ลูกเกด
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ลูกเกด คือองุ่นแห้ง ที่มีการผลิตในหลายพื้นที่ทั่วโลก และสามารถรับประทานเปล่าๆ หรือจะใช้ในการทำอาหาร การอบขนม และการหมักบ่มก็ได้ ทั้งยังเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อีกด้วย ใน สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และแคนาดา คำว่า "raisin" จะเอาไว้ใช้เรียกองุ่นแห้งเม็ดใหญ่สีเข้ม[1] และ "sultana" จะใช้เรียกองุ่นแห้งที่มีสีเหลืองทอง และคำว่า "currant" ใช้เรียกองุ่นไข่ปลาเม็ดแห้งพันธุ์ Black Corinth[2]
รากศัพท์
[แก้]คำว่า raisin ต้องย้อนกลับไปใน ภาษาอังกฤษในสมัยกลาง ซึ่งเป็นคำที่ยืมมา จาก ภาษาฝรั่งเศสเก่า ในฝรั่งเศส คำว่า raisin หมายถึง "องุ่น" และเรียก raisin sec หรือ "องุ่นแห้ง" นั้นเอง ในภาษาฝรั่งเศสได้พัฒนามาจากคำใน ภาษาละติน คำว่า racemus, ซึ่งหมายถึง "พวงองุ่น"[3]
ความหลากหลาย
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ประเภทของลูกเกดขึ้นอยู่กับชนิดขององุ่นที่ใช้ ซึ่งมีสีสันที่หลากหลายของสายพันธุ์เช่น สีเขียว ดำ น้ำเงิน ม่วง และเหลือง ชนิดที่ไม่มีเมล็ด ซึ่งรวมถึง sultana (พันธุ์ที่รู้จักกันคือ Thompson Seedless ในสหรัฐอเมริกา) และพันธุ์ Flame grapes ลูกเกดทั่วไปมักจะเป็นการอบแห้ง แต่ก็มีบ้างที่ผลิตด้วยการจุ่มน้ำแล้วนำไปผ่านกรรมวิธีอบแห้ง
"ลูกเกดสีทอง" จะถูกเก็บรักษาด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หลังจากการอบแห้งเพื่อรักษาสีเหลืองทองเอาไว้
ลูกเกดพันธุ์ Black Corinth หรือ Zante currant เป็นลูกเกดพันธุ์จิ๋วซึ่งสีจะเข้มกว่า รสจัด และอมเปรี้ยว จึงมักจะถูกเรียกว่าผลเคอแรนท์
ลูกเกดบางสายพันธุ์ที่ผลิตในเอเชีย ก็สามารถหาซื้อในฝั่งตะวันตกตามร้านชำที่ขายของเฉพาะถิ่น รวมถึงลูกเกดที่ผลิตด้วยองุ่นพันธุ์ Monukka ด้วย
คุณค่าทางโภชนาการ
[แก้]คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 1,252 กิโลจูล (299 กิโลแคลอรี) |
79.18 g | |
น้ำตาล | 59.19 g |
ใยอาหาร | 3.7 g |
0.46 g | |
3.07 g | |
วิตามิน | |
ไทอามีน (บี1) | (9%) 0.106 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (10%) 0.125 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (5%) 0.766 มก. |
(2%) 0.095 มก. | |
วิตามินบี6 | (13%) 0.174 มก. |
โฟเลต (บี9) | (1%) 5 μg |
คลอรีน | (2%) 11.1 มก. |
วิตามินซี | (3%) 2.3 มก. |
วิตามินอี | (1%) 0.12 มก. |
วิตามินเค | (3%) 3.5 μg |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (5%) 50 มก. |
เหล็ก | (14%) 1.88 มก. |
แมกนีเซียม | (9%) 32 มก. |
แมงกานีส | (14%) 0.299 มก. |
ฟอสฟอรัส | (14%) 101 มก. |
โพแทสเซียม | (16%) 749 มก. |
โซเดียม | (1%) 11 มก. |
สังกะสี | (2%) 0.22 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
Fluoride | 233.9 µg |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
ลูกเกดประกอบด้วยน้ำตาลมากถึง 72% ของน้ำหนัก[4] ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำตาล ฟรุกโตส และกลูโคส และยังมีโปรตีนประมาณ 3% และใยอาหาร3.7%–6.8% [5] ลูกเกดก็เหมือนพรุนและแอปริคอท ที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ แต่มีวิตามิน C น้อยกว่าองุ่นสด ลูกเกดมีโซเดียมต่ำและไม่มีคลอเลสเตอรอล[6]
ข้อมูลจากการประชุมวิทยาศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 61 ของมหาวิทยาลัยแพทย์ด้านหัวใจในอเมริกาในปี 2012 ให้คำแนะนำว่า หากคนไข้ในกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องความดันสูงเล็กน้อย หากมีการรับประทานลูกเกดเป็นประจำ (สามครั้งต่อวัน) จะช่วยลดความดันเลือดให้ลดลง เมื่อเทียบกับคนไข้ ที่มีการรับประทานลูกเกดเป็นแค่ขนมขบเคี้ยว[7]
ฤทธิ์เป็นพิษในสัตว์เลี้ยง
[แก้]ลูกเกดอาจทำให้เกิดของอาการไตวายในสุนัข แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด[8]
น้ำตาล
[แก้]ลูกเกดหวาน เนื่องจากมีส่วนประกอบของน้ำตาลเข้มข้นมาก (ฟลุกโตสประมาณ 30% และกลูโคส 28% ของน้ำหนัก) น้ำตาลสามารถตกผลึก ในผลไม้ได้เมื่อมีการเก็บไว้เป็นระยะเวลานาน ถึงแม้จะทำให้ลูกเกดแห้งสนิทแล้วก็ตาม ซึ่งน้ำตาลในผลไม้นี้สามารถเจือจางได้ด้วยการนำผลไม้แห้งไปลวกน้ำร้อนหรือในของเหลวอื่นๆ
เกรดของลูกเกดในสหรัฐ
[แก้]- เกรด A
- สีสวยและรสชาติที่เป็นลักษณะพิเศษของลูกเกด ลูกเกดในเกรดนี้แสดงให้เห็นว่าผลิตจากองุ่นที่เจริญเติบโตอย่างเต็มที่และได้รับการดูแลอย่างดี (ประกอบด้วยน้ำไม่น้อยกว่า 80% ของน้ำหนักผล) ลูกเกดที่ผลิตแล้วจะมีความชื้นน้อยกว่า 19% ของน้ำหนัก[9]
- เกรด B
- เป็นเกรดที่สีและรสชาติที่ พอสมควร ในเกรดนี้ผลิตจากองุ่นที่เจริญเติบโตที่ได้รับการดูแลพอสมควรที่มีน้ำในผลอย่างน้อย 70% ของน้ำหนัก ซึ่งลูกเกดที่ผลิตแล้วในเกรดนี้จะมีความชื้นน้อยกว่า 19% ของน้ำหนัก[9]
- เกรด C
- เป็นเกรดที่สีและรสชาติพอใช้ได้ ซึ่งผลิตจากองุ่นที่เจริญเติบโตที่ได้รับการดูแลเพียงพอใช้ มีน้ำในผลอย่างน้อย 55% ของน้ำหนัก ลูกเกดที่ผลิตแล้วในเกรดนี้จะมีความชื้นน้อยกว่า 19% ของน้ำหนักเช่นกัน[9]
- ต่ำกว่ามาตรฐาน
- ลูกเกดที่มีมาตรฐานต่ำกว่าเกรด C
การผลิตลูกเกด
[แก้]การผลิตลูกเกดเชิงพาณิชย์ คือการนำผลองุ่นที่เก็บเกี่ยวมาทำให้แห้ง ซึ่งทำให้แห้งโดยการให้องุ่นระเหยน้ำจากภายในทั้งหมดผ่านทางผิวขององุ่น อยู่ [10] อย่างไรก็ตาม กระบวนการกระจายน้ำดังกล่าวทำได้ยากมากเนื่องจากผิวขององุ่นถูกเคลือบด้วยไขบางๆ[10] ด้วยเหตุนี้เอง นักฟิสิกส์และนักเคมีวิทยา จึงใช้กลไกของผิวองุ่นไปพัฒนาวิธีการป้องกันการสูญเสียน้ำ[11]
การผลิตแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนในการผลิตลูกเกดเพื่อการพาณิชย์ คือกระบวนการเตรียมการก่อนผลิต การอบแห้ง และกระบวนการหลังจากอบแห้ง[10]
การเตรียมการก่อนผลิต
[แก้]การเตรียมการก่อนผลิตเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการผลิตลูกเกด เพื่อเป็นการเพิ่มอัตราการระเหยของน้ำในกระบวนการอบแห้ง [10] อัตราการระเหยของน้ำที่รวดเร็วกว่าจะช่วยลดอัตราลูกเกดที่จะเป็นสีน้ำตาลและยังทำให้ได้ลูกเกดที่สีสวยน่าพอใจ[10] วิธีการดั้งเดิมในกระบวนการนี้ถูกพัฒนาขึ้นในแถบเมดิเตอร์เรเนียน และในแถบคาบสมุทรในเอเชียไมเนอร์ ใช้การจุ่มในอิมัลชั่น ซึ่งผลิตจากโปแตสเซียมคาร์โบเนต และเอทิลเอสเตอร์ ซึ่งผลิตจากกรดไขมัน[11]การจุ่มนี้จะช่วยเพิ่มอัตราการสูญเสียน้ำด้วยการจุ่ม 2-3 ครั้ง [11] ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการใหม่ให้ผิวองุ่นเปิดผิวมันออกหรือ การนำไปเจือจางในน้ำด่าง วิธีการนี้เองจะกระตุ้นให้น้ำภายในระเหยออกมาทางผิวภายนอกซึ่งช่วยให้กระบวนการอบแห้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น[10]
การอบแห้ง
[แก้]การอบแห้งมีด้วยกัน 3 วิธี คือ การตากแดด การผึ่ง และการอบโดยใช้เครื่องจักร[10] การตากแดดเป็นกระบวนการที่ต้นทุนที่ไม่สูง หากแต่ต้องกังกวลใจในหลายเรื่อง เช่น การปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม การรบกวนและติดโรคจากแมลง และการเน่าเสียจากเชื่อจุลินทรีย์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังเป็นผลให้ได้ลูกเกดคุณภาพต่ำอีกด้วย อีกทั้งการตากแดดยังเป็นกระบวนการที่ทำไดช้าและอาจไม่ได้ลูกค้าที่น่าพึงพอใจ[10] การอบแห้งด้วยเครื่องจักรจึงเป็นกระบวนการที่ปลอดภัยที่สุดและสามารถควบคุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้ซึ่งทำให้การอบแห้งทำได้รวดเร็วได้อีกด้วย หนึ่งในประเภทของอบแห้งด้วยเครื่องจักร คือการใช้ความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งโมเลกุลของน้ำในผลองุ่นจะดูดซับ พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟในการระเหยอย่างรวดเร็ว ความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟยังทำให้ได้ลูกเกดที่เม็ดพองฟูอีกด้วย[10]
กระบวนการหลังจากอบแห้ง
[แก้]หลังจากกระบวนการทำให้แห้งเรียบร้อยแล้ว ลูกเกดจะถูกส่งไปยังอาคารซึ่งลูกเกดจะถูกทำความสะอาดด้วยน้ำเพื่อนำสิ่งเจือปนต่างๆ ออก ซึ่งยังคงอยู่ในกระบวนการอบแห้ง[10] ก้านและลูกเกดซึ่งตกเกรดจะถูกคัดทิ้งในกระบวนการนี้ด้วยเช่นกัน กระบวนการทำความสะอาดนี้อาจทำให้น้ำในลูกเกดมีมากขึ้น ดังนั้นจึงมีกระบวนการอบแห้งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้กระบวนการเสร็จสมบูรณ์[10]
ขั้นตอนทั้งหมดสำคัญมากต่อกระบวนการผลิตลูกเกด ในการกำหนดคุณภาพของลูกเกด บางครั้งมีการใช้แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หลังจากขั้นตอนก่อนการจัดเก็บและก่อนการอบแห้งเพื่อลดอัตราการดำของลูกเกดโดยอาศัยปฏิกิริยาทางอ๊อกซิเจนระหว่างโพลิฟีนอลและสารประกอบฟีโนลิค แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์จึงช่วยให้ลูกเกดคงรสชาติและช่วยป้องกันการสูญเสียวิตามินระหว่างกระบวนอบแห้ง[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อของอาหารแห้ง
- Snap-dragon (game), a Victorian parlour game that involved raisins being plucked from a bowl of burning brandy
- Sun-Maid, a popular brand of raisins available in North America and the United Kingdom.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dom Costello. "Kew Gardens explanation". Kew.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-05. สืบค้นเมื่อ 16 January 2013.
- ↑ The Oxford English Dictionary entry at "currant" = "raisins of Corauntz n." (also called "raisins of Corinth")
- ↑ Harper, Douglas. "raisin". Online Etymology Dictionary.
- ↑ Albert Julius Winkler. General viticulture, University of California Press, 1962, p. 645. ISBN 978-0-520-02591-2
- ↑ "USDA NDB Raisins". USDA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-10. สืบค้นเมื่อ 20 April 2013.
- ↑ "Nutrition Experts & Dietitians » California Raisins – The Wise Choice". Calraisins.org. 22 February 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-15. สืบค้นเมื่อ 16 January 2013.
- ↑ "Snacking On Raisins May Offer a Heart-Healthy Way to Lower Blood Pressure". ScienceDaily. 26 March 2012.
- ↑ "Snopes.com:Raisins and grapes can be harmful to dogs". สืบค้นเมื่อ 21 January 2011.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "United States Standards for Grades of Processed Raisins" (PDF). United States Department of Agriculture. 1 December 1978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-13. สืบค้นเมื่อ 2014-07-28.
- ↑ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 doi:10.1080/87559120701418335
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Christensen, L.P., and Peacock, W.L. (20 April 2013) "The Raisin Drying Process". Raisin Production Manual, University of California.
Further reading
[แก้]- C. D. Wu, J. F. Rivero-Cruz, M. Zhu, B. Su, A. D. Kinghorn (2005). "Antimicrobial Phytochemicals in Thompson Seedless Raisins (Vitis vinifera L.) Inhibit Dental Plaque Bacteria". American Society for Microbiology meeting. 5–9 June. Atlanta.
{{cite conference}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)