ข้ามไปเนื้อหา

วัดสะแล่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสะแล่ง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดสะแล่ง (วัดป่าสุคันธธรรมาราม)
ที่ตั้งตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท (มหานิกาย)
เจ้าอาวาสพระครูสีลสังวราภิรัต (ครูบามิ่ง)
ความพิเศษเป็นพุทธสถาน และแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของจังหวัดแพร่
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดสะแล่ง หรือ วัดป่าสุคันธธรรมาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นวัดเก่าแก่สมัยเดียวกับวัดพระธาตุศรีดอนคำ และเป็นที่บรรจุพระธาตุพระอุระพระพุทธเจ้า พระอุโบสถเป็นทรงล้านนาประยุกต์ ประวัติความเป็นมาของวัดมีว่า วัดนี้สร้างในสมัยพระนางจามเทวี เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีโบราณวัตถุเป็นพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรทวารวดี จนถึงอยุธยาตอนปลาย

ประวัติ

[แก้]

มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่ดอยสะแล่งแก้วดอนมูล หรือดอยสะแล่งหลวง เจ้าเมืองและชาวบ้าน ต่างพากันไปถวายบิณฑบาตแก่พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวก เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารแล้ว ชายาเจ้าเมืองได้ถวายดอกสะแล่งดอกไม้ป่าชนิดหนึ่ง มีดอกสีขาวนวลเป็นพุทธบูชา พระพุทธเจ้าทรงรับและอนุโมทนา แล้วทรงมีพุทธฎีกาพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล สถานที่แห่งนี้จะเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุของพระองค์ และสถานที่แห่งนี้จะมีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป จากการที่ชายาเจ้าเมืองถวายดอกสะแล่งเป็นพุทธบูชา และดอยแห่งนี้มีต้นสะแล่งอยู่ วัดนี้จึงมีชื่อว่า วัดสะแล่ง ประวัติความเป็นมา

เมื่อครั้งพระนางจามเทวีได้เสด็จมาครองเมืองหริภุญชัย ขบวนเสด็จได้ผ่านเมืองกุกกุฏไก่เอิก(อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น และบางส่วนของอำเภอเด่นชัยในปัจจุบัน) ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ ต่อมาได้มีการบูรณะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงวัดมาหลายยุคสมัย จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2506 พระครูวิจิตรนวการโกศล (ครูบาสมจิต จิตฺตคุตโต) พร้อมด้วยพระครูสีลสังวราภิรัต (ครูบามิ่ง จิตฺตสํวโร) ขณะยังนั้นเป็นสามเณรมิ่ง เต็มใจ ได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2527 ได้รับประกาศให้วัดสะแล่งพ้นจากวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ วัดสะแล่งได้แบ่งเขตวัดเป็นเขตพุทธาวาสเก่าและเขตพุทธาวาสใหม่ ซึ่งมีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อยู่เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันจึงได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง" ขึ้นมาทางด้านหลังของวัดมีเรือนรับรองอาคันตุกะ บ่อน้ำพุร้อน สถานที่อาบน้ำแร่ ลานกีฬา ไว้สำหรับบริการ ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ ทางเนินเขาด้านหลังวัด (ดอยโป่งมื่น) ยังมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ สวนสมุนไพร และเสนาสนะต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก วัดสะแล่งจึงเป็นทั้งพุทธสถานและแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งของจังหวัดแพร่

รายนามเจ้าอาวาส

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระครูวิจิตรนวการโกศล (ครูบาสมจิต จิตฺตคุตโต) พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2560
2 พระครูสีลสังวราภิรัต (ครูบามิ่ง จิตฺตสํวโร) พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน