ข้ามไปเนื้อหา

วัดศิริมงคล (จังหวัดสมุทรสาคร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดศิริมงคล
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 1 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูวรธรรมสาคร (โนรา อภิวโร)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดศิริมงคล เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 บ้านศิริมงคล ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน หน้าวัดอยู่ตรงคุ้งน้ำพอดี ทำให้กระแสน้ำในแม่น้ำท่าจีนกัดเซาะตลิ่งในพื้นที่ของวัด[1] ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 47 ตารางวา

ประวัติ

[แก้]

วัดศิริมงคลตั้งเมื่อ พ.ศ. 2443 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2445 กล่าวกันว่า ผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด คือ หลวงจู๊ล้ง ซึ่งเป็นคนจีนที่มาประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำไร่อ้อย) ร่วมกับพี่น้องชาวมอญที่อพยพมาจากกรุงหงสาวดีที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยในราวปี พ.ศ. 2430 พระมหาทองสุข (อาจารย์ป๊อก) เป็นพระธุดงค์มอญ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางปลา ต่อมาได้มีญาติโยมชาวจีนและชาวมอญ อาราธนาพระมหาทองสุขซึ่งเป็นนักเทศน์ภาษามอญได้ไพเราะ ให้ข้ามแม่น้ำท่าจีนมาทางทิศใต้ แล้วสร้างวัดศิริมงคลขึ้นมากลางไร้อ้อย ได้เริ่มสร้างศาลามุงจาก 1 หลัง ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 9 เมตร จนต่อมาได้ยกฐานะเป็นวัด ตั้งชื่อวัดว่า "วัดศิริมงคล" แต่ชาวมอญในยุคนั้นมักเรียกว่า "วัดลัด" หรือภาษามอญเรียกว่า "เพ่อะป๊อต" ซึ่งแปลว่า วัดลัด ตามตำแหน่งของวัดที่เดิมเป็นคลองลัด แต่ปัจจุบันนี้น้ำได้เซาะตลิ่งพังจึงกลายเป็นแม่น้ำ

อาคารเสนาสนะ

[แก้]

อุโบสถกว้าง 7 เมตร ยาว 22.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2543 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญกว้าง 24 เมตร ยาว 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2447 เป็นอาคารไม้ หอสวดมนต์กว้าง 15 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์จำนวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้ ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน 1 หลัง สร้างด้วยไม้[2]

รายนามเจ้าอาวาส

[แก้]
  • พระกลับ
  • พระทองสน
  • พระเรือง
  • พระบุญธรรม
  • พระมอญ
  • พระโน๊ต
  • พระสินทร
  • พระครูสาครสิริธรรม
  • พระสมุห์และ นนทิโย
  • พระครูวรธรรมสาคร (โนรา อภิวโร)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "น้ำกัดเซาะเขื่อนพัง "วัดศิริมงคล" เจ้าอาวาสฯ วอนหน่วยงานภาครัฐเร่งแก้ไข".[ลิงก์เสีย]
  2. "วัดศิริมงคล". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.