ข้ามไปเนื้อหา

วัดพระธาตุขิงแกง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระธาตุขิงแกง
แผนที่
ที่ตั้งตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดพระธาตุขิงแกง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ตั้งอยู่บนเนินเขาธาตุขิงแกง ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของหมู่บ้านขิงแกง[1]

ตำนานวัดพระธาตุขิงแกงระบุว่าตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จไปทั่วดินแดนล้านนา รวมถึงเมืองพะเยา มียักษ์ตนหนึ่งมันไม่ได้กินอาหารมานานเจ็ดวันแล้ว พบเห็นพระพุทธเจ้า มันหมายจะจับกินแต่ไล่พระองค์ไม่ทันไล่จนหมดแรง ณ ที่นั้นพระพุทธเจ้าก็ได้เอาฝ่าเท้าเหยียบก้อนหินก้อนหนึ่ง พอยักษ์เห็นรอยเท้าพระพุทธองค์แล้วพระพุทธองค์ก็ปรากฏให้ยักษ์เห็นพระองค์ จึงทาให้พระธาตุขิงแกงมีรูปปั้นยักษ์ยืนอยู่บริเวณพระธาตุ เพื่อคอยดูแลปกป้องพระธาตุแห่งนี้[2] สำหรับข้อมูลการตั้งวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2470 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2528[3] ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดพะเยา องค์พระธาตุได้บรรจุพระเกศาธาตุและพระธาตุกระดูกเท้าข้างขวาของพระพุทธเจ้า ในวันขึ้น 15 ค่า เดือน 5 หรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า เดือน 7 เป็ง จะมีประเพณีสรงน้าพระธาตุขิงแกงทุกปีพระธาตุขิงแกง[4]

องค์พระธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์แบบล้านนาพื้นบ้าน ตั้งอยู่บนฐานกระดานสี่เหลี่ยม 2 ชั้น ที่มุมเจดีย์ มีเจดีย์ประดับอยู่ 4 มุม ต่อด้วยเรือนธาตุย่อมุมยี่สิบ ยืดสูงรูปแปดเหลี่ยม มีซุ้มจรนำ 4 ทิศ มีพระพุทธรูปอยู่ในซุ้มทิศละ 1 องค์ ขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ต่อด้วยชั้นมาลัยเถา ซ้อนกันขึ้นไปรับองค์ระฆังต่อด้วยบัลลังค์ ปล้องไฉน ปลียอด และฉัตร[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วัดพระธาตุขิงแกง". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานเชียงราย.[ลิงก์เสีย]
  2. "พระธาตุขิงแกง". มิวเซียมไทยแลนด์.
  3. "วัดพระธาตุขิงแกง". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  4. "วัดพระธาตุขิงแกง". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.
  5. กรมศิลปากร. "วัดพระธาตุขิงแกง " ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/