ข้ามไปเนื้อหา

ลูกบาศก์เซนติเมตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกบาศก์เซนติเมตร
ก้อนน้ำตาลขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ข้อมูลทั่วไป
ระบบการวัดเอสไอ
เป็นหน่วยของปริมาตร
สัญลักษณ์cm3 หรือ cc 
การแปลงหน่วย
1 cm3 ใน ...... มีค่าเท่ากับ ...
   หน่วยฐานเอสไอ   10−6 m3

ลูกบาศก์เซนติเมตร (cubic centimetre) เป็นหน่วยวัดปริมาตร เท่ากับหนึ่งในล้านของ ลูกบาศก์เมตร ตัวย่ออย่างเป็นทางการคือ cm3[1] และนอกจากนี้ก็มักเรียกย่อเป็น "ซีซี" (cc) แต่นี่ไม่ใช่ชื่อเรียกทั่วไปที่ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (SI) ยอมรับให้ใช้ได้[1]

คำนิยาม

[แก้]

หน่วยนี้มีที่มาจากหน่วยวัดความยาว "เซนติเมตร" ซึ่งมาจากหน่วยฐานเอสไอ "เมตร" มาเติมคำอุปสรรคเอสไอ "เซนติ" ส่วนคำว่า "ลูกบาศก์" (cubic) นั้นเพื่อบอกว่าเป็นค่ายกกำลัง 3 ซึ่งหน่วยความยาวยกกำลัง 3 จะแสดงถึงปริมาตร ดังนั้นหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตรจึงมีค่าเท่ากับ (1/100)3 = 1/1000000 ลูกบาศก์เมตร

โดยทั่วไปมักอธิบายให้เข้าใจง่ายว่าเป็นปริมาตรของลูกบาศก์ที่มีด้านยาว 1 เซนติเมตร

ความสัมพันธ์กับมิลลิลิตร

[แก้]

ตั้งแต่ปี 1964 เป็นต้นมา ในที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งตวงวัดครั้งที่ 12 ได้มีการกำหนดให้ปริมาตร 1 มิลลิลิตรมีค่าเท่ากับ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร[2] ทุกวันนี้จึงถือว่ามิลลิลิตรกับลูกบาศก์เซนติเมตรเป็นสิ่งเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ 1901 ถึง 1964 คำนิยามของ "1 ลิตร" คือปริมาตรของน้ำบริสุทธิ์หนัก 1 กิโลกรัมที่มีความหนาแน่นสูงสุดที่ 1 atm[2] โดยจากผลการวัด ความหนาแน่นสูงสุดที่อุณหภูมิ 3.98 °C ที่ 1 atm คือ 0.999972 และเมื่อคำนวณแล้วจะได้ว่า 1 มิลลิลิตร = 1.000028 ลูกบาศก์เซนติเมตร

แม้ว่าสมัชชาชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ แนะนำในปี 1964 ว่าไม่ให้ใช้ชื่อลิตรเพื่อแสดงผลลัพธ์ของการวัดปริมาตรด้วยความเที่ยงตรงสูง แต่ปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์ ก็ยังมีการใช้หน่วยมิลลิลิตรกันอยู่ทั่วไป

ในสหรัฐอเมริกา ลูกบาศก์เซนติเมตรยังคงใช้ในสองสาขาเป็นหลัก คือ แพทยศาสตร์ และ รถยนต์ ส่วนในอังกฤษมีการใช้มิลลิลิตรมากกว่าลูกบาศก์เซนติเมตรในทางการแพทย์ แต่ไม่ใช่ในด้านยานยนต์ ลูกบาศก์เซนติเมตรยังคงใช้ในประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 国際単位系(SI)第9版(2019)日本語版 เก็บถาวร 2023-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน p.112の例、産業技術総合研究所、計量標準総合センター、2020年4月
  2. 2.0 2.1 国際単位系 (SI) เก็บถาวร 2023-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 国際文書第8版 (2006)