ข้ามไปเนื้อหา

พอร์พอยส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วงศ์พอร์พอยส์)
พอร์พอยส์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 15.970–0Ma ไมโอซีน-ปัจจุบัน
โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Neophocaena phocaenoides) เป็นพอร์พอยส์ชนิดที่ไม่มีครีบหลัง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
อนุอันดับ: Odontoceti
วงศ์ใหญ่: Delphinoidea
วงศ์: Phocoenidae
Gray, 1825[1]
สกุล
ดูในเนื้อหา


พอร์พอยส์[2] (อังกฤษ: Porpoise[1]; การออกเสียง /ˈpɔːrpəs/) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Phocoenidae

พอร์พอยส์ จัดเป็นวาฬมีฟันขนาดเล็ก ลักษณะทั่วไปคล้ายกับโลมาทะเล (Delphinidae) แต่มีความแตกต่างไปจากโลมาทั่วไป คือ มีรูปร่างที่เล็กกว่า และมีรูปทรงที่อ้วนกลมกว่า อีกทั้งสรีระร่างกายของพอร์พอยส์ไม่อาจจะเก็บความอบอุ่นไว้ได้นาน ทำให้สูญเสียพลังงานในร่างกายได้รวดเร็วกว่า จึงต้องกินอาหารบ่อยครั้งและมากกว่าโลมาทะเลเพื่อสร้างพลังงานและความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย

นอกจากนี้แล้ว ครีบหลังของพอร์พอยส์นั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายกับครีบของปลาฉลาม แต่มีความสั้นทู่ ซึ่งในบางครั้งจะมีปุ่มขนาดเล็กเรียกว่า ทูเบอร์เคิล อยู่ตรงขอบครีบ ลักษณะของจมูกของพอร์พอยส์นั้นสั้นทู่และกลมกว่าโลมาทั่วไป ลักษณะของฟันก็มีลักษณะเล็ก ๆ เป็นตุ่มไม่แหลมคม ส่วนกระดูกคอนั้นติดต่อกับกระดูกสันหลัง ทำให้ไม่อาจจะขยับส่วนคอไปมาได้อย่างอิสระเหมือนโลมา และพฤติกรรมก็แตกต่างไปจากโลมาด้วย ได้แก่ ฝูงของพอร์พอยส์มีขนาดเล็กกว่า คือ มีจำนวนสมาชิกในฝูงเพียง 2–4 ตัวเท่านั้น ไม่ได้มีกันหลายสิบหรือร้อยตัวเหมือนโลมาทะเล และมีพฤติกรรมขี้อาย เกรงกลัวมนุษย์ ผิดกับโลมาทะเล และเป็นโลมาที่มีอายุขัยสั้นเพียงแค่ 20 ปีเท่านั้น

พอร์พอยส์ นับเป็นสัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ วิกีตา พบกระจายพันธุ์ทางตอนเหนือของอ่าวแคลิฟอร์เนีย มีขนาดโตเต็มที่ไม่ถึง 2 เมตรด้วยซ้ำ ขณะที่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก็มีความยาวเพียง 2.3 เมตรเท่านั้น[3] [4]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า "พอร์พอยส์" (Porpoise) เป็นคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาในทวีปเอเชียอื่น ๆ พอร์พอยส์มักมีการเปรียบเทียบกับโลมาและหนู เช่น ในภาษาจีน พอร์พอยส์มีความหมายตรงตัวว่า "โลมาหนู" (鼠海豚) และ ในภาษาเวียดนาม พอร์พอยส์มีความหมายตรงตัวว่า "โลมาหนู" (Cá heo chuột) ซึ่งมีความหมายว่า "โลมาขนาดเล็ก" ส่วนคำว่า "โลมา" ในภาษาเอเชียดังกล่าวก็มีความหมายตรงตัวว่า "หมูทะเล"

การจำแนก

[แก้]

แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 6 ชนิด[1] พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว[5] ขณะที่บางสกุลก็ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Phocoenidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  2. วาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518)
  3. Gaskin, David E. (1984). Macdonald, D.. ed. The Encyclopedia of Mammals. New York: Facts on File. pp. 196–199. ISBN 0-87196-871-1.
  4. Read, Andrew (1999). Porpoises. Stillwater, MN, USA: Voyageur Press. ISBN 0-89658-420-8.
  5. "ชนิดของโลมาและปลาวาฬที่พบได้ในประเทศไทย". กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
  6. Ichishima, H. & Kimura, M.. 2005. "Harborophocoena toyoshimai, a new early Pliocene porpoise (Cetacea, Phocoenidae) from Hokkaido, Japan". Journal of Vertebrate Paleontology 25(3):655-664
  7. Ichishima, H. & Kimura, M.. 2000. "A new fossil porpoise (Cetacea; Delphinoidea; Phocoenidae) from the early Pliocene Horokaoshirarika Formation, Hokkaido, Japan". Journal of Vertebrate Paleontology 20(3):561-576
  8. Lambert, O.. 2008. "A new porpoise (Cetacea, Odontoceti, Phocoenidae) from the Pliocene of the North Sea". Journal of Vertebrate Paleontology 28(3):863-872

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]