วัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
วัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดน้อย |
ที่ตั้ง | หมู่ 4 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64220 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | เถรวาท |
เจ้าอาวาส | พระครูสมุห์สำรวย (แมว) ปุญฺญกาโม |
กิจกรรม | ศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรมเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนานคู่กับวัดคุ้งยางใหญ่ หรือที่เรียกว่า "วัดใหญ่" ส่วนวัดฤทธิ์จะเป็นที่รับรู้กันในชุมชนว่า "วัดน้อย" คือใช้ที่ตั้งวัดในเชิงภูมิศาสตร์และขนาดเป็นตัวกำหนด โดยวัดจะเป็นศูนย์กลางชุมชนอีกฟากหนึ่งของ"คลอง"บ้านสวนกับชุมชนวัดคุ้งยางใหญ่ ที่เชื่อมต่อจากแม่น้ำยมที่ใช้เป็นทางสัญจรและแหล่งน้ำในการเกษตร อุปโภคบริโภคในชุมชนชาวบ้านสวนนับแต่ครั้งอดีต
ประวัติ
[แก้]วัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เริ่มก่อสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2438[1] และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2474[2] วัดฤทธิ์มีเกจิคณาจารย์ที่เลื่องชื่อ คือหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว อดีตเจ้าอาวาสวัดฤทธิ์[3] และเป็นศิษย์สายตรงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม[4] กิตติคุณของท่านเป็นที่เลื่องลือและได้รับการยอมรับในจังหวัดสุโขทัย และใกล้เคียง นอกจากนี้หลวงพ่อสมฤทธิ์ เทโว ยังเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว พระเกจิแห่งเมืองพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และหลวงพ่อห้อม อมโร(พระราชพฤฒาจารย์)พระเกจิดัง แห่งวัดคูหาสุวรรณ[5]และอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย
จากคำบอกเล่าของพระเดชพระคุณหลวงพ่อห้อม อมโร (พระราชพฤฒาจารย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ เดิมชื่อว่าวัดศิริ ตามที่ชื่อผู้สร้างวัดนี้ขึ้นมาซึ่งเป็นอดีตตาทวดของหลวงพ่อห้อม ที่ชื่อว่า ดี คำว่า วัดน้อย นี้มาจากวัดนี้เป็นวัดเล็กๆอยู่ข้างคลองน้ำ ซึ่งฝั่งตรงข้ามทางทิศใต้ มีวัดชื่อวัดคุ้งยางใหญ่ หรือที่ชาวบ้านต.บ้านสวน เรียกว่า วัดใหญ่ ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวางใหญ่โตกว่ามาก ชาวบ้านสวนจึงเรียก วัดศิริ นี้ว่า วัดน้อย
วัดบ้านสวน [6] เป็นคำเรียกอีกอย่างหนึ่งของ "วัดฤทธิ์" โดยปรากฏเป็นหลัก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 24 หน้า 1352-1353 วันที่ 15 มีนาคม ร.ศ. 126 (พ.ศ. 2450) ตรงกับปีรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ให้รายละเอียดถึงการเข้าไปจัดการศึกษายังหัวเมืองตามนโยบายการจัดการศึกษาของชาติ ในยุคการปฏิรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดบ้านสวน ปรากฏในเอกสารราชกิจจานุเบกษา[7]นั้นว่า
"ด้วยได้รับบอกมณฑลพิศณุโลกที่ ๑๑/๖๘๗๐
ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ศกนี้ว่า หลวงวรสาร พิจิตร์ ผู้พิพากษาศาลเมืองสุโขทัยพร้อมด้วย เจ้าอธิการวัดบ้านสวน ได้จัดตั้งโรงเรียน สอนหนังสือไทย ชั้นมูลศึกษาขึ้นที่วัดบ้านสวน โรง ๑ อาศรัยศาลาของวัดนั้นเปนที่เล่าเรียน และได้เปิดสอนนักเรียน เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๖ มีนักเรียน ๒๙ คน ได้จัดให้ พระโถ นักเรียนโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ซึ่ง สอบไล่ได้ประโยคหนึ่งเปนครูสอน ส่วนเงิน สำหรับบำรุงโรงเรียนนี้ หลวงวรสารพิจิตร์ ได้บอกบุญเรี่ยรายแก่ข้าราชการ และราษฏร ได้เงินรวม ๓๑๒ บาท ๑๖ อัฐ สำหรับจ่ายใน จำนวนศก ๑๒๖ ส่วนในศก ต่อ ๆ ไป จะได้คิด จัดการเรี่ยรายบำรุงต่อไป กับของมอบโรง เรียนนี้ให้อยู่ในความตรวจตราของข้า หลวงธรรมการ ขุนประพันธ์เนติวุฒิ ข้าหลวง ธรรมการ ได้รับโรงเรียนนี้ไว้ ในความตรวจ ตราแนะนำเหมือนอย่างโรงเรียนทั้งหลายแล้ว ผู้บริจาคทรัพย์ทั้งหลายซึ่งได้บริจาคทรัพย์บำรุง โรงเรียนนี้ มีความยินดีขอพระราชทาน ถวายพระราชกุศลมีรายนามและจำนวนแจ้ง ต่อไปนี้.
หลวงจำนง กรมการพิเศษ เงิน ๔๐ บาท
หลวงวรสารพิจิตร์ ผู้พิพากษา "๓๒"
หลวงวนารักษ์ พนักงานป่าไม้ "๒๐"
หลวงอำนวยเนติพจน์ ผู้พิพากษา "๕"
ขุนศรีบุรภูมิ์ ผู้พิพากษา "๑๒"
ขุนประพันธ์เนติวุฒิ ข้าหลวงธรรมการ เงิน ๑๐ บาท
นายคำ ผู้ใหญ่บ้าน เงิน ๘ บาท ๕๕ อัฐ
นายพิน " " "๘" ๓๔ อัฐ
นายคง " " "๕"
นายโต๊ะ ครูโรงเรียน "๕"
จีน กิม ลี้ "๘๐"
นายบุญธรรม "๔๐"
จีนสอน "๕"
ผู้ที่บริจาคทรัพย์ต่ำกว่า ๔ บาท รวม ๒๔ คน เงิน ๔๐ บาท ๕๕ อัฐ
รวมทั้งสิ้น เปนเงิน ๓๑๒ บาท ๑๖ อัฐ กระทรวงธรรมการได้นำกราบบังคมทูล พระกรุณาทราบฝ่าลอองธุลีพระบาท ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลนี้ด้วยแล้ว. กระทรวงธรรมการวันที่ ๑๑ มีนาคม ร.ศ.๑๒๖
(ลงนาม) เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร
เสนาบดี "
จากหลักฐานที่ปรากฏวัดฤทธิ์ หรือ วัดบ้านสวน ในนิยามที่ปรากฏในราชกิจกิจจานุเบกษา อาจไม่ใช่ชื่อ "วัดบ้านสวน" แต่อาจเป็นวัดฤทธิ์ในเวลานั้น แต่เมื่อมีการรายงาน จึงบันทึกเป็น "วัด" ตั้งอยู่ "บ้านสวน" จึงเป็นการใช้คำเรียกรวม ๆ รายงานทางราชการเหนือขึ้นไปว่า "วัด(ที่)บ้านสวน" ไปก็เป็นได้ ในช่วงเวลานั้น ตรงกับ ร.ศ.126 หรือ พ.ศ. 2450 ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 5 "เจ้าอธิการวัดบ้านสวน" จึงน่าจะหมายถึงหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว" เนื่องด้วยเป็นบุคคลร่วมสมัยกับช่วงเวลานั้น เช่น หลวงพ่อแป้น อุตตโม (พ.ศ. 2402-2491/อายุ 89 ปี) [8]] วัดเสาธงใหม่ ต.บางปะหัน ต.เสาธง จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้เป็นสหายธรรม ที่มีข้อมูลว่า มีอายุอ่อนกว่าหลวงพ่อฤทธิ์ 15 ปี[9] ถ้าข้อมูลให้ไว้อย่างนี้ก็จะแปลว่าหลวงพอฤทธิ์เกิด พ.ศ. 2387 ซึ่งล่วงมาปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ใน ร.ศ.126 หรือ พ.ศ. 2450 หลวงพ่อฤทธิ์ก็จะมีอายุพรรษากาล 63 ปี ก็ถือว่าเป็นพระเถระที่เป็นผู้นำชุมชนบ้านสวนอยู่ ร่วมกับหลวงพ่อเจ๊ก แห่งวัดหัวฝาย และหลวงพ่อแป๊ะ แห่งวัดคุ้งยางใหญ่ ผู้เคยไปศึกษาที่วัดระฆังโฆษิตาราม กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี/พ.ศ. 2331-2415 อายุ 84 ปี) เป็นเวลาถึง 6 พรรษา นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่า พระยาวิเชียรปราการ อดีตเจ้าเมืองสุโขทัย ที่ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2461-2469 เคยนั่งเรือลัดเลาะแม่น้ำมาพบและนมัสการหลวงพ่อฤทธิ์ ที่วัดฤทธิ์นี้ ดังนั้นเมื่อจัดลำดับความสำคัญของช่วงเวลา และตัวบุคคลอาจพิเคราะห์ได้ว่า "เจ้าอธิการวัดบ้านสวน" แห่ง "วัดบ้านสวน" คือหลวงพ่อฤทธิ์ และวัดฤทธิ์ เพื่อตั้งโรงเรียนขึ้นให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในช่วงเวลานั้นพัฒนาเป็นโรงเรียนวัดฤทธิ์ในปัจจุบัน
ศาสนวัตถุในวัด
[แก้]- 1.ศาลาการเปรียญ
- 2.อุโบสถ์
- 3.กุฎิที่พักสงฆ์
- 4. วิหารหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว
- 5.ฌาปนสถาน/ศาลาพักศพ
- 6.หอระฆัง
- 7.หอสวดมนต์
- 8.ศาลาธรรมสังเวช
- 9.กองอำนวยการ
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม | ||
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว | พ.ศ. 240--พ.ศ. 2500 | |
2. พระอธิการป๊อก อริญฺชโย | ||
3. พระครูสุพัฒนาทร (เผือน) | ||
4. พระครูพรหม วชิโร(รักษาการแทนเจ้าอาวาส) | ||
5. พระสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร)(รักษาการแทนเจ้าอาวาส) | พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2540 | |
6. พระครูสิทธิธรรมนาถ(สง่า อคฺคธมฺโม) | พ.ศ. 2540- พ.ศ. 2553 | |
7. พระครูสมุห์สำรวย (แมว) ปุญฺญกาโม (รักษาการเจ้าอาวาส) | พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กองพุทธศาสนสถาน,กรมการศาสนา,กระทรวงศึกษาธิการ,ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 7,กรุงเทพ ฯ โรงพิมพ์การศาสนา,2531. หน้า 583.
