วัดดอยแท่นพระผาหลวง
วัดดอยแท่นพระผาหลวง | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
![]() |
วัดดอยแท่นพระผาหลวง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติ
[แก้]วัดดอยแท่นพระผาหลวงตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 1900[1] ประวัติวัดระบุว่าตั้งเมื่อ พ.ศ. 1924 มีตำนานเล่าว่าก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้เคยมาเสวยภัตกิจ ณ แท่นหินศิลาขนาดใหญ่ และได้ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า ภายหน้าหินก่อนนี้จะปรากฏชื่อ ผาหลวงแท่นพระ ซึ่งคือที่ตั้งวัดปัจจุบัน
ครูบาเจ้าศรีวิชัยเคยมาจำพรรษาที่วัดนี้ หลังจากนั้นจึงได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2519 พระอาจารย์วัลลภกิตติภัทโต อดีตเจ้าอาวาสวัดดอยแท่นพระผาหลวง ได้พบวัดนี้ระหว่างธุดงค์และได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้น ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จมายังบ่อน้ำของวัด เพื่อทอดพระเนตรสภาพผืนป่า ทรงมีรับสั่งให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กรมชลประทาน และหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมกันฟื้นฟูผืนป่าบ้านโปปง[2]
เสนาสนะและปูชนียวัตถุ
[แก้]อุโบสถมีลักษณะเก่าเป็น 4 เหลี่ยมผืนผ้าเป็นไม้สักทั้งหลังและชั้นเดียว พระที่อยู่ด้านในจะหันหลังให้ ส่วนประตูมีนางเทวดาติดที่ประตูและมีค้านกันให้เดินเข้าไปและมีรูปวาดติดประตูที่ต่างจากวัดอื่นและอุโบสถ์ตั้งอยู่หลังก้อนหินหรือแท่นพระ เจดีย์สีเงินและรอบเจดีย์มีนักสัตว์ซึ่งยอดเจดีย์เป็นสีทองและตรงด้านล่างของเจดีย์ประดับไปด้วยแก้วที่มีหลากหลายสีติดรอบเจดีย์และตั้งอยู่ที่สูงมีบันได 100 กว่าขั้น บันไดทางขึ้นมีรูปปั้นพญานาคอยู่ขนาบทั้ง 2 ข้าง ระหว่างทางเดินขึ้นบันไดมีระฆังแขวน[3]
ปูชนียวัตถุ ได้แก่ พระประธานศิลปะเชียงแสนยุคต้น อายุกว่า 700 ปี[4] แท่นผาหินก้อนใหญ่ รอยพระพุทธบาท จารึกแผ่นไม้ รั้วเหล็กที่มีการจารึกอักษรล้านนาโบราณ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดดอยแท่นพระผาหลวง". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
- ↑ "ตำนานดอยแท่นพระผาหลวง". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "วัดดอยแท่นพระผาหลวง". กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
- ↑ "หนี่งเดียวในล้านนา ความมหัศจรรย์ ที่วัดดอยแท่นพระผาหลวง -แม่โจ้". เชียงใหม่นิวส์.[ลิงก์เสีย]