ข้ามไปเนื้อหา

ลูกเห็บยักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ลูกเห็บยักษ์ (megacryometeor) เป็นหยาดน้ำฟ้าชนิดหนึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่าลูกเห็บ เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสภาพอากาศเมื่อสภาพอากาศแจ่มใส ไม่มีเมฆ ไม่เกิดขึ้นจากพายุฝนฟ้าคะนอง

ประวัติ

[แก้]

จีซัส มาร์ตินีซ-ฟรายส์ นักธรณีวิทยาดาวเคราะห์จากศูนย์สิ่งมีชีวิตนอกโลกในกรุงมาดริดเป็นผู้บุกเบิกการวิจัยลูกเห็บยักษ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) หลังจากที่ลูกเห็บยักษ์หนักประมาณ 3 กิโลกรัมตกในสเปนในขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใสนานถึง 10 วัน

ขนาด

[แก้]

ลูกเห็บยักษ์กว่า 50 ลูกที่ได้รับการบันทึกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 มีน้ำหนักตั้งแต่ 0.5-200 กิโลกรัม ลูกหนึ่งที่ตกในประเทศบราซิลหนักถึง 220 กิโลกรัม

ความรู้เกี่ยวกับลูกเห็บยักษ์

[แก้]

กระบวนการเกิดของลูกเห็บยักษ์ยังเป็นที่สงสัย สันนิษฐานว่าคล้ายกับการเกิดของลูกเห็บ และเกิดในฤดูร้อนขณะที่อากาศแจ่มใส การวิเคราะห์ลูกเห็บยักษ์แสดงองค์ประกอบเข้าคู่กับฝนในบริเวณที่มันตก ไม่ได้มาจากเครื่องบิน เพราะมีการบันทึกว่าเกิดปรากฏการณ์นี้ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์เครื่องบิน ผลการทดสอบแรกบ่งชี้ว่าการผันแปรในช่องว่างโทรโพพอส(ช่องที่อยู่ระหว่างบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์กับสตราโตสเฟียร์) สามารถสอดคล้องกับการเกิดลูกเห็บยักษ์ มีบางครั้งผู้เห็นเหตุการณ์ก็คิดว่าเป็นอุกกาบาตเพราะลูกเห็บยักษ์สามารถทำให้เกิดหลุมขนาดเล็กๆ ได้

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]