วัดบึง (จังหวัดนครราชสีมา)
วัดบึง | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดบึง |
ที่ตั้ง | ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระประธาน | หลวงพ่อโตอู่ทอง |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดบึง[1] ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 11
ประวัติ
[แก้]วัดบึง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2220 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นวัดที่สร้างพร้อมๆ กับการสร้างเมืองนครราชสีมา โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้โดยพระยายมราช หรือ สังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างผังเมืองเสร็จ จึงโปรดฯ ให้ประชาชน และคฤหบดีและขุนนาง สร้างวัด 6 วัด คือ วัดพระนารายณ์มหาราช(วัดกลาง) วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดบึง และวัดสระแก้ว
วัดบึง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดที่เจ้านาย หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้นสร้างขึ้น เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดี ทั้งทางด้านศิลปกรรและสถาปัตยกรรม คือ พระอุโบสถ พระพุทธรูปประธาน ใบเสมา และองค์ประกอบอื่นๆ และวัดบึงมีสมญานามว่า วัดบึงขุนนาง
พระอุโบสถ
[แก้]พระอุโบสถ ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าว 12.15 เมตร ยาว 22 เมตร สูง 30 เมตร หลังคาลาด 4 ชั้น เครื่องบนเป็นไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ฐานมีลวดลายบัวโค้งเป็นฐานสำเภา เรียกตามภาษาช่างว่า โค้งปากตะเภา สองข้างผนังชั้นนอกมีคันทวยข้างละ 6 ตัว รวม 12 ตัว ทำเป็นรูปนาคแกะสลักไม้ประดับด้วยกระจกสี ประตูทางเข้าด้านหน้ามี 3 ประตู ด้านหลังมี 2 ประตู อกเลาประตูแกะสลักลวดลายไทย มีหน้าต่งด้านละ 5 ช่อง รวม 10 ช่อง
ส่วนด้านบนของพระอุโบสถ ด้านทิศตะวันออกหน้าบันไม้แกะสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ อย่ตรงกลางรอบข้างเป็นลายก้านขด ทิศตะวันตกหน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทางครุฒวาหนะท่านกลางก้านลายขด มีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ประดับด้วยกระจกสี
พระประธานในพระอุโบสถ
[แก้]พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อโตอู่ทอง) ขนาดหน้าตัก กว้าง 6 ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิราบพระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม ลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
อ้างอิง
[แก้]