ข้ามไปเนื้อหา

ปลาฉนาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วงศ์ปลาฉนาก)
ปลาฉนาก
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเตเซียส-ปัจจุบัน[2]
ปลาฉนากเขียว (Pristis zijsron)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Batoidea
อันดับ: Pristiformes
วงศ์: Pristidae
Bonaparte, 1838[4]
สปีชีส์: 4 หรือ 7 ชนิด (ดูในเนื้อหา[1])
สกุล
ชื่อพ้อง[4]
  • Pristoidei

ปลาฉนาก (อังกฤษ: Sawfishes) เป็นปลาจำพวกหนึ่งของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน ใช้ชื่ออันดับว่า Pristiformes และวงศ์ Pristidae[2] (โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า πρίστης, prístēs หมายถึง "เลื่อย" หรือ "ใบเลื่อย"[5])

การกำเนิด

[แก้]

ปลาฉนาก นับเป็นปลาที่ถือกำเนิดมานานกว่า 100 ล้านปีตั้งแต่ยุคครีเตเชียส ที่ไดโนเสาร์ยังมีชีวิตอยู่ และไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างมากนักจากในอดีต[6] ปลาฉนากที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คือ Onchopristis มีความยาวกว่า 8 เมตร (แต่จัดอยู่ในวงศ์ Sclerorhynchidae[7] [8]) เฉพาะฟันเลื่อยก็มีความยาวกว่า 2.5 เมตร แต่ก็ตกเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น สไปโนซอรัส [9][10]

ลักษณะและพฤติกรรม

[แก้]
ฟันเลื่อยยาว 3.5 ฟุต

ปลาฉนากจัดเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม แต่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับปลากระเบน มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ อยู่ใต้ส่วนหัว แต่มีส่วนหัวและหน้าอกแบนราบ ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน ครีบหลังอันแรกอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นผิวลำตัวด้านหลังมีสีเทาอมเขียว ส่วนท้องมีสีขาว มีอวัยวะเด่นคล้ายกระบองแข็งยื่นยาวออกมา มีความยาวประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัวและหาง และรอบส่วนแข็งนั้นมีซี่แหลมเล็ก ๆ อยู่โดยรอบคล้ายใบเลื่อย ใช้ในการป้องกันตัวและใช้นำทางหาอาหาร ทำหน้าที่เหมือนประสาทสัมผัส[6] โดยจะใช้ฟันเลื่อยนี้ตัดอาหาร เช่น ปลา ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งขนาดและจำนวนของซี่ฟันขึ้นอยู่ตามชนิด [11] ซึ่งซี่ฟันแต่ละซี่นั้นอาจยาวได้ถึง 2 นิ้ว[6] แต่ปลาตัวใดมีจำนวนซี่ฟันเท่าใด ก็จะคงอยู่อย่างนั้นไปตลอดชีวิต [12]

การหากิน

[แก้]

เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยหาอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดินและปลาขนาดเล็กต่างๆ มักอาศัยและหากินในบริเวณที่มีโคลนเลนขุ่น พบอาศัยในเขตอบอุ่นทั่วโลกตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, แอฟริกา, เอเชีย และรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ในออสเตรเลีย นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นปลาทะเลที่สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำจืดได้ด้วย โดยมีรายงานพบในแม่น้ำสายใหญ่ในหลายประเทศไกลนับร้อย ๆ กิโลเมตรจากทะเล ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาวิจัยปลาฉนากด้วยการติดแทคที่ตัวปลา เชื่อว่าปลาเข้ามาเพื่อที่จะแพร่พันธุ์ เนื่องจากในน้ำจืดนั้นมีสัตว์นักล่าและอันตรายน้อยกว่าในทะเล จนกระทั่งปลาเติบโตจนได้ขนาดจึงจะว่ายกลับสู่ทะเล[6]

ไข่

[แก้]

เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่จะมีการเจริญเติบโตในช่องท้องของตัวเมีย เมื่อฟักแล้วจะทำให้ดูคล้ายออกลูกเป็นตัว[13]เป็นปลาที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์เต็มที่ ซึ่งปัจจุบันจะมีการเลี้ยงไว้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหลายแห่ง แต่ยังไม่สามารถที่จะแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้สำเร็จ[12]

การถูกมนุษย์คุกคาม

[แก้]

ลักษณะเด่นที่จะงอยปากที่แลดูคล้ายเลื่อยขนาดใหญ่ ปลาฉนากเมื่อถูกมนุษย์จับได้ จะนิยมตัดเอาเฉพาะจะงอยปากนั้นมาทำเป็นเครื่องประดับ หรือเก็บไว้เป็นของระลึก หรือใช้เป็นอาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบแปซิฟิคตะวันออก เช่น ฟิลิปปินส์, ปาปัวนิวกินี, อินโดนีเซีย โดยจะงอยปลาฉนากใช้เป็นอาวุธในการตัดเข้าที่ช่องท้องและทำให้เกิดแผลที่ข้อศอกของคู่ต่อสู้ ซึ่งอาจทำให้เสียเลือดจนกระทั่งถึงแก่ชีวิตได้[6] หากปลาตัวใดที่จะงอยปากถูกตัดออกไปหรือหัก จะยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่จะอ่อนแอเนื่องจากไม่สามารถใช้ในการป้องกันตัวจากสัตว์นักล่า เช่น ปลาฉลาม หรือจระเข้ รวมถึงหาอาหารได้และจะผอมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งตายในที่สุด[12]

