วัดป่าสัก (อำเภอเมืองสระบุรี)
หน้าตา
วัดป่าสัก | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดป่าสัก (Wat Pa Sak) |
ที่ตั้ง | ตั้งอยู่เลขที่ 2 หมู่ที่ 4 บ.ป่าสัก ต.ดาวเรือง อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย (เถรวาท) |
พระประธาน | พระพุทธรูป ปางสดุ้งมาร ขนาดพระเพลากว้าง 1.50 เมตร |
เจ้าอาวาส | พระอธิการจักรกฤษ เขมจิตฺโต |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดป่าสัก ตั้งอยู่เลขที่ 2 บ้านป่าสัก หมู่ที่ 4 ตำบลดาวเรือง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ บริเวณตั้งวัดเป็นพื้นที่ราบติดริมบึง ที่ดินตั้งที่วัดมีเนื้อที่ 16 ไร่ 38 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 10918[1]
อาณาเขต
[แก้]- ทิศเหนือ จดที่ดินเอกชน
- ทิศใต้ จดคลองสาธารณะ
- ทิศตะวันออก จดที่เอกชน
- ทิศตะวันตก จดบึงสาธารณ
ประวัติ
[แก้]วัดป่าสัก สมัยก่อนชื่อว่า วัดจำปาศักดิ์ หรือ วัดกุด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2421 เดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ตั้งปัจจุบัน แต่เนื่องจากติดที่ดินของชาวบ้านทำให้ไม่สามรถขยายวัดได้ จึงได้ย้ายเสนาสนะมาสร้างขึ้นใหม่ในที่ปัจจุบัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2431[2]
ศาสนวัตถุ
[แก้]- 1.1 พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง 59 นิ้ว สูง - นิ้ว
- 1.2 พระประธานในวิหาร พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง 60 นิ้ว สูง - นิ้ว
- 1.3 พระประธานในศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง 31 นิ้ว สูง 47 นิ้ว
- 1.4 เจดีย์บรรจุดินที่ได้นำมาจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย สร้างในสมัยหลวงพ่อสุข (พ.ศ.2445 - พ.ศ.2447) [3]
- นอกจากนี้ยังมี พระพุทธรูปโบราณ ปางมาวิชัย 1 องค์ ปางห้ามญาติ 1 องค์
เสนาสนะ
[แก้]- 1.1 อุโบสถกว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. - ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2431 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 17 เมตร ยาว 21 เมตร
- 1.2 กุฏิสงฆ์ กุฏิเจ้าอาวาส (มีหอสวดมนต์อยู่ตรงกลาง) รวมเป็น 1 หลัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง
- 1.3 หอสวดมนต์กลางกว้าง 6 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2476
- 1.4 ศาลาการเปรียญ 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. - กว้าง 16 เมตร ยาว 28 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- 1.5 ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
- 1.6 หอระฆัง 1 หลัง
- 1.7 ฌาปนสถาน เมรุ สร้างเมื่อ พ.ศ.- กว้าง - เมตร ยาว - เมตร
- นอกจากนี้ ยังมี โรงเก็บพัสดุ โรงครัว ซุ้มประตูวัด.[4]
ที่เกี่ยวข้อง
[แก้]- ภายในวัดนี้มีโรงเรียนระดับประถมศึกษาของทางราชการตั้งอยู่ด้วย
การบริหารและการปกครอง
[แก้]- 1.หลวงพ่อสุก พ.ศ.2430 - พ.ศ.2440
- 2.หลวงพ่อตาก พ.ศ.2440 – พ.ศ.2445
- 3.หลวงพ่อสุข พ.ศ.2445 – พ.ศ.2447
- 4.หลวงพ่อตั๋น ปสุโต พ.ศ.2447 – พ.ศ.2452
- 5.หลวงพ่อจันทร์ พ.ศ.2452 – พ.ศ.2454
- 6.หลวงพ่อบุญสืบ พ.ศ.2454 – พ.ศ.2466
- 7.หลวงพ่อวัน พ.ศ.2466 – พ.ศ.2478
- 8.หลวงพ่อชุ่ม พ.ศ.2478 – พ.ศ.2482
- 9.หลวงพ่อเรืองเดช พ.ศ.2482 – พ.ศ.2495
- 10.หลวงพ่อปุ่น พ.ศ.2495 – พ.ศ.2500
- 11.หลวงพ่อตั๋น สุธมฺโม พ.ศ.2500 – พ.ศ.2534
- 12.พระอธิการปั๋น อธิปญฺโญ พ.ศ.2534 – พ.ศ.2549
- 13.พระอธิการสวัสดิ์ สนฺตจิตฺโต พ.ศ.2549 - พ.ศ.2554
- 14.พระอธิการจักรกฤษ เขมจิตฺโต พ.ศ.2554 – ปัจจุบัน .[5]
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]ลำดับที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | หลวงพ่อสุก | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2430 | พ.ศ. 2440 | ||
2 | หลวงพ่อตาก | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2440 | พ.ศ. 2445 | ||
3 | หลวงพ่อสุข | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2445 | พ.ศ. 2447 | ||
4 | หลวงพ่อตั๋น ปสุโต | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2447 | พ.ศ. 2452 | ||
5 | หลวงพ่อจันทร์ | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2452 | พ.ศ. 2454 | ||
6 | หลวงพ่อบุญสืบ | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2454]] | พ.ศ. 2466 | ||
7 | หลวงพ่อวัน | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2466 | พ.ศ. 2478 | ||
8 | หลวงพ่อชุ่ม | เจ้าอาวาส | พ.ศ.2478 | พ.ศ. 2482 | ||
9 | หลวงพ่อเรืองเดช | เจ้าอาวาส | พ.ศ.2482]] | พ.ศ.2495]] | ||
10 | หลวพ่อปุ่น | เจ้าอาวาส | พ.ศ.2495]] | พ.ศ.2500]] | ||
11 | หลวงพ่อตั๋น สุธมฺโม | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2500 | พ.ศ. 2534 | ||
12 | พระอธิการปั๋น อธิปญฺโญ | เจ้าอาวาส | พ.ศ.2534 | พ.ศ. 2549 | ||
13 | พระอธิการสวัสดิ์ สนฺตจิตฺโต | เจ้าอาวาส | พ.ศ.2549 | พ.ศ. 2554 | ||
1ฺ4 | พระอธิการจักรกฤษ เขมจิตฺโต |
เจ้าอาวาส | พ.ศ.2554 | - | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:376.
- ↑ [หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กรมการศาสนา กระทรวง ศึกษาธิการ 2528 : 640 – 641.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กรมการศาสนา กระทรวง ศึกษาธิการ 2528 : 640 – 641.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2528 : 640 – 641.
- ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2528 : 640–641.
- หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2528:640–641
- หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม 4 กองพุทธสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2552:376-377