ข้ามไปเนื้อหา

วอลเลย์บอลนั่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทีมชาติเนเธอร์แลนด์พบทีมชาติญี่ปุ่นในการแข่งขันหญิง ในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอน

วอลเลย์บอลนั่ง (อังกฤษ: Sitting volleyball) บางครั้งเรียกในชื่อ วอลเลย์บอลพาราลิมปิก (Paralympic volleyball) เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลสำหรับนักกีฬาคนพิการที่ได้รับการเปิดตัวในกีฬาพาราลิมปิก ในฐานะกีฬาสาธิตสำหรับคนพิการใน ค.ศ. 1976 ที่โทรอนโต ประเทศแคนาดา และได้มาเป็นกีฬาชิงเหรียญรางวัลหลังจากนั้น

กติกา

[แก้]

ในกีฬาวอลเลย์บอลนั่ง จะมีตาข่ายกว้าง 0.8 เมตร ซึ่งกำหนดระดับความสูงไว้ที่ 1.15 เมตรสำหรับการแข่งขันชาย และ 1.05 เมตรสำหรับการแข่งขันหญิง ส่วนสนามจะมีขนาดที่ 10 x 6 เมตร กับเขตรุกที่ระยะ 2 เมตร ผู้เล่นต้องมีสะโพกสัมผัสกับพื้นเป็นอย่างน้อยเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาได้สัมผัสกับลูก ซึ่งรวมถึงการบล็อก การเสิร์ฟ และการแข่งขันจะมีการเล่นใหม่แบบทั่วไป[1] นักกีฬาต่อไปนี้มีสิทธิ์ที่จะแข่งขันวอลเลย์บอลนั่ง: คนที่ถูดตัดแขนหรือขา, ผู้บาดเจ็บที่เส้นประสาทไขสันหลัง, สมองพิการ, สมองได้รับความเสียหาย และผู้มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะไม่มีการแบ่งประเภทของนักกีฬาโดยความพิการ[2]

การแข่งขันชิงแชมป์

[แก้]

ในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 ของการแข่งขันชาย ชนะโดยทีมชาติบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และได้รับรางวัลเหรียญทอง ส่วนการแข่งขันหญิงตกเป็นของทีมชาติจีน[3] นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันวอลเลย์บอลนั่งชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ใน ค.ศ. 2014

ดูเพิ่ม

[แก้]
การแข่งขันวอลเลย์บอลนั่งชายระหว่างทีมกองทัพเรือสหรัฐ-หน่วยยามฝั่ง และกองทัพบกสหรัฐ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ng, Kwok (2012). When Sitting is Not Resting: Sitting Volleyball. Bloomington, IL: Authorhouse. p. 152. ISBN 978-1-4772-1789-4.
  2. "Medal Quest (PBS): Sitting Volleyball (2008)". สืบค้นเมื่อ 2012-06-12.
  3. "Sitting Volleyball - Medals". london2012.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-06. สืบค้นเมื่อ 9 September 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]