามที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพระสงฆ์อยู่ 7,700 รูป แต่อาจมีมากถึง 10,000 รูปในบางช่วง[4][5]
นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ทั้งวัดแจปุง, วัดกันแต็น และวัดเซรา สูญเสียอิสรภาพในการดำเนินงานและเสียความน่าเชื่อถือทางจิตวิญญาณในสายตาของชาวทิเบตไปอย่างมาก เนื่องจากเกินปาทั้งสามล้วนอยู่ภายใต้การดำเนินงานที่ถูกติดตามและควบคุมอย่างใกล้ชิดจากรัฐบาลของจีน พุทธารามทั้งสามแห่งก่อนั้งขึ้นใหม่โพ้นทะเลอยู่ที่รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย ในคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยแจปุงกับกันแต็นอยู่ที่ มุนทโคท และเซราอยู่ที่ไพลกุปเป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ TBRC
- ↑ Tibet, Tibet: A Personal History of a Lost Land. Patrick French. (2003) Alfred A. Knopf. New York City, p.240 (in quote from 13th Dalai Lama).
- ↑ Dialogues Tibetan Dialogues Han. Hannue. Quoting a monk at Drepung.
- ↑ Chapman F. Spencer. Lhasa the Holy City, p. 195. Readers Union Ltd., London.
- ↑ "What we don't hear about Tibet" เก็บถาวร 2017-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Guardian (Comment is Free). (Wednesday 11 February 2009 22.00 GMT)