- ↑ ดิเรก ด้วงลอย(พลอยบุตร)บรรณาธิการ, พุทธจริยศาสตร์สำหรับชาวพุทธ, กองทุนเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา "พระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร)" วัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม จัดพิมพ์มุทิตาสักการะแด่เจ้าคณะพระสังฆาธิการในเขตจังหวัดสุโขทัย ที่ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าแต่งตั้ง เลื่อนสมณศักดิ์ ประจำปี พ.ศ. 2552(นครสวรรค์,กองทุนเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา, 2552,หน้า 67.
- ↑ ดิเรก ด้วงลอย พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2563). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านสวน สุโขทัย-Local History of Bansuan Sukhothai Province เก็บถาวร 2020-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สุโขทัย : กองทุนพระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร/อานใหญ่). ISBN : 978-616-568-180-3
- ↑ http://www.luangporhom.ob.tc/page8.htm[ลิงก์เสีย] ประวัติหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เทโว ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อห้อม อมโร.
- ↑ "เว็บไซต์หลวงพ่อห้อม อมโร แห่งวัดคูหาสุวรรณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-29. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
- ↑ 'หลวงพ่อซวง'ศิษย์'สมเด็จฯโต'วัดระฆัง 'หลวงพ่อซวง'วัดชีปะขาวศิษย์สาย 'สมเด็จฯ โต' วัดระฆัง : ไพศาล ถิระศุภะ ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก คอลัมน์ ศาสนา-พระเครื่อง : ข่าวทั่วไป วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2555 ในประโยคที่ว่า '''"เมื่อหลวงพ่อซวง เดินทางไปพบหลวงพ่อฤทธิ์ครั้งแรกที่วัดบ้านสวน หลวงพ่อฤทธิ์ได้ถามหลวงพ่อซวงว่า “พระเถระที่เป็นเพชรเม็ดงามแห่งแดนใต้ ไม่มีแล้วหรือ?” [[http://www.komchadluek.net/detail/20121129/145970/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%AF%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%86%E0%B8%B1%E0%B8%87.html/]]'''
- ↑ [ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 24 หน้า 1352-1353 วันที่ 15 มีนาคม ร.ศ.126 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/050/1352_1.PDF]
- ↑ [https://web.archive.org/web/20130828050222/http://www.komchadluek.net/detail/20111004/110835/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%A1.html เก็บถาวร 2013-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 'หลวงพ่อแป้น'พระเถระกรุงเก่าที่ถูกลืม 'หลวงพ่อแป้น' วัดเสาธงใหม่พระคณาจารย์เมืองกรุงเก่าที่ถูกลืม : ไพศาล ถิระศุภะ ศาสนา-พระเครื่อง : ข่าวทั่วไป วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2554
- ↑ [ 'หลวงพ่อซวง'ศิษย์'สมเด็จฯโต'วัดระฆัง 'หลวงพ่อซวง'วัดชีปะขาวศิษย์สาย 'สมเด็จฯ โต' วัดระฆัง : ไพศาล ถิระศุภะ ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก คอลัมน์ ศาสนา-พระเครื่อง : ข่าวทั่วไป วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2555 ในประโยคที่ว่า "เมื่อหลวงพ่อซวง เดินทางไปพบหลวงพ่อฤทธิ์ครั้งแรกที่วัดบ้านสวน หลวงพ่อฤทธิ์ได้ถามหลวงพ่อซวงว่า “พระเถระที่เป็นเพชรเม็ดงามแห่งแดนใต้ ไม่มีแล้วหรือ?” http://www.komchadluek.net/detail/20121129/145970/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%AF%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%86%E0%B8%B1%E0%B8%87.html/ เก็บถาวร 2013-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ]
- ดิเรก ด้วงลอย พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2563). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านสวน สุโขทัย-Local History of Bansuan Sukhothai Province เก็บถาวร 2020-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สุโขทัย : กองทุนพระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร/อานใหญ่). ISBN : 978-616-568-180-3