วัดเวฬุวนาราม (จังหวัดนครปฐม)
วัดเวฬุวนาราม | |
---|---|
![]() | |
ชื่อสามัญ | วัดเวฬุวนาราม, วัดป่าไผ่, วัดหน้าไผ่, วัดไผ่แหลม, วัดแหลมชะอุย |
ที่ตั้ง | ตำบลลำพยา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระครูไพศาลกิตติวรรณ (ศรีวรรณ) |
![]() |
วัดเวฬุวนาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลลำพยา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
วัดเวฬุวนาราม เดิมชื่อ วัดป่าไผ่ วัดหน้าไผ่ วัดไผ่แหลม และ วัดแหลมชะอุย (ชะอุยแปลว่าไผ่) เดิมเคยเป็นสถานที่สำหรับคล้องช้าง[1] ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2420 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[2] ที่ตั้งเดิมเป็นที่ดอน กันดารน้ำ จนกระทั่งในสมัยหลวงพ่อพระครูสถาพรพุทธมนต์ เจ้าอาวาสได้ดำเนินการพัฒนา จนได้รับความสะดวกสบาย จนถึงปัจจุบัน เนื้อที่ตั้งวัด 90 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา[3]
ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์มณฑปพระครูสถาพรพุทธมนต์ หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่หลวงพ่อสำเนียงเก็บไว้ทั้งหมด หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร (พระครูสถาพรพุทธมนต์) เป็นพระที่มีชื่อเสียงทั้งทางด้านพุทธคุณและทางไสย มีความเมตตาใช้พลังจิตรักษาโรคให้กับญาติโยมที่เจ็บป่วยหายจากโรคมากมาย จนมีลูกศิษย์เคารพนับถือท่านเป็นจำนวนมาก ลูกศิษย์โดยเฉพาะกลุ่มนายทหารในกองทัพเรือจึงได้ช่วยกันสร้างพิพิธภัณฑ์มณฑปแห่งนี้ขึ้น เพื่อรำลึกถึงคุณความดีและผลงานของท่าน ภายในยังมีตู้เก็บร่างของหลวงพ่อสำเนียงไว้ในโลงสีทอง ด้านหน้าโลงสีทอง มีหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าองค์จริงของหลวงพ่อ มีตู้กระจกบรรจุพระพุทธรูปขนาดเล็กของสะสมของหลวงพ่อ มีมุมข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวของท่าน อัฐบริขารต่าง ๆ และตู้เก็บไม้เท้าของหลวงพ่อสำเนียง[4]
รายนามเจ้าอาวาส
[แก้]- พระอาจารย์ชื้น ภิรมย์เมือง
- พระอาจารย์อ๊อด
- พระอาจารย์ต่อม
- พระครูสถาพรพุทธมนต์ (สุขิโต) พ.ศ. 2493–2531
- พระครูพิทักษ์เวฬุวัน (สุภธมฺโม) พ.ศ. 2532–2540
- พระครูไพศาลกิตติวรรณ (ศรีวรรณ) พ.ศ. 2543
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดเวฬุวนาราม". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.
- ↑ "วัดเวฬุวนาราม". พระสังฆาธิการ.
- ↑ "วัดเวฬุวนาราม". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
- ↑ "พิพิธภัณฑ์มณฑปพระครูสถาพรพุทธมนต์ (หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร)". พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย.