ข้ามไปเนื้อหา

ลียังบูวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลียังบูวา
ถ้ำที่ซึ่งซากโครงกระดูกของ Homo floresiensis ถูกค้นพบ
ที่ตั้งเกาะฟลอเร็ซ นูซาเติงงาราตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย
ความยาว50 เมตร
ค้นพบเมื่อทศวรรษ 1950
ธรณีวิทยาหินปูน
ทางเข้า1

ลียังบูวา (อินโดนีเซีย: Liang Bua) เป็นถ้ำหินปูนบนเกาะฟลอเร็ซ ประเทศอินโดนีเซีย ทางเหนือของเมืองรูเติงในอำเภอมังงาไร จังหวัดนูซาเติงงาราตะวันออก ถ้ำนี้มีความสำคัญทางโบราณคดีและบรรพชีวินวิทยานับตั้งแต่ทศวรรษ 1950 และ 1960 ดังที่บรรยายไว้โดยนักสำรวจและมิชชันนารีชาวดัตช์ เทออดอร์ แฟร์ฮือเฟิน[1]

ในเดือนกันยายน 2003 ทีมสำรวจภาคพื้นนำโดย โทมัส ซูติกนา [id] ค้นพบหลักฐานชิ้นส่วนส่วนบนของกะโหลกมนุษย์ชิ้นแรก ด้วยขนาดที่เล็กทำให้ในตอนแรกสันนิษฐานว่าเป็นกะโหลกของเด็กเล็ก ก่อนที่ต่อมาจะค้นพบส่วนฟันว่ามีลักษณะโตเต็มวัย แปลว่ากะโหลกนี้เป็นของผู้ใหญ่[2] หลังผ่านไปสงอสามสัปดาห์ ทีมขุดค้นสามารถกู้โครงการะดูกของโฮมินิดนี้ได้เป็นส่วนใหญ่ ตั้งชื่อรหัส LB1, LB2, ฯลฯ ตามชื่อถ้ำ[2] โครงกระดูกนี้ต่อมากลายเป็นตัวอย่างโฮโลไทป์ของมนุษย์สปีซีส์ Homo floresiensis หรือเรียกกันว่ามนุษย์ "ฮ็อบบิต"[3] ซึ่งแม้จะมีปริมาตรสมองเล็กแต่สามารถใช้อุปกรณ์ ล่าสัตว์ และรับมือกับผู้ล่าเช่นมังกรโคโมโดได้[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. For Verhoeven, see: Knepper, Gert M. (2019): Floresmens - Het leven van Theo Verhoeven, missionaris en archeoloog, ISBN 978-9-46-3892476 (Boekscout, Soest, Netherlands) (i.e. Verhoeven's biography, in Dutch)
  2. 2.0 2.1 "'Hobbits' on Flores, Indonesia". The Smithsonian Institution's Human Origins Program (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-28.
  3. Morwood, M. J.; Brown, P.; Jatmiko; Sutikna, T.; Wahyu Saptomo, E.; Westaway, K. E.; Awe Due, Rokus; Roberts, R. G.; Maeda, T.; Wasisto, S.; Djubiantono, T. (October 2005). "Further evidence for small-bodied hominins from the Late Pleistocene of Flores, Indonesia". Nature (ภาษาอังกฤษ). 437 (7061): 1012–1017. Bibcode:2005Natur.437.1012M. doi:10.1038/nature04022. ISSN 1476-4687. PMID 16229067. S2CID 4302539.
  4. "Homo floresiensis". The Smithsonian Institution's Human Origins Program (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.