ข้ามไปเนื้อหา

วัดสันติการาม (จังหวัดน่าน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสันติการาม
วิหารวัดสันติการาม (วัดบ้านพร้าว)
สถานศักดิ์สิทธิ์คู่หมู่บ้านพร้าว
แผนที่
ชื่อสามัญวัดสันติการาม (วัดบ้านพร้าว)
ที่ตั้งเลขที่ 2 หมู่ 8 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 55140
ประเภทวัดราษฎร์ สามัญ[1]
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญ
เจ้าอาวาสจร. พระอธิการนราธิปพงศ์ ฐิตเมโธ
ความพิเศษสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่หมู่บ้าน
เวลาทำการ(08:00 - 19:00 น.) ทุกวัน
จุดสนใจ
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดสันติการาม หรือวัดบ้านพร้าว ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 2 หมู่ 8 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 เป็นวัดราษฎร์ ประเภทมหานิกาย

ประวัติวัดสันติการาม

[แก้]

วัดสันติการาม หรือ วัดบ้านพร้าว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400[2]เป็นวัดราษฎร์ ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 2 หมู่ 8 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ประวัติวัด

วัดสันติการาม หรือ วัดพร้าว ตำบลยม อำเภอปัว (ในขณะนั้น) จังหวัดน่าน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ในสมัยนั้นราษฎรบ้านพร้าวก็มีน้อย แต่มีใจศรัทธาที่จะสร้างวัด จึงพร้อมใจกันหาที่ดินที่จะสร้างวัด แรกสร้างนั้นยังมีพื้นที่ที่คับแคบมาก จึงได้พากันแผ้วถางปรับพื้นที่เรียบร้อย ก็ได้หาไม้เปาหนุ่มมาสร้าง ฝาสานด้วยไม่ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าคา พื้นปูด้วยดิน แท่นพระเจ้าใช้สร้างเป็นขาตีเป็นโต๊ะวาง สำหรับเคารพกราบไว้บูชาในวันพระ ซึ่งในสมัยนั้นมีนายเมืองคำ พรมวังขวา เป็นผู้ใหญ่บ้าน

  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง ได้วางรางฐาน ก่ออิฐขนาดแผ่นใหญ่ ล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ใช้ดินเผือกทุ่งนามาก่อ ซึ่งในขณะนั้นไม่มีปูนขาว และปูนซีเมนต์ ขนาดกว้าง 3 ห้อง หลังผลัดมุงด้วยหญ้าคา มีหน้าต่างประตู ช่างที่มารับเหมาก่อสร้างวิหาร เป็นคนเมืองพงษ์มาสร้างจนเสร็จเรียบร้อย ซึ่งในขณะนั้นมีนายเสาร์ ไชยเพ็ชร เป็นผู้ใหญ่บ้าน
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ได้รื้อและปฏิสังขรณ์พระวิหารใหม่ โดยใช้ไม้ประดู่มาทำเป็นเสา หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกร็ด ช่างที่มารับเหมาคือผู้ใหญ่หวัน พลจร บ้านดอนมูล ตำบลศิลาเพชร ซึ่งในขณะนั้นมีนายอิ่นแก้ว ต๊ะผัด เป็นผู้ใหญ่บ้าน
  • ต่อมาวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2504 ได้รื้อและปฏิสังขรณ์ใหม่ ดังนี้
    1. ขุดเอาเสาไม้ประดู่ออก
    2. รื้อไม้แป้นเกร็ดออก
    3. รื้อแล้วทุบฝาผนังขยายเนื้อที่ออกให้กว้างกว่าเดิม
    4. ได้ก่อเสาอิฐมี 12 เหลี่ยม
    5. ทำหลังคาใหม่เป็น 3 ชุด
    6. หลังคามุงด้วยแป้นเกร็ด
    7. ขยายประตูหน้าต่าง (โดยช่างสมบรูณ์ ถาวงค์)
    • ซึ่งในขณะนั้นมีนายคำมุง จันทร์สุข เป็นผู้ใหญ่บ้าน
  • ต่อมาวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งในขณะนั้นมีนายคำมุง จันทร์สุข เป็นผู้ใหญ่บ้าน
  • ต่อมาวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2532 ผู้ใหญ่บ้านและราษฎรในบ้านพร้าว ได้ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์และซ่อมแซมพระวิหาร มีรายการดังต่อไปนี้
    1. ขุดเสาก่ออิฐ 12 เหลี่ยมออก
    2. รื้อไม้แป้นเกร็ดออก
    3. ยกหลังคาใหม่
    4. หล่อเสาซีเมนต์
    5. มุงหลังคาด้วยสังกะสีสีแดง
    6. ได้ยกช่อฟ้าใบระกาใหม่ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2533

พระราชทานวิสุงคามสีมา

[แก้]

วัดสันติการาม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันจันทร์ ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 (แรม 10 ค่ำ เดือน 6 ) ในสมัย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

ใบพระราชทานวิสุงคามสีมา

สิ่งสำคัญภายในวัด

[แก้]

บุคคลที่สร้างพระเจ้าวัดสันติการาม

  • พระเจ้าองค์ใหญ่ ปู่น้อย มอญ ปัญโญ ท่านเป็นคนสร้างไว้
  • ส่วนพระเจ้าทันใจองค์น้อย พ่อหม่อน ธรรมชัย เป็นคนปั้นภายใน 1 วัน โดยขายนา 1 บ่อน (ไร่) เพื่อมาสร้างพระเจ้าทันใจ
  • พระเจ้าด้านข้าง 4 องค์ ผู้ใหญ่สงค์ คำแสน บ้านเสี้ยวเป็นคนสร้างไว้กับวัดสันติการาม
  • พระพุทธรูปไม้โบราณ สันนิฐานว่ามีอายุเก่าแก่ ถึง 200 ถึง 300 ปี มีอักษรล้านนาจารึกใต้ฐานพระพุทธรูป แต่อักษรปรากฏไม่ชัดเจน
  • ธรรมมาสน์ไม้โบราณ สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2509 ศรัทธา พ่อแสน - แม่แก้ว พรมวังขวา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-12-11.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-12-11.