ข้ามไปเนื้อหา

ลูกข่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกข่างญี่ปุ่น

ลูกข่าง เป็นของเล่นสำหรับเด็กที่หมุนบนแกนของตัวเอง ลูกข่างถือเป็นของเล่นที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก มีใช้ในการละเล่นเพื่อความบันเทิง การพนันและยังรวมถึงการพยากรณ์

ลูกข่างไทย

[แก้]

ในประเทศไทย ลูกข่างถือเป็นการละเล่นไทยชนิดหนึ่ง ที่มีการเล่นโดยการผูกด้วยเชือก และขว้างลูกข่างลงพื้นให้เกิดการหมุน โดยมีกติกาการเล่นอยู่คือ หากขว้างลูกข่างไม่หมุนหรือออกนอกวงถือว่าแพ้ และผู้แพ้จะต้องนำลูกข่างของตนวางในวงกลมเพื่อให้คนอื่นใช้ลูกข่างที่พันเชือกขว้างไปบนลูกข่างนั้นเป็นการลงโทษ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น

[แก้]
  1. ลูกข่าง ส่วนมากจะทำจากไม้มะยมกลึงมีตะปูเป็นเดือยแหลมตรงกลางคนละ 1 ลูก
  2. เชือกยาวประมาณ 40–50 เซนติเมตร ปลายเชือกด้านหนึ่งผูกด้วยไม้ หรือร้อยด้วยฝาเบียร์
  3. วงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50–60 เซนติเมตร

วิธีเล่น

[แก้]

การเล่นลูกข่างไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น ก่อนเล่นจะขีดวงกลมขนาด 50–60 เซนติเมตรบนพื้นดิน แล้วจัดลำดับการเล่นตามวิธีการจัดลำดับก่อนการเล่นดังกล่าวแล้วก่อนเล่นทุกคนใช้เชือกพันลูกข่างของตน โดยพันจากปลายเดือยขึ้นมาจนถึงตัวลูกข่าง แล้วถือชายหนึ่งไว้ระหว่างซอกนิ้วชี้และนิ้วกลาง ส่วนหัวแม่มือหงายรองรับปลายเดือยลูกข่างไว้ เมื่อเริ่มเล่นผู้เล่นจะขว้างลูกข่างตกถึงพื้นจะหมุนหากลูกข่างของผู้ใดไม่หมุน หรือออกนอกวงถือว่าแพ้จะถูกทำโทษด้วยการให้เจ้าของลูกข่างนำลูกข่างของตนวางไว้ในวงกลม ให้ผู้อื่นนำลูกข่างที่พันเชือกเตรียมไว้ขว้างลงไปบนลูกข่างนั้นเรียกว่า “โจ๊ะลูกข่าง” ทีละคน หากลูกข่างทำจากไม้ไม่ดีจะแตก แต่ถ้าทำจากไม้มะยมจะเป็นเพียงรอยเจาะเท่านั้น

พฤติกรรมเชิงวิเคราะห์

[แก้]

การเล่นลูกข่างเป็นการเล่นของเด็กชายที่มีอายุประมาณ 8–15 ปี เด็กจะได้รับประโยชน์จากการเล่นเช่น

  1. เป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อแขน
  2. ฝึกทักษะความแม่นยำในการขว้าง และกลยุทธในการทำให้ลูกข่างหมุน
  3. พัฒนาจิตใจ ร่าเริงแจ่มใสและยอมรับในกติกาการเล่น

ลูกข่างแบบต่าง ๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

จินตนา กระบวนแสง, สภาพสังคมและวัฒนธรรมจากการเล่นของเด็ก, สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก