ข้ามไปเนื้อหา

วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้

พิกัด: 21°38′32.7″N 96°03′17.06″E / 21.642417°N 96.0547389°E / 21.642417; 96.0547389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้
တမုတ်ရှင်ပင်ရွှေဂူကြီးဘုရား
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาท
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเจาะแซ ภาคมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัดภูมิศาสตร์21°38′32.7″N 96°03′17.06″E / 21.642417°N 96.0547389°E / 21.642417; 96.0547389
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งพระเจ้าอโนรธามังช่อ
ลงเสาเข็มคริสต์ศตวรรษที่ 11
เสร็จสมบูรณ์คริสต์ศตวรรษที่ 14

วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้ หรือ เจดีย์ตะโมะชีนบีนชเวกูจี้ (พม่า: တမုတ်ရှင်ပင်ရွှေဂူကြီးဘုရား) เป็นวัดพุทธในเมืองเจาะแซ ภาคมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า[1] เดิมสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ และชั้นสองได้รับการต่อเติมโดยพระเจ้านรปติสี่ตู่ ทั้งสองชั้นถูกหุ้มอยู่ในวิหารขนาดใหญ่ที่สร้างโดย พระเจ้าอุซะนาแห่งอาณาจักรปี้นยะ เป็นหนึ่งในเก้าวัดนอกเมืองโบราณที่บ่งบอกถึงขอบเขตอาณาจักรพุกาม[2][3]

ที่ตั้ง[แก้]

วัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจากเจาะแซ บนถนนที่มุ่งสู่ตะด้าอู้ ใกล้กับหมู่บ้านจองปานโกนและญองบีนเซาะ[4]

ประวัติศาสตร์[แก้]

วัดชั้นแรกสร้างขึ้นโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อในคริสต์ศตวรรษที่ 11 และชั้นที่สองโดยพระเจ้านรปติสี่ตู่ พระราชนัดดาของพระองค์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 มีการตกแต่งเรื่องราวชาดกบนระเบียงชั้นบน และชั้นท้ายสุดโดยพระเจ้าอุซะนาแห่งอาณาจักรปี้นยะ ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อปกป้องภัยจากธรรมชาติมากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปวัดแห่งนี้ก็ถูกซ่อนอยู่ใต้เนินดิน ซึ่งในปี ค.ศ. 1915 ก็มีการสร้างเจดีย์ใหม่ประดับอยู่บนเนินดิน ค.ศ. 1993 มีการพบร่องรอยของโครงสร้างอิฐโบราณบางส่วนที่เชิงเนิน แต่ได้รับอนุญาตให้ขุดค้นในปี ค.ศ. 2008 เนื่องจากกังวลว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้วัดที่ห่อหุ้มเสียหาย[5][6][7][8]

ค.ศ. 2015 กระทรวงกิจการศาสนาและวัฒนธรรม กำหนดให้วัดตะโมะชีนบีนชเวกูจี้ เป็นมรดกโบราณสถานของประเทศพม่า[9][10][11][12]

คลังภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ကျောက်ဆည် တမုတ်ရွှေဂူကြီးဘုရားဗုဒ္ဓဝင်ပြတိုက် ရှေးဟောင်းနယ်မြေပြင်ပတွင် ဆောက်လုပ်မည်". The Voice Weekly (ภาษาพม่า). 25 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  2. "Tamote Shinpin Shwegugyi (Ta Mok Shwe-gu-gyi) Temple". Shwe Myanmar Info (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  3. "ပုဂံခေတ်လက်ရာ တမုတ်ရွှေဂူကြီးဘုရား ထိန်းသိမ်းရေး ထိုင်း ကူညီမည်". The Irrawaddy (ภาษาพม่า). 14 March 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  4. "ဗိသုကာလက္ရာထူးေတြနဲ႔ တမုတ္ရွင္ပင္ေရႊဂူဘုရား". The Standard Time Daily (ภาษาพม่า). 27 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  5. "Amazing discovery in Kyaukse region". The Myanmar Times. 3 October 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2018. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  6. "တမုတ်ရွှေဂူကြီး အမိုးခုံးကို ဒီဇင်ဘာလတွင် စတင် ဆောက်လုပ်မည်". The Myanmar Times (ภาษาพม่า). 8 November 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  7. ""The Encased Buddhist Monuments and Buddha Statues found in Myanmar"" (PDF). Asia Pacific Sociological Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-05. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  8. Fame, Asian (8 May 2017). "ေခတ္သုံးေခတ္႐ုပ္ပြားဆင္းတုေတာ္မ်ားတည္ရွိရာ တမုတ္ရွင္ပင္ေရႊဂူႀကီးဘုရား". Popular News Journal (ภาษาพม่า). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2023.
  9. "တမုတ်ရှင်ပင်ရွှေဂူကြီး စေတီပရိဝုဏ်ကို ရှေးဟောင်းဇုန်အဖြစ် သတ်မှတ်". 7Day News (ภาษาพม่า). 15 December 2015.
  10. "တမုတ်ရွှေဂူကြီးဘုရားကို ရှေးဟောင်း အမွေအနှစ်စာရင်း၌ ထည့်သွင်းမည်". The Irrawaddy (ภาษาพม่า). 7 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2022. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  11. "တမုတ်ရှင်ပင်ရွှေဂူဘုရားကို ရှေးဟောင်းအမွေအနှစ်အဖြစ် သတ်မှတ်ရန် တင်ပြထား". The Myanmar Times (ภาษาพม่า). 2 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
  12. "Bagan-era pagoda in line for listing". The Myanmar Times. 1 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2021. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.