ข้ามไปเนื้อหา

วัดขุนพรหม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดขุนพรหม
แผนที่
ที่ตั้งตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดขุนพรหม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ไกลจากป้อมเพชรมากนัก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชุมชนแถบวัดขุนพรหมมีชื่อเสียงด้านผลิตผ้าพิมพ์มาตั้งแต่อดีต เนื่องจากผู้คนในสมัยกรุงศรีอยุธยานิยมมอบผ้าลักษณะต่าง ๆ ให้แก่กันเพื่อแสดงถึงฐานะและตำแหน่งของผู้สวมใส่ พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงมอบผ้าให้เป็นบำเหน็จรางวัลแก่ข้าราชการที่ทำความดีความชอบให้แก่บ้านเมือง จากข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2100 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2120[1]

เดิมวัดมีศาลาการเปรียญอายุกว่า 100 ปี แต่ถล่มลงมาขณะซ่อมแซม แต่พระประธานในศาลาการเปรียญไม่ได้รับความเสียหาย วัดมีศาลพระพรหมขนาดใหญ่หันหน้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา และมีปูชนียวัตถุสมัยทวารวดี คือพระศิลาขาวประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ครบ[2] เชื่อว่าพระมหาเถรศรีศรัทธา (หลานพ่อขุนผาเมือง) เจ้านายรัฐสุโขทัย เก็บรวบรวมซากปรักหักพังพระพุทธรูปหินทรายนั่งห้อยพระบาท 4 องค์ จากวัดพระเมรุ (นครปฐม) เก็บไว้ที่นครปฐม 2 องค์ อีก 2 องค์ ขนลงเรือไปที่วัดพญากง อยุธยา ต่อมามีผู้ขนย้ายเศษซากพระพุทธรูปหินทรายบางส่วนจากวัดพญากงไปไว้วัดขุนพรหม บางส่วนถูกขโมยไปขาย เช่น เศียรขนาดใหญ่[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รายงานทะเบียนวัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  2. "พระศิลา…ทวารวดีที่นครปฐม : ตอน ๒ พระศิลามีกี่องค์". ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก.
  3. สุจิตต์ วงษ์เทศ. "พระพุทธรูปทวารวดี จากนครปฐม พบที่วัดพญากง อยุธยา". มติชน.