ข้ามไปเนื้อหา

วัดหนองโนใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดหนองโนใต้
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหนองโนใต้ (Wat Nong No Tai)
ที่ตั้งตั้งอยู่เลขที่ 80 บ.หนองโนใต้ ม.6 ต.หนองโน อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย (เถรวาท)
พระประธานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างจากหินทราย ขนาดหน้าตักกว้าง 40 นิ้ว สูง 80 นิ้ว
เจ้าอาวาสพระครูมงคลธรรมสุนทร
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดหนองโนใต้ ตั้งอยู่เลขที่ 80 บ้านหนองโนใต้ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ พื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 25 ไร่ โฉนดเลขที่ 41523, 8576, 321, 6742, 6743.[1]

อาณาเขต

[แก้]
  • ทิศเหนือ ติดกับบึงหนองโน
  • ทิศใต้ ติดกับถนนสาธารณะ เข้าอำเภอหนองแซง
  • ทิศตะวันออก ติดกับบ้านเรือนของประชาชน
  • ทิศตะวันตก ติดกับทุ่งนาและบ้านเรือนของประชาชน

ประวัติ

[แก้]
  • วัดหนองโนใต้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2343 เดิมชื่อวัดบ้านภู่ตั้งอยู่ที่บ้านภู่ ต.หนองยาว อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านหนองโนใต้ไปประมาณ 6-7 กิโลเมตร ต่อมาได้ย้ายเสนาสนมาสร้างใหม่อยู่ ณ ที่หมู่บ้านหนองโนใต้ และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดประชาบาล” ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น “วัดหนองโนใต้” ในสมัยนั้นมี พระอาจารย์อินทร์ เป็นเจ้าอาวาส

ปัจจุบันวัดหนองโนใต้ตั้งอยู่เลขที่ 80 บ้านหนองโนใต้ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2500 มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร.[2]

อาคารเสนาสนะ

[แก้]
  • 1. อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 กว้าง 6 เมตร ยาว 16. เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2500 มี เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร
  • 2. ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 กว้าง 16 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย ประยุกต์ 2 ชั้น
  • 3. หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2549 ขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคารไม้
  • 4. กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง สร้าง พ.ศ. 2549
  • 5. กุฏิเจ้าอาวาส จำนวน 1 หลัง สร้าง พ.ศ. 2548 ลักษณะเป็นทรงไทยสร้างจากไม้ยกพื้นสูง
  • 6. ศาลาธรรมสังเวช 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529
  • 7. ฌาปนสถาน (เมรุ) 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2522 กว้าง 6 เมตร ยาว 15 เมตร
  • 8. หอระฆัง 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร
  • 9. ซุ้มประตูวัด สร้างเมื่อวันที่ 1เมษายน พ.ศ. 2545
  • นอกจากนี้ยังมี ศาลาอเนกประสงค์ โรงเก็บพัสดุ 1 หลัง โรงครัว 1 หลัง หลังห้องน้ำ 30 ห้อง.[3]

ศาสนวัตถุ

[แก้]
  • 1.พระประธานประจำอุโบสถปางมารวิชัย สร้างจากหินทรายขนาดหน้าตักกว้าง 40 นิ้ว สูง 80 นิ้ว สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2500
  • 2. พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 60 นิ้ว สูง 180 นิ้วสร้างเมื่อ พ.ศ. 2533

การบริหารและการปกครอง

[แก้]

ลำดับเจ้าอาวาส

[แก้]
  • รูปที่ 1 พระอาจารย์อินทร์
  • รูปที่ 2 พระอาจารย์ทอง
  • รูปที่ 3 พระอาจารย์คำ
  • รูปที่ 4 พระอาจารย์ต๋า
  • รูปที่ 5 พระอาจารย์มาก
  • รูปที่ 6 พระอาจารย์สุข
  • รูปที่ 7 พระอาจารย์ทุย
  • รูปที่ 8 พระอาจารย์ต๊ะ
  • รูปที่ 9 พระอาจารย์เริญ
  • รูปที่ 10 พระอาจารย์มี
  • รูปที่ 11 พระอาจารย์เรือง
  • รูปที่ 12 พระอาจารย์ประดิษฐ์
  • รูปที่ 13 พระอาจารย์สมสมศรี
  • รูปที่ 14 พระอาจารย์สุข
  • รูปที่ 15 พระอาจารย์ใบ
  • รูปที่ 16 พระอาจารย์จันทร์
  • รูปที่ 17 พระอาจารย์มัด'
  • รูปที่ 18 พระอาจารย์ณรงค์
  • รูปที่ 19 พระอาจารย์พรหมมี
  • รูปที่ 20 พระอาจารย์สนัด
  • รูปที่ 21 พระอาจารย์ภักดี
  • รูปที่ 22 พระอาจารย์สายบัว
  • รูปที่ 23 พระครูมงคลธรรมสุนทร พ.ศ. 2524 – ปัจจุบัน.[4]

ลำดับเจ้าอาวาส

[แก้]
ลำดับเจ้าอาวาสวัดหนองโนใต้ ต.หนองโน อ.เมือง จ.สระบุรี
ลำดับที่ รายนาม/สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 พระอาจารย์อินทร์ เจ้าอาวาส - -
2 พระอาจารย์ทอง เจ้าอาวาส - -
3 พระอาจารย์คำ เจ้าอาวาส - -
4 พระอาจารย์ต๋า เจ้าอาวาส - -
5 พระอาจารย์มาก เจ้าอาวาส - -
6 พระอาจารย์สุข เจ้าอาวาส - -
7 พระอาจารย์ทุย เจ้าอาวาส - -
8 พระอาจารย์ต๊ะ เจ้าอาวาส - -
9 พระอาจารย์เริญ เจ้าอาวาส - -
10 พระอาจารย์มี เจ้าอาวาส - -
11 พระอาจารย์เรือง เจ้าอาวาส - -
12 พระอาจารย์ประดิษฐ์ เจ้าอาวาส - -
13 พระอาจารย์สมสมศรี เจ้าอาวาส - -
14 พระอาจารย์สุข เจ้าอาวาส - -
15 พระอาจารย์ใบ เจ้าอาวาส - -
16 พระอาจารย์จันทร์ เจ้าอาวาส - -
17 พระอาจารย์มัด เจ้าอาวาส - -
18 พระอาจารย์ณรงค์ เจ้าอาวาส - -
19 พระอาจารย์พรหมมี เจ้าอาวาส - -
20 พระอาจารย์สนัด เจ้าอาวาส - -
21 พระอาจารย์ภักดี เจ้าอาวาส - -
22 พระอาจารย์สายบัว เจ้าอาวาส - -
23 พระครูมงคลธรรมสุนทร เจ้าอาวาส พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:554.
  2. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:554.
  3. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:554.
  4. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:555.
  • ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม 4 หน้า 556-557