ข้ามไปเนื้อหา

วัดท่าการ้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดท่าการ้อง
แผนที่
ที่ตั้งบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระประธานหลวงพ่อยิ้ม
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดท่าการ้อง เป็นวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2092 ประมาณ 450 ปี เศษมาแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในปีใด สันนิษฐาว่าคงเป็นวัดที่ราษฎรสร้าง เพราะไม่ปรากฏรายชื่อพระอารามหลวงสมัยอยุธยา ตามบันทึกพระราชพงศาวดาร วัดท่าการ้องมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยามากมาย

ประวัติ

[แก้]

วัดท่าการ้องได้มีการปฏิสังขรณ์มาไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง มีหลักฐานที่กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจใน ปี พ.ศ. 2508 ที่ตั้งในปัจจุบันล้อมรอบด้วยชุมชนอิสลาม พื้นที่ตั้งของวัดโดยรวมเป็นที่ราบอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับ วัดธรรมาราม และ วัดกษัตราธิราช อยู่ห่างจากเกาะเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่นอกพระนครฯด้านทิศตะวันตกหรือบริเวณ ทุ่งประเชต

วัดท่าการ้องในปัจจุบันเกิดจากการรวมพื้นที่วัด 2 วัดเข้าด้วยกัน คือ วัดท่า และ วัดการ้อง โดยพื้นที่ของวัดท่าการ้องในปัจจุบันคือพื้นที่ของวัดท่า ส่วนวัดการ้องอยู่ทางทิศใต้ของวัดท่า ปัจจุบันเหลือแต่พระพุทธรูป ซากเจดีย์และรูปปั้นอีกา1ตัว วัดท่าการ้อง ถูกกล่าวในพระราชพงศาวดารหลายครั้ง ในคราวสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดเกล้าให้ พระสุนทรสงคราม ถือพลหมื่นหนึ่ง ตั้งค่ายป้อมจำปาพลเหนือวัดท่า พลใส่เสื้อดำหมวกดำ ตั้งรับกองทัพพม่า แต่สุดท้ายถูกพระมหาอุปราชา(คือพระเจ้าบุเรงนอง)ตีป้อมจำปาพลแตก

ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ฝ่ายพม่าได้ตั้งค่ายยิงปืนใหญ่ที่วัดท่า กองทัพของกรมอาสาหกเหล่ายกออกไปตีค่ายวัดท่า พม่ายิงปืนถูกนายเริกที่รำดาบอยู่หน้าเรือตกน้ำตาย กองทัพแตกถอยหนีเข้ากรุงศรีอยุธยา และอีกาจากวัดการ้องบินมาเสียบอกตายอยู่บนปลายยอดนภศูลวัดมหาธาตุ นอกจากนี้บริเวณวัดท่าการ้องยังเป็นที่ตั้งของโรงเรือรบน้ำจืดขนาดใหญ่เพื่อเป็นที่เก็บเรือสำเภาและเรือรบน้ำจืด [1]

วัดท่าและวัดการ้องได้รวมวัดกันเป็นวัดท่าการ้อง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-14. สืบค้นเมื่อ 2018-11-09.