วัดนางพญา (จังหวัดสุโขทัย)
วัดนางพญา (อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย) | |
---|---|
![]() ![]() พระวิหารและเจดีย์ประธานทรงลังกา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 | |
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
ประเภท | วัด โบราณสถานภายในกำแพงเมือง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย |
สถาปัตยกรรม | สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา |
เมือง | อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย |
ประเทศ | ![]() |
เริ่มสร้าง | พุทธศตวรรษที่ 21[1] |
ในกำกับดูแลของ | กรมศิลปากร |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
โครงสร้าง | ศิลาแลงฉาบปูน |
เกณฑ์พิจารณา: วัฒนธรรม: (i), (iii) เลขอ้างอิง: 0004282 |
วัดนางพญา เป็นโบราณสถานภายในกำแพงเมืองทางทิศตะวันออก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตั้งอยู่บนแนวแกนเดียวกันกับวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ และวัดเจดีย์เจ็ดแถว มีจุดเด่นคือกำแพงลวดลายปูนปั้นที่มีสภาพสมบูรณ์ ปรากฏอยู่บนผนังวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือของวิหาร
ประวัติของวัดนางพญา
[แก้]ประวัติของวัดแห่งนี้บอกไว้ว่า “นายเทียน ชาวบ้านในท้องถิ่นได้กราบทูลรัชกาลที่ 6 โดยอ้างเรื่องราวที่อ่านมาจากตำนานฉบับหนึ่งที่ไฟไหม้ไปแล้วว่า วัดนี้สร้างโดย นางพสุจเทวี ธิดาพระเจ้ากรุงจีน ซึ่งเป็นมเหสีของพระร่วง อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุนคำพูดดังกล่าว...” [2]
สถาปัตยกรรม
[แก้]วัดนางพญา มีบริเวณกว้างขวางพอสมควร ภายในวัดมีเจดีย์ทรงลังกาประกอบซุ้มเรือนธาตุเป็นประธาน ก่อด้วยศิลาแลงสูงใหญ่ และมีสภาพสมบูรณ์รอบฐานเจดีย์ มีเสาโคมไฟโดยตลอด มีบันไดขึ้นไปบนเจดีย์ และมีวิหารซึ่งขนาดเจ็ดห้อง ซึ่งเป็นผังที่นิยมสร้างกันในแบบสุโขทัยและสถาปัตยกรรมเมืองเหนือ ภายในวิหารตามเสาทุกด้านมีเทพพนมและลวดลายต่างๆ ทำด้วยสังคโลกไม่เคลือบ[3]
จุดเด่นของวัดนี้คือมีผนังเหลืออยู่ด้านหนึ่งโดยมีลวดลายปูนปั้น (Stucco Decoration) ที่สวยงามอยู่ แต่ปัจจุบันหลุดลอกออกไปพอสมควรแล้ว ทั้งนี้มีการสร้างหลังคาสังกะสีคลุมผนังไว้อีกทีเพื่อการอนุรักษ์ ผนังดังกล่าวเป็นผนังที่ไม่มีหน้าต่าง แต่มีช่องอากาศตามแบบสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น [4]
ประติมากรรมปูนปั้นวัดนางพญา
[แก้]ลายปูนปั้นที่วัดนางพญาประกอบด้วย รูปลวดลายกึ่งมนุษย์กึ่งวานรกำลังวิ่ง รูปลวดลายพรรณพฤกษาและรูปเทพพนม ซึ่งได้รับรูปแบบศิลปะเป็นอิทธิพลมาจากศิลปะล้านนาและศิลปะจีน[5]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ลายปูนปั้นบนผนังวิหารวัดนางพญา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดนางพญา อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย". ทนายอ้วนพาเที่ยว - Chubby Lawyer's Tour. สืบค้นเมื่อ 28 December 2023.
- ↑ โบราณคดี-ศรีสัชนาลัย[ลิงก์เสีย]
- ↑ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ศรีสัชนาลัย[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประติมากรรมปูนปั้นวัดนางพญา". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 28 December 2023.