ข้ามไปเนื้อหา

ฟ้าแลบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสงของฟ้าแลบขณะเกิดฟ้าร้อง

ฟ้าแลบ คือปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนภายในเมฆ หรือระหว่างเมฆกับเมฆ หรือเกิดขึ้นระหว่างเมฆกับพื้นดิน เป็นแสงที่เกิดวาบขึ้นในท้องฟ้าลักษณะเป็นเส้นหรือแผ่น เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่ผ่านอากาศเป็นเหตุให้เกิดความร้อนสูงมากจนปรากฏเป็นแสงสว่างวาบขึ้น[1]

ฟ้าแลบและฟ้าร้องเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่เรามองเห็นฟ้าแลบก่อนได้ยินเสียงฟ้าร้อง เนื่องจากแสงมีความเร็วมากกว่าเสียง แสงมีอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ส่วนเสียงมีอัตราเร็วประมาณ 1/3 กิโลเมตรต่อวินาทีเท่านั้น[2]

การเกิด

[แก้]
เสียงของฟ้าร้อง
ภาพเคลื่อนไหวขณะเกิดฟ้าแลบที่เมืองตูลูซ ประเทศฝรั่งเศส

ฟ้าแลบเกิดขึ้นพร้อมกับฟ้าร้อง แต่มนุษย์เรามองเห็นฟ้าแลบก่อนได้ยินเสียงฟ้าร้อง เนื่องจากแสงเดินทางเร็วกว่าเสียง ประกายไฟฟ้าของฟ้าแลบ 1 ครั้ง มีปริมาณไฟฟ้าจำนวนสูงถึง 200,000 แอมแปร์ และมีความต่างศักย์ถึง 30 ล้านโวลต์ ฟ้าแลบเกิดจากประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่จากก้อนเมฆสู่ก้อนเมฆ จากก้อนเมฆสู่พื้นดิน โดยมีขั้นตอนคือ ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ถ่ายเทในก้อนเมฆมีการเคลื่อนที่หลุดออกมาและถ่ายเทสู่อาคารสิ่งก่อสร้าง หรือต้นไม้สูงบนพื้นดิน เหตุการณ์เหล่านี้ใช้เวลาน้อยกว่า 1 วินาที และเกิดเป็นแสงของฟ้าแลบ ซึ่งบางครั้งลำแสงมีความยาวถึง 60 - 90 เมตร[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
  2. "ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า - LESA: ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์". www.lesa.biz. 3 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-19. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2018.
  3. "การเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า - OKnation". oknation.nationtv.tv. 3 January 2018. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2018.

บรรณานุกรม

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]