วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร | |
---|---|
พระอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร | |
ชื่อสามัญ | วัดราชาธิวาสวิหาร |
ที่ตั้ง | แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร |
นิกาย | ธรรมยุต |
เจ้าอาวาส | พระพรหมวชิรมงคล (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ) |
เว็บไซต์ | www.watraja.org |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร หรือ วัดราชาธิวาสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร[1] สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2310 (กองพุทธสถาน)[2] ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งพระนคร ห่างจากสนามหลวงสองกิโลเมตรเศษไปทางเหนือ ใกล้ท่าวาสุกรี สามเสน มีเนื้อที่ตั้งวัด 34 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา โดยมีพระพรหมวชิรมงคล (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงสถาปนาจาก “วัดสมอราย” ได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชาธิวาสวิหาร” มีความหมายว่า “วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา”[3] เป็นวัดแรกที่ถือกำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
ถาวรวัตถุ
[แก้]พระอุโบสถของวัดเป็นทรงขอมคล้ายนครวัด ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีห้องสามตอนคือ ห้องหน้าเป็นระเบียง ห้องกลางเป็นห้องพิธี มีพระสัมพุทธพรรณีเป็นพระประธาน มีนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ร. 5 หล่อพระราชทาน) หลังพระประธานเป็นซุ้มคูหา มีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในแสดงเรื่องพระเวสสันดรชาดก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นผู้ร่างภาพ และ ศ. ซี. ริโกลี (C. Rigoli) จิตรกรชาวอิตาเลียน เป็นผู้เขียนด้วยการใช้สีปูนเปียก (Fresco)
ศาลาการเปรียญตั้งอยู่หน้าวัด เป็นศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงให้สร้างเลียนแบบจากศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นศาลาการเปรียญที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[4]
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]นับแต่เริ่มกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนมีคณะธรรมยุต วัดราชาธิวาสมีเจ้าอาวาสมาแล้ว 5 รูป เมื่อถึงเจ้าอาวาสลำดับที่ 6 วัดราชาธิวาสจึงเปลี่ยนมาสังกัดคณะธรรมยุตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ลำดับ | นาม | ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) |
---|---|---|
1. | พระปัญญาพิศาลเถร (นาค) | |
2. | พระปัญญาพิศาลเถร (ศรี) | |
3. | พระธรรมวิโรจน์ (คง) | |
4. | พระธรรมวิโรจน์ (นก คชเสนี)[5] | |
5. | พระภาวนาภิราม (รอด) | |
6. | สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว จนฺทสิริ) | 2429 - 2451 |
7. | พระราชเมธี (จาบ เขมโก) | 2451- 2454 |
8. | พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) | 2456 - 2485 |
9. | พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) | 2485 - 2503 |
10. | พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค) | 2506 - 2542 |
11. | พระพรหมวชิรมงคล (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ) | 2542 - ปัจจุบัน |
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
[แก้]- พระธรรมกิตติเมธี (เกษม สญฺญโต)
- พระเทพวิสุทธิญาณ (ถวิล กนฺตสิริ)
- พระราชมงคลกวี (อุดม ฐานุตฺตโม)
- พระศรีวิสุทธิญาณ (เนรมิต ธมฺมวีโร)
- พระกิตติวรประสาธน์ (สุชิน สุขิโต)
- พระศรีวินัยโสภณ (เกษม โธตโก)
- พระครูสุนทรธรรมพิทักษ์ (บุญเลิศ ฐิติงฺกโร)
- พระครูสิริกวีวัฒน์ (บุญธรรม กตปุญฺโญ)
- พระครูอิทธิพลญาณ (สัมฤทธิ์ อิทฺธิพโล)
- พระครูปลัดสุวัฒนสัจจคุณ (ธีรวิทย์ ฉนฺทวิชฺโช)
- พระมหาวิโรจน์ ปภสฺสโร ป.ธ.๘
- พระครูวิศาลธรรมโรจ (สมใจ อุทโย)
- พระครูปลัดกิตติคุณวัฒน์ (วรวิทย์ สุวรวิโท)
ระเบียงภาพ
[แก้]-
พระอุโบสถ
-
พระสัมพุทธพรรณี (จำลอง) พระประธานอุโบสถ
-
จิตรกรรมสีปูนเปียก เรื่องพระเวสสันดรชาดก
-
ศาลาการเปรียญที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง
-
ศาลาการเปรียญ
-
พระเจดีย์ รูปทรงเลียนแบบสมัยศรีวิชัย ซึ่งสร้างครอบเจดีย์เดิมสมัยรัชกาลที่ 5
-
พระตำหนักสี่ฤดู
-
พระตำหนักสมเด็จพระพันปีหลวง (พระตำหนักพญาไท)
-
พระตำหนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
ธมฺมวรุตฺตมานุสฺสรณีย
-
กุฏินกพิราบ, ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 32, ตอน 0 ก, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2458, หน้า 290
- ↑ ประวัติวัดราชาธิวาสวิหาร
- ↑ "วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-04. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
- ↑ ป้ายข้อมูลวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
- ↑ สกุลเดิม:คชเสนี บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี)