วอยแต็ก
วอยแต็กอยู่ขวา | |
สปีชีส์ | Ursus arctos syriacus |
---|---|
เพศ | ผู้ |
เกิด | ค.ศ. 1942 จังหวัดฮามาดัน จักรวรรดิอิหร่าน |
ตาย | ธันวาคม ค.ศ. 1963 (อายุ 20-21 ปี) สวนสัตว์เอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ |
อาชีพ | ทหาร (สิบโท) |
นายจ้าง | กองร้อยขนส่งที่ 22 กองทัพน้อยที่สองของโปแลนด์ |
ปีปฏิบัติงาน | 1942–1947 |
น้ำหนัก | [convert: %s]%s |
ส่วนสูง | [convert: %s]%s |
วอยแต็ก (อังกฤษ: Wojtek, ออกเสียง: [ˈvɔjtɛk], แปล : นักรบยิ้ม) เป็นหมีซีเรียสีน้ำตาล ที่เข้าประจำการเป็นทหารของสาธารณรัฐโปแลนด์ ติดยศสิบโทในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ประวัติ
[แก้]วอยแต็กเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1942 ในพื้นที่ของจังหวัดฮามาดันในอิหร่าน แม่ของมันถูกยิงตายซึ่งตัวมันถูกเด็กคนหนึ่งเก็บมา ระหว่างที่ทหารชาวโปแลนด์ กองร้อยสรรพาวุธกระสุนปืนใหญ่ที่ 22 กำลังข้ามเทือกเขาอัลบอร์ซทางตอนเหนือของอิหร่านได้พบกับเด็กคนนั้นซึ่งเขาได้นำลูกหมีมาขอแลกกับอาหาร เมื่อกองร้อยสรรพาวุธฯ เดินทางมาถึงปาเลสไตน์ ลูกหมีตกไปอยู่ในความดูแลของกองร้อยขนส่งที่ 22 ซึ่งทหารในกองร้อยนี้ก็ตั้งชื่อให้มันว่า "วอยแต็ก"
วอยแต็กที่ย้ายเข้ามากลายเป็นที่รักอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่มันจะอยู่กับเพื่อนสนิทที่เป็นทหารอยู่สองคน ของโปรดที่สุดของวอยแต็กคือเบียร์และไวน์ ซึ่งมันจะเป็นผู้ทดสอบรสชาติของไวน์ว่าบ่มได้ที่หรือยัง นอกจากนี้ วอยแต็กยังโปรดปรานการสูบบุหรี่ ซึ่งในตอนแรกจะสูดควันเข้าไปก่อนก่อนที่จะกินเข้าไปทั้งอัน
เวลาผ่านไป วอยแต็กโตขึ้นและมีขนาดร่างกายที่ใหญ่โต รักความสะอาด และสามารถทำวันทยหัตถ์ทักทายทหารคนอื่น ๆ ได้ วอยแต็กชื่นชอบกีฬามวยปล้ำมาก บ่อยครั้งที่มันเล่นมวยปล้ำกับทหารคนอื่น ๆ นอกจากนี้วอยแต็กยังเป็นยามที่ดี คืนหนึ่งมีโจรอาหรับลอบเข้ามาจะขโมยกระสุนซึ่งเข้าไปในจุดที่วอยแต็กนอนหลับอยู่ เมื่อโจรเห็นวอยแต็กก็อุทานเสียงดังจนถูกจับในที่สุด
การเข้าเป็นทหาร
[แก้]เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1943 โปแลนด์ต้องทำสงครามกับอิตาลี หากวอยแต็กมีสถานะเป็นสัตว์จะไม่สามารถจะเดินทางไปกับทหารคนอื่น ๆ นั่นเองทำให้มีการบรรจุวอยแต็กเข้าเป็นทหารอย่างเป็นทางการ มีการติดยศและหมายเลขประจำตัวพร้อมออกสมุดเบี้ยทหารประจำตัวให้ เมื่อกองร้อยบุกเข้ามาในอิตาลีและกำลังจะบุกมอนเตกัสซีโน (Monte Cassino) ที่ยึดครองโดยนาซีเยอรมนี ระหว่างการรบ วอยแต็กที่มีไหวพริบได้ช่วยแบกกระสุนปืนใหญ่จากรถบรรทุกไปที่ปืนใหญ่ โดยไม่มีการทำหล่นเลยซักครั้ง[1] แม้จะมีเสียงดังจากการยิงปืนใหญ่ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับวอยแต็ก ภายหลังสงครามครั้งนี้ กองร้อยขนส่งที่ 22 ได้ใช้รูปวอยแต็กกำลังแบกกระสุนปืนใหญ่เป็นเครื่องหมายหน่วย[2] ภายหลังสงครามจบลงใน ค.ศ. 1945 ทหารโปแลนด์กับวอยแต็กถูกส่งไปประจำการที่หมู่บ้านในสกอตแลนด์
หลังสงคราม
[แก้]ในสกอตแลนด์ วอยแต็กได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่และผู้สื่อข่าวมาก สมาคมโปแลนด์-สกอตแลนด์ได้ให้เกียรติวอยแต็กเป็นหนึ่งในสมาชิกสมาคมฯ วอยแต็กได้รับการปลดประจำการจากการเป็นทหารในวันที่ 15 พฤศจิกายน 1947 และจึงย้ายไปอยู่ที่สวนสัตว์เอดินบะระ ที่นั่นมักมีนักหนังสือพิมพ์รวมถึงทหารชาวโปแลนด์ไปเยี่ยมมันบ่อย ๆ และบ่อยครั้งที่มีคนนำบุหรี่มาให้มัน แต่มันก็ได้เพียงแค่กินบุหรี่เท่านั้นเพราะไม่มีใครจุดไฟให้[3] วอยแต็กตายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1963 ด้วยอายุราว 22 ปี ในตอนที่ตายวอยแต็กมีน้ำหนัก 230 กิโลกรัม และสูง 1.8 เมตร[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Orr, Aileen (1 November 2010). Wojtek the Bear - Polish War Hero. Birlinn Publishers. p. 45. ISBN 978-1-84158-845-2.
- ↑ 2.0 2.1 "Private Wojtek, the 35 stone bear who battled Nazis to be remembered with statue". Mail Online. 14 October 2010. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
- ↑ Hale, Beth (25 January 2008). "The hero bear who went to war (and loved a smoke and a beer)". Mail Online. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Honour sought for 'Soldier Bear'". BBC News. London: BBC. 25 January 2008.
- Polec, Patryk (2008). "Wojtek The Soldier Bear - In the Ranks of Victors". wojtek-soldierbear.weebly.com.
- "Wojtek the Bear". wojtekthebear.com. 2014.
- "Kresy-Siberia Virtual Museum". kresy-siberia.org. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20. Site devoted to preserving the history into which Wojtek fits.
- Burman, J. (25 June 2011). "Polish veteran had special comrade". The Hamilton Spectator.
- Vennard, Martin (16 November 2011). "Story of Poland's 'soldier bear' Wojtek turned into film". BBC World Service.
- "Article in Polish with lots of links about Wojtek". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-06. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
- One Photo One Story: Wojtek the Soldier Bear, Culture.pl