ความเชื่อของมนุษย์ต่อปลาฉนาก

[แก้]

ปลาฉนากในความเชื่อของชาวอะบอริจินี ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของออสเตรเลีย เชื่อว่า ใช้ฟันเลื่อยที่จะงอยปากขุดพื้นดินกลายเป็นแม่น้ำ และชาวอะบอริจินส์ก็ใช้เนื้อของปลาฉนากรับประทานเป็นอาหาร นอกจากนี้แล้วในบางความเชื่อ ยังเชื่อว่าจะงอยปากของปลาฉนากสามารถใช้แทงทะลุท้องเรือและใช้ฟันเนื้อมนุษย์กินเป็นอาหารได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่ประการใด จะงอยปากของปลาฉนากทำได้อย่างมากก็เพียงแค่ป้องกันตัว ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ได้รับบาดเจ็บเพียงเท่านั้น ซึ่งมีผู้ที่จับปลาฉนากได้หลายคนต้องได้รับบาดเจ็บจากการที่ถูกฟันเลื่อยที่จะงอยปากนั้นสะบัดใส่[6]

พบในประเทศไทย

[แก้]

สำหรับในประเทศไทย ในอดีตเคยมีรายงานการพบปลาฉนากไกลถึงแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [14]และบึงบอระเพ็ด ในจังหวัดนครสวรรค์ ด้วย ส่วนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปลาฉนากพบได้ในตำบลคลองฉนาก [15]

การจำแนก

[แก้]

หมายเหตุ: ในการศึกษาล่าสุด พบว่ามีความเป็นไปได้ว่า ปลาฉนากจะงอยปากกว้าง, ปลาฉนากธรรมดา และปลาฉนากฟันใหญ่ อาจจะเป็นชนิดเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะมีสัณฐานต่างกัน[1]

รูปภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Faria, V. V.; McDavitt, M. T.; Charvet, P.; Wiley, T. R.; Simpfendorfer, C. A.; Naylor, G. J. P. (2013). Species delineation and global population structure of Critically Endangered sawfishes (Pristidae). Zoological Journal of the Linnean Society 167: 136–164. doi:10.1111/j.1096-3642.2012.00872.x Retrieved 26 August 2013.
  2. 2.0 2.1 Family Pristidae - Sawfishes
  3. "CITES Appendices I, II and III". Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES). สืบค้นเมื่อ 7 March 2013.
  4. 4.0 4.1 "Pristiformes". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 30 July 2014.
  5. πρίστηςin Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon, revised and augmented throughout by Jones, Sir Henry Stuart, with the assistance of McKenzie, Roderick; Oxford, Clarendon Press, 1940
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Chainsaw Predator, "River Monsters". สารคดีทางดิสคัฟเวอรีแชนแนล ทางทรูวิชันส์: วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
  7. H. Cappetta. 1974. Sclerorhynchidae nov. fam. Pristidae et Pristiophoridae: un exemple de parallelisme chez Sélaciens. Comptes rendus de Académie de Sciences Paris Serie D 278:225-228
  8. H. Cappetta. 1980. Les sélaciens du Crétacé supérieur du Liban. II: Batoides. Palaeontolographica Abt. A 168(5-6):149-229
  9. Stromer, Ernst. (1917) Ergebnisse der Forschungsreisen Prof. E. Stromers in den Wüsten Ägyptens. II. Wirbeltier-Reste der Baharije-Stufe (unterstes Cenoman). 4: Die Säge des Pristiden Onchopristis numidus Haug sp. und über die Sägen der Sägehaie. Abhandlungen der Königlich Bayerischen Akademie der Wissenschaften, Math.-naturwiss. Abt., N.F., 28 (8): 28 p., 1 pl.
  10. "Onchopristis". บีบีซี. สืบค้นเมื่อ 30 July 2014.
  11. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2539. 972 หน้า. หน้า 244. ISBN 974-8122-79-4
  12. 12.0 12.1 12.2 "สารคดี กองกำลังค้นหาปลาฉนาก". นิวทีวี. 6 June 2015. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
  13. [ลิงก์เสีย] ปลาฉนาก โดย จารุจินต์ นภีตะภัฏ
  14. เปิดตำนานเจ้าพ่อปลาแม่น้ำ, Interview in Magazine Aquarium Biz Issue. 2 Vol.1: August 2010
  15. บันไดปลาโจน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]