ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์ปลาเหาฉลาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาเหาฉลาม
ปลาเหาฉลามชนิด Remora remora
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Percoidei
วงศ์ใหญ่: Percoidea
วงศ์: Echeneidae
สกุล
ชื่อพ้อง
  • Echeneididae

ปลาเหาฉลาม หรือ ปลาเหา หรือ ปลาเหาทะเล หรือ ปลาติด[1] เป็นปลาทะเลปลากระดูกแข็งในวงศ์ Echeneidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes)

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

ลำตัวยาว หัวเรียวแหลม ดวงตาสามารถกลอกกลิ้งไปมาเพื่อชำลองมองได้โดยรอบ ด้านบนแบนราบมีอวัยวะที่ใช้สำหรับดูดติด ซึ่งพัฒนามาจากครีบหลัง มีจำนวน 22–27 ซี่ มีความยาวประมาณ 1 ใน 4 ของความยาวลำตัว คอดหางเล็กแต่แข็งแรงทำให้ว่ายน้ำได้ดี ถึงแม้ว่าจะชอบเกาะติดไปกับปลาอื่นก็ตามมีแถบสีดำขนาดใหญ่พาดตามยาวลำตัว หลังและท้องมีสีเทาเข้มลักษณะคล้ายกับปลาช่อนทะเล ที่ชอบว่ายตามปลาขนาดใหญ่เช่นกันความแตกต่างของปลาสองชนิดนี้อยู่ตรงที่ด้านบนของหัวปลาช่อนทะเลไม่มีอวัยวะสำหรับดูดติด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร

นิเวศวิทยา

[แก้]

ชอบเกาะติดอยู่กับสัตว์ใหญ่ เช่น ปลาฉลาม, กระเบนราหู หรือเต่าทะเล โดยใช้อวัยวะสำหรับดูดติด ดังนั้นจึงมีแหล่งที่อยู่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสัตว์ที่อาศัยเกาะอยู่ แต่บางครั้งอาจพบเหาฉลามขนาดเล็กที่ยังหาสัตว์อื่นเกาะไม่ได้ ว่ายน้ำอยู่อิสระในแนวปะการัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด ใน 4 สกุล (ดูในตาราง)[2]

ปลาเหาฉลามแสดงให้เห็นส่วนที่ใช้ยึดเกาะ

การแพร่กระจาย

[แก้]

พบแพร่กระจายในเขตร้อนทั่วโลก จัดเป็นปลาเหาฉลามที่พบได้ง่าย และมีการแพร่กระจายกว้างที่สุด ในประเทศไทย พบได้ทั้งสองฝั่งทะเล แต่จะพบเห็นได้บ่อยบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน และกองหินลอเชลิว ซึ่งเป็นบริเวณที่พบปลาขนาดใหญ่ เช่น ฉลามวาฬ หรือกระเบนราหู ฝั่งอ่าวไทยพบบ้างบริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี

สถานภาพ

[แก้]

พบได้ไม่บ่อยนักไม่มีการใช้ประโยชน์ทางการประมง แต่ถูกจับขึ้นมาพร้อมกับปลาที่เกาะติด[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [https://web.archive.org/web/20120119045201/http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-19-search.asp เก็บถาวร 2012-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ติด ๓ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]
  2. "Echeneidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. "ปลาเหาฉลาม หรือปลาติด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 2012-03-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]