ฤดูฝน
ส่วนหนึ่งของชุดธรรมชาติ |
สภาพอากาศ |
---|
ฤดูฝน หรือ วัสสานฤดู เป็นช่วงที่มีปริมาณฝนโดยเฉลี่ยตลอดทั้งเดือนเกินกว่า 60 มิลลิเมตร มากกว่า 1 เดือนขึ้นไป[1] และมีปริมาณฝนโดยรวมสูงสุดของปี โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคมสำหรับในเขตซีกโลกเหนือ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ฤดูฝนยังทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและยังช่วยขจัดสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองภายในอากาศด้วย ฝนนั้นเกิดจากการควบแน่นของก๊าซและกลายเป็นของเหลวตกลงมาซึ่งฤดูฝนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในโลกเป็นอย่างมาก และยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้นอีกด้วย
ลักษณะของฝนในฤดูฝนนั้น เกี่ยวข้องกับกระแสลมที่เรียกว่าลมมรสุม ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบของการเกิดฝนของพื้นที่ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน โดยฝนในฤดูฝนนี้ ส่วนมากมักจะตกในช่วงบ่ายแก่ๆถึงค่ำ[2] เนื่องมาจากแสงอาทิตย์ ที่ส่องในช่วงกลางวันทำให้พื้นดินร้อนขึ้น แล้วทำให้อากาศที่มีความชื้นสูงจากการพัดเอาความชื้นจากทะเลอันดามันของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มาสู่ประเทศไทย ลอยตัวสูงขึ้นและก่อตัวเป็นเมฆในชั้นบรรยากาศ[3]ชั้นโทรโปสเฟียร์ช่วงบน ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ โดยจะมีการสะสมหยดน้ำไปเรื่อยๆ เมื่อสะสมจนถึงจุดหนึ่งที่บรรยากาศรับน้ำหนักไอน้ำไม่ไหว ก็จะตกลงมาเป็นฝน ซึ่งฝนชนิดนี้เรียกว่า ฝนที่เกิดจากการพาความร้อน (convective rain) ซึ่งมักจะตกพอดีกับช่วงเย็น และมักมีการกระจายของฝนเป็นหย่อมๆไปทั่ว
นอกจากการพาความร้อนแล้ว ฝนในฤดูฝนยังสามารถมาจากการพาดผ่านของร่องความกดอากาศต่ำ (Low-pressure through) หรือชื่อทางวิชาการว่า แนวปะทะอากาศแห่งเขตร้อน (Intertropical Convergence Zone, ITCZ) [4] ซึ่งเกิดจากการประทะหรือพัดสอบกันของลมค้าตะวันออกเฉียงใต้จากซีกโลกใต้กับลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือจากซีกโลกเหนือ ซึ่งทำให้เกิดการยกตัวของอากาศขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจนเป็นสาเหตุให้เกิดฝนตกชุกในบริเวณที่มีการพาดผ่านของแนวร่องความกดอากาศต่ำนี้ สำหรับฝนชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่า ฝนที่เกิดจากแนวปะทะอากาศแห่งเขตร้อน (Intertropical Convergence Zone Rain)[5]
สำหรับในประเทศไทย การพาดผ่านของแนวร่องความกดอากาศต่ำนี้จะเริ่มประมาณเดือนเมษายนในบริเวณภาคใต้ แล้วจึงเริ่มเกิดการเคลื่อนไปพาดในแถบภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนตามลำดับ จากนั้น ประมาณปลายเดือนมิถุนายนจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศจีนตอนใต้ซึ่ง ทำให้ปริมาณฝนลดลงในช่วงดังกล่าว ซึ่งกินเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่บางครั้งก็อาจจะยาวนานถึง 1 เดือนได้ ซึ่งเรียกปรากฎการณ์นี้ว่าว่า ฝนทิ้งช่วง จากนั้นประมาณเดือนสิงหาคม ร่องความกดอากาศต่ำก็จะเริ่มเลื่อนลงมาพาดผ่านประเทศไทยอีกครั้ง ทำให้เกิดฝนตกชุกต่อเนื่องอีกครั้ง[6]
นอกจากนี้แล้ว พายุหมุนเขตร้อนก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการก่อฝนในฤดูฝน โดยมักจะมีช่วงในการเกิดประมาณเดือนมิถุนายน-ธันวาคม ฝนที่เกิดจากพายุหมุนเขตร้อนนี้ จะมีลักษณะการตกเป็นบริเวณกว้างครอบคลุมบริเวณที่พายุเคลื่อนผ่าน ประกอบกับมีลมพัดแรงด้วย[7] อย่างไรก็ตาม ฝนในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร หรือในเขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น จะมีปริมาณฝนในแต่ละเดือนที่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี[8]
ผลกระทบ
[แก้]ในด้านการเกษตร การเพาะปลูกจะให้ผลดีเป็นอย่างมากเนื่องมาจากปริมาณฝนที่มาก[9] แต่ปริมาณการชะล้างหน้าดินก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในแง่ของคุณภาพอากาศ ในฤดูฝนเป็นช่วงที่อากาศมีคุณภาพมากที่สุด [10] เนื่องจากการพัดผ่านของลมมรสุมและการชะล้างมลพิษในบรรยากาศจากการตกของฝน
การที่ฝนตกอย่างต่อเนื่องในฤดูฝน ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มได้ อันเนื่องมาจากปริมาณน้ำที่มากขึ้นจนดินไม่สามารถอุ้มน้ำได้อีกต่อไป รวมทั้งการที่น้ำในแม่น้ำสูงจนเกินระดับตลิ่ง รวมทั้งการที่พายุหมุนเขตร้อนขึ้นฝั่งก็สร้างความเสียหายอย่างมากแก่บริเวณที่พายุขึ้นฝั่งเช่นกัน[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ M. C. Peel. "Updated world map of the K ̈oppen-Geiger climate classification" (PDF). Hydrology and Earth System Sciences. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ บัญชา ธนบุญสมบัติ. "022 ทำไมฝนชอบกระหน่ำหลังเลิกงาน?". สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ฝน หรือน้ำฝน (Rain)". กองข่าวอากาศ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ บัญชา ธนบุญสมบัติ. "ฝนเอยทำไมถึงตก?" (PDF). ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-21. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ฤดูกาล (Seasons)". สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ฤดูกาลของประเทศไทย". กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พายุหมุนเขตร้อน". ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-21. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เขตภูมิอากาศของโลก". โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประโยชน์ของฝนที่มีต่อพืช" (PDF). กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Mei Zheng (2000). The sources and characteristics of atmospheric particulates during the wet and dry seasons in Hong Kong. เก็บถาวร 2012-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University of Rhode Island. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
- ↑ "อุทกภัย(Flood)". กